WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaGGC KTIS

GGC จับมือ KTIS เร่งขับเคลื่อนโครงการก่อสร้าง 'นครสวรรค์ Biocomplex' หนุนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เพิ่มมูลค่าเกษตรไทย สอดรับนโยบายภาครัฐ

     บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการก่อสร้าง 'นครสวรรค์ Biocomplex' กับ บริษัท เกษตร บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS โดยมีนายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ และนายชนะศิริ วานิช ผู้อำนวยโครงการ เป็นผู้ให้ข้อมูล ระบุ โครงการไบโอคอมเพล็กซ์เฟสแรก คาดสร้างรายได้ปีละ 4.58 พันล้านบาท เริ่มรับรู้รายได้ไตรมาส2/64 เล็งหาพันธมิตรเพิ่มร่วมลงทุนไบโอคอมเพล็กซ์เฟส2เหตุ มูลค่าลงทุนสูง-ต้องการเทคโนโลยี โดยมีรายละเอียดดังนี้

       โครงการไบโอคอมเพล็กซ์ นครสวรรค์ เฟสแรก มีมูลค่าลงทุนรวม 7,650 ล้านบาท โดยร่วมทุนกับ KTIS สัดส่วน 50:50%ประกอบด้วยโรงงานหีบอ้อย 2.4ล้านตันต่อปี โรงงานผลิตเอทานอล ขนาด 6 แสนลิตรต่อวัน โรงไฟฟ้าชีวมวล 85 เมกะวัตต์ ผลิตไอน้ำ 250 ตันต่อชั่วโมง และระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการก่อสร้างเฟส 2 ที่จะเริ่มก่อสร้างกลางปีนี้ และคาดแล้วเสร็จปลายปี 63 เริ่มรับรู้รายได้ประมาณไตรมาส 2/64 มูลค่า 4.58 พันล้านบาทต่อปี โดย GGC และKTIS จะใส่เงินลงทุนโครงการนี้รายละ ประมาณ 1 พันล้านบาท ที่เหลือมาจากการกู้เงินสถาบัการเงิน โดยโครงการนี้มี IRR 18%

      ส่วนการลงทุนไบโอคอมเพล็กซ์ เฟส 2 มีมูลค่าลงทุนราว 1-3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โรงงานเคมีและพลาสติกชีวภาพ โรงงานอาหารเสริม ซึ่งบริษัทจะหาพันธมิตรเพิ่มเติมเข้ามาร่วมลงทุน เพราะเป็นโครงการที่มีมูลค่าลงทุนสูง และบริษัทต้องการพันธมิตรเข้ามาช่วยสนับสนุนเทคโนโลยี และการหาตลาด ซึ่งเร็วนี้ ๆเตรียมเดินทางไปเจรจากับพันธมิตรที่ญี่ปุ่น

     สำหรับ รายได้บริษัท ในปี 61 คาดอยู่ระดับใกล้เคียงปีก่อน แม้ปริมาณขายเมทิลเอสเตอร์จะเพิ่มขึ้น 10-15% จากปีก่อนที่ 3.3-3.4แสนตัน แต่ราคาปรับตัวลดลง ส่วนปริมาณขายแฟตตี้แอลกอฮอล์ คาดใกล้เคียงปีก่อนที่1.1 แสนตัน และราคาใกล้เคียงปีก่อน

      นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานคลัสเตอร์ ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ( New S-Curve)เป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนการลงทุน Bioeconomy ในพื้นที่นำร่อง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ ประธานกรรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมีคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC และนายปรีชา อรรถวิภัชน์ ประธานกรรมการบริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม KTIS ร่วมในพิธี

     โดยนายสุพัฒนพงษ์ เผยว่า สืบเนื่องจากแนวคิด Bioeconomy ของรัฐบาล ซึ่งเป็นการนำ 2 ตัวแปรสำคัญ คือ เกษตรกรรมสมัยใหม่ และ Biorefinary มาบริหารจัดการด้วยเทคโนโ,ยีสมัยใหม่ ควบคู่กับการวิจัยพัฒนา เพื่อให้เกิดคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนเศรษฐกิจฐานเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดย Bioeconomy จะใช้สินค้าเกษตรจากมันสัมปะหลังและอ้อย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรไทย ที่ส่งออกเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกเป็นตัวนำร่องนั้น GGC ในฐานะแกนนำด้านผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่ม พีทีที โกลบอลเคมีคอล หรือ กลุ่ม พีทีทีจีซี จึงได้แสวงหาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจที่สอดรับกับนโยบายดังกล่าว โดยร่วมทุนกับ KTIS ในสัดส่วน 50:50 ก่อสร้างนครสวรรค์ Biocomplex หรือ NBC บนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งเพาะปลูกอ้อยพันธ์ดีของไทย พร้อมแบ่งโครงการออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นโครงการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพแบบครบวงจร ประกอบด้วยโรงงานผลิตเอทานอล ไฟฟ้าชีวมวล ระบบสาธารณูปโภคและระบบส่งเสริมกระบวนการผลิตกลางของโครงสร้างพื้นฐานรองรับโครงการระยะที่ 2 (มูลค่าโครงการจากการประเมินราว 7,650 ล้านบาท ) ต่อด้วยโครงการระยะที่ 2 ประกอบด้วย โรงงานเคมีและพลาสติกชีวภาพ โรงงานอาหารเสริม (มูลค่าการลงทุนจากการประเมินราว 10,000 - 30,000 ล้านบาท )

     นายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ GGC ในฐานะผู้ร่วมลงนาม กล่าวว่า คาดหวัง ของบริษัทฯ ต่อผลลัพธ์ในระยะยาว (5-10 ปี) จากการลงทุนก่อสร้างนครสวรรค์ Biocomplex ในพื้นที่นำร่องจังหวัดนครสวรรค์ว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจชีวภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากอ้อยจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เกิดการพัฒนาและส่งเสริมความรู้สมัยใหม่ด้านเกษตรกรรมในพื้นที่กว่า 100,000 ไร่ในระยะเริ่มต้น รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็น 60,000 – 75,000 บาท/ต่อคน/ปี (ประมาณ 300,000 บาท/ ครัวเรือน/ปี) จากอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 10,000 ครัวเรือน (อ้อย) เกิดการจ้างงาน Knowledge workers / High-tech labor ในกลุ่มพลังงานชีวภาพ เคมีและพลาสติกชีวภาพกว่า 400 ตำแหน่ง ช่วยสนับสนุนการผลิตพลังงานชีวภาพที่สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนมากกว่า 180 ล้านลิตรต่อปี (ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558 - 2579) การพัฒนาต่อยอดด้านการวิจัยและนวัตกรรม

      รวมทั้งสร้าง ศูนย์นวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ผ่านความร่วมมือจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และท้ายที่สุด คือ ช่วยส่งเสริมการลงทุนจาก ทั้งในและต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกชีวภาพกว่า 10,000-30,000 ล้านบาท (ภายใน 5 ปี) ด้วย   

      ทั้งนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจชีวภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มจากอ้อยจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เกิดการพัฒนาและส่งเสริมความรู้สมัยใหม่ด้านเกษตรกรรมในพื้นที่กว่า 100,000 ไร่ในระยะเริ่มต้นรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็น 60,000 – 75,000 บาท/ต่อคน/ปี จากอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 10,000 ครัวเรือน เกิดการจ้างงาน Knowledge workers / High-tech labor ในกลุ่มพลังงานชีวภาพ เคมีและพลาสติกชีวภาพกว่า 400 ตำแหน่ง ช่วยสนับสนุนการผลิตพลังงานชีวภาพที่สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนมากกว่า 180 ล้านลิตรต่อปี (ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558 - 2579) การพัฒนาต่อยอดด้านการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งสร้าง ศูนย์นวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ผ่านความร่วมมือจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และท้ายที่สุด คือ ช่วยส่งเสริมการลงทุนจาก ทั้งในและต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกชีวภาพกว่า 10,000-30,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี

     นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่าใน 3 ปีข้างหน้า บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท ในโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ 7500 ล้านบาท โครงการผลิตกลีเซอรีนบริสุทธิ์ ขนาด2 หมื่นตัน/ปี เงินลงทุน 300 ล้านบาท โครงการผลิตโอลีโอเคมีชนิดพิเศษ ขนาด 1.4 หมื่นตัน/ปี เงินลงทุน800 ล้านบาท และโครงการผลิตเมทิลเอสเทอร์ เฟส 2 เงินลงทุน 1,500 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนจะมาจากเงินที่ได้จากการขายหุ้นไอพีโอ และการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

        ด้าน นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เผยกลุ่ม KTIS พร้อมลงทุนไบโอคอมเพล็กซ์เฟสที่ 1 เนื่องจากรัฐได้มีความชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว เผยเงินลงทุนเฟสแรก 8,000 ล้านบาท จาก KTIS และ GGC ฝ่ายละครึ่ง เตรียมที่ดินรองรับ 2,000 ไร่ ที่จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ในเฟสแรก 1,000 ไร่ หีบอ้อย 2.4 ล้านตันต่อปี เพื่อนำน้ำอ้อยผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง กำลังการผลิต 6 แสนลิตรต่อวัน ก่อนที่จะต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องชีวเคมีและชีวผลิตภัณฑ์ในเฟสที่ 2 ต่อไป ชี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และภาพรวมของประเทศ เพราะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!