- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Saturday, 16 June 2018 18:39
- Hits: 5052
ออนโรบอท และออพโตฟอร์ซ จับตาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดการใช้หุ่นยนต์แห่งใหม่ของโลก
• ตั้งเป้าการเติบโตที่ 250% นำโดยสิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย
• อุตสาหกรรมหุ่นยนต์มีแผนการลงทุนราว 470 ล้านดอลลาร์ในด้านหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) ภายในปี 2021
• อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเตรียมลงทุนราว 475 ล้านดอลลาร์ด้านโคบอท
ออนโรบอท (On Robot) และ ออพโตฟอร์ซ (OptoForce) สองผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นหุ่นยนต์ ตั้งเป้ารุกขยายธุรกิจสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และวางแผนการเติบโตในภูมิภาคสูงถึง 250% ภายในปีนี้ โดยอุปสงค์จะมาจากธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติระบบคอมพิวเตอร์ โดยเป้าหมายนี้กำหนดขึ้นหลังการแต่งตั้ง มร.นีลส์ โอเล ซิงเบค โซเร็นเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนับตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2015 จำนวนหุ่นยนต์พุ่งสูงขึ้นถึง 70% อยู่ที่ 887,400 ยูนิต และภายในปี 2025 ประเมินว่าจะมีโคบอทกว่า 700,000 หน่วยถูกติดตั้งใช้งานอยู่ทั่วโลก
มร.โซเร็นเซน กำลังรับสมัครและฝึกอบรมทีมงานประจำประเทศที่เปี่ยมด้วยความสามารถทั้งฝ่ายเทคนิค ฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด ปัจจุบัน ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีและผู้บูรณาการระบบที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในตลาดของแต่ละประเทศจำนวนมากกว่า 15 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเข้ารับการฝึกอบรมความรู้และวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ โดยการหันมาใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกำลังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย
ภายใต้การให้คำมั่นต่อพันธกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มร.โซเร็นเซน กล่าวว่า “เรากำลังพยายามเพิ่มอัตราการใช้งานโซลูชั่นหุ่นยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย มีอัตราความหนาแน่นการใช้งานหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม สูงสุดของภูมิภาคนี้ ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญที่มีศักยภาพสูงมาก”
“ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อาทิ หุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) จะพลิกโฉมหน้าการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรม โดยช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพของสินค้า ไปพร้อมๆ กับเพิ่มความปลอดภัยและลดภาระของคนงานในการทำงานแบบเดิมซ้ำๆ และงานที่ต้องใช้แรงมาก ทุกวันนี้ คนงานสามารถตั้งโปรแกรมและใช้งานหุ่นยนต์ได้อย่างง่ายดายโดยอาศัยการฝึกอบรมและทักษะเชิงเทคนิคเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”นีลส์ กล่าว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเป็นโรงกำเนิดไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติของเอเชีย โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2018 กำลังการผลิตของภูมิภาคเพิ่มขึ้น 7.3% โดยสามารถผลิตยานพาหนะ 1.09 พันล้านคัน นำโดยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อุตสาหกรรมรถยนต์นับเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกมาหลายทศวรรษ โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกมีมูลค่าตลาดของโคบอทอยู่ที่ 23.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 และคาดว่าจะสูงถึง 470 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2021 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 64.67% ในระหว่างปี 2015 ถึง 2021
ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นภาคธุรกิจการส่งออกที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 25% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดของภูมิภาค โดยผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของภูมิภาคคือไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ายังเป็นผู้บูรณาการโคบอทที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 โดยคิดเป็นอุปสงค์ทั่วโลกถึง 18% ในปี 2015 ซึ่งภายในปี 2021 คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะลงทุนราว 475 ล้านดอลลาร์ ในด้านโคบอท
การเติบโตของการใช้งานหุ่นยนต์ในประเทศไทย
สำหรับ ประเทศไทย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกลายเป็นกุญแจสำคัญต่ออนาคตของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ระบุว่า ปริมาณการขนส่งสินค้าหุ่นยนต์ของประเทศจะเพิ่มขึ้น 133% จาก 2,131 หน่วยในปี 2013 เป็น 7,500 หน่วยในปีนี้
ในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกและผู้ผลิตยานพาหนะเชิงพาณิชย์อันดับ 6 ของโลก ประเทศไทยได้ลงทุนอย่างมหาศาลกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดย 85% ของอุตสาหกรรมการผลิตของไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติได้ โดยมี 50% พร้อมใช้เทคโนโลยีนี้ภายใน 3 ปีข้างหน้า
การทำให้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติใช้งานง่าย
ออนโรบอท (On Robot) คือผู้เชี่ยวชาญด้านมือจับระบบไฟฟ้าแบบสองนิ้ว ได้แก่รุ่น RG2 และ RG6 สำหรับการใช้งานร่วมกับโคบอท ซึ่งมีฐานการดำเนินงานในประเทศเดนมาร์ก โดยมือจับนั้นมีความกะทัดรัด ประหยัดพลังงาน และมีค่าตัวแปรที่ปรับแต่งได้ ซอฟต์แวร์และมือจับของออนโรบอทจะป้อนข้อมูลแก่โคบอทเพื่อให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด “เสียบปลั๊กและเริ่มผลิต” ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายร่วมกับแขนโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots : UR) ได้ทุกรุ่น โดยไม่ต้องต่อสายเคเบิ้ลภายนอกเพิ่มเติม ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทนัยตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ ไปจนถึงการธนาคารและเกษตรกรรม เพื่อทำหน้าที่หยิบจับและวาง การทำให้อ่อนตัวด้วยเครื่องจักร การบรรจุหีบห่อ การทดสอบ และงานอื่นๆ
Click Donate Support Web