WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1DATATHON

DATATHON รวมพลัง 5 องค์กร หนุนสตาร์ทอัพเกษตรและอาหาร สู่ไทยแลนด์ 4.0

    เทคโนโลยีและไอโอทีเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนโลกและการพัฒนาประเทศสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 นั้น ประเทศไทยเป็นแหล่งการเกษตรและอาหารที่มีชื่อเสียงของโลก ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น แต่พื้นที่เพาะปลูกทำการเกษตรกลับลดน้อยลงอย่างมาก แล้วการเกษตรกับอาหารจะพลิกโฉมไปอย่างไรในยุคไทยแลนด์ 4.0 ? ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจพระจอมเกล้าลาดกระบัง และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ C asean- Dream Office , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด เปิดตัวโครงการ DATATHON แข่งขันบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ในหัวข้อ 'Agriculture and Food Technology' เพื่อพัฒนาศักยภาพการเกษตรและอาหารของไทยสู่โอกาสทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ตอบรับไทยแลนด์ 4.0

          คุณนันทัชพร จิระวิชชาสกุล  C asean- Dream Office ผู้ดำเนินงานพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ กล่าวว่า โครงการ DATATHON กระบวนการกลั่นไอเดียสตาร์ทอัพและประกวด (Pitching) ตั้งแต่ 15 - 16 ก.ค. 60 เปิดกว้างสำหรับสตาร์ทอัพ นักศึกษา หรือผู้สนใจที่จะมาร่วมดวลไอเดียเทคโนโลยีพัฒนาธุรกิจการเกษตรและอาหาร ซึ่งมีศักยภาพสูงและมีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก ทั้งในประเทศและตลาดโลก เราเปิดรับสมัครถึงวันที่ 30 มิ.ย. 60 โครงการ DATATHON Bacth # 1 มีผู้ร่วมโครงการจากหลายอาชีพ 37 คน 8 ทีม ตลอด 3 วันของ DATATHON ครั้งแรกนี้ วันแรกจัดปฐมนิเทศแบ่งกลุ่มตาม 5 หัวข้อ ได้แก่ Sensor (remote) Livestock, Sensor (remote) Crops, Food Packaging, Food Innovation และ Food Logistic ส่วนวันที่สองทุกทีมจะได้ร่วมเวิร์คช็อปกับผู้เชี่ยวชาญจากในและต่างประเทศ  มีกิจกรรม Prototype ร่วมกับทีมพี่เลี้ยง และในวันสุดท้ายจัดแข่งขันไอเดียนวัตกรรม

สำหรับแผนงานโครงการ DATATHON จะจัด รวม 4 ครั้ง ได้แก่  DATATHON ครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2560 ใน’Agriculture and Food Technology’ , ครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม 2560 ในหัวข้อ ‘Biomedical’ , ส่วนครั้งที่ 3 เดือนพฤศจิกายน 2560 จะเป็น หัวข้อ ‘Drone และ DATATHON ครั้งที่ 4 เดือนมกราคม 2561 จะเป็นหัวข้อ ‘Smart Living’ ทั้งนี้เราจะนำผู้ที่ชนะเลิศการแข่งขันสตาร์ทอัพ DATATHON ในแต่ละครั้ง มาแข่งขันกันในงาน KMITL Engineering Project Day 2018 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ในช่วงเดือนเมษายน 2561

           ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (Suchatvee Suwansawat) อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ทำรายได้ให้ประเทศปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท มีอัตราการเติบโตปีละกว่า 10% และมีนโยบายที่สำคัญในการเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก จากรากฐานทางเกษตรกรรม ผลิตผลทางการเกษตรได้สนับสนุนการเติบโตพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารตลอดมา แนวโน้มของธุรกิจเกษตรและอาหารไม่ได้อยู่ที่ขนาดแต่อยู่ที่ทำอย่างไรจะใส่เทคโนโลยีลงไปตอบโจทย์ผู้บริโภค ดังนั้นธุรกิจไม่ว่าใหญ่เล็กจึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพิ่มคุณภาพ คุณค่าและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ทันความต้องการของผู้ซื้อ

       และมาตรฐานการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น ตอบรับยุคไทยแลนด์ 4.0 แนวโน้มของธุรกิจเกษตรและอาหาร คือ การเปลี่ยนแปลงความชอบในอาหาร ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงและแสวงหาอาหารใหม่ๆ ที่มีคุณค่า และตรงความต้องการ มีทางเลือกที่แปลกใหม่มากขึ้น เช่น โปรตีนจากแมลง ซึ่งมีโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ อีกแนวโน้มคือเทคโนโลยีการถนอมอาหาร เช่น เมนูอาหารจากเชฟดังที่แช่เยือกแข็งสุญญากาศ (Freeze drying) สามารถเปิดกระป๋องเติมน้ำร้อนพร้อมรับประทาน ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยคืนรูป รส กลิ่น สีสัน และคุณค่าอาหารครบถ้วน

       รศ.ดร.คมสัน มาลีสี (Komsan Maleesee) คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เกษตรและอาหารคือความมั่นคงของประเทศและภูมิภาคโลก เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตมากขึ้น เทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาที่ดินการเกษตรน้อยลง ขณะที่จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเสริมประสิทธิภาพการผลิตในฟาร์มเกษตร และโรงงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพมากขึ้น แนวโน้มการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การปรับปรุงพันธุ์ในหลายระดับ การตัดแต่งยีน การขยายพันธุ์พืชมีการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ อีกแนวโน้มในอนาคตอาจจะมีการวิจัยพัฒนาเพื่อผลิตพืชผลและอาหารในห้องแล็บปฏิบัติการ โดยจะข้ามขั้นตอนการทำฟาร์มเกษตรกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายลงอย่างมาก สำหรับโครงการ DATATHON จะมุ่งยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การผลิต หรือการตลาด ช่วยลดความเหนื่อยยากของเกษตรกร และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ นำนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มาสู่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ เช่น สมาร์ทฟาร์ม ระบบอัตโนมัติ ระบบน้ำหยด เป็นต้น

    คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ (Chatchai Khunpitiluck) รักษาการรองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีความเป็นเลิศด้านอาหารและการเกษตรเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่เราต้องไม่หยุดนิ่งและการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการเกษตรและอาหาร จะทวีความสำคัญมากขึ้น การทำ ‘การเกษตรอัจฉริยะ’ เป็นแนวโน้มภาคบังคับที่ประเทศไทยจะต้องสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ นำมาสู่ความได้เปรียบในการวางยุทธศาสตร์ด้านอาหารเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและเป็นความมั่นคงทางอาหารของชาติ

    สำหรับ ประเทศไทยเรามีนโยบายเรื่องเกษตรอัจฉริยะออกมาแล้ว คงเหลือแต่การนำนโยบายไปสู่การทำให้เกิดขึ้นจริง อาทิ สร้างกองทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร มาตรการทางภาษีให้ผู้ประกอบการในการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ มาเรียนรู้และพัฒนาปรับแต่งให้เหมาะสมกับปัจจัยของประเทศ กิจกรรมสร้างความตื่นตัวและการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ในภาคการเกษตรให้กับเกษตรกร ไปจนถึงมาตรการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีเกษตรและอาหารอย่างจริงจัง การสนับสนุนยกระดับให้ผู้ให้บริการด้านเกษตรและอาหารของไทย สามารถขยายการให้บริการจากในประเทศไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย ระบบอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้ในฟาร์ม การสื่อสาร IoT จะสร้างโอกาสในการเกิดตลาดใหม่ๆ ในทุกพื้นที่ที่มีสมาร์ทโฟน และทำให้คนทำฟาร์มเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ผลิตภัณฑ์ กลไกทางด้านการเงิน เป็นต้น

          คุณไซม่อน หลิน (Simon Lin) เจ้าของธุรกิจ Elite Co-op กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตการเกษตรที่สำคัญของโลก แต่ด้วยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศตามสภาวะธรรมชาติที่ไม่แน่นอนทำให้ผลผลิตตกต่ำ ผลผลิตจำนวนมากเสียหายไปตั้งแต่เก็บเกี่ยวไปสู่ผู้บริโภคหรือสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เนื่องจากการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดีพอ แนวโน้มจะมีการแชร์ข้อมูลระหว่างเกษตรกรผ่านเทคโนโลยี (Leverage Accumulation) ช่วยกันขับเคลื่อนเป็นกลุ่มจะทำให้ประสบผลสำเร็จดีกว่าทำเพียงลำพัง ใช้นวัตกรรมเกษตร โมเดลธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเกษตรจะเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ เกษตรกรรมในเมือง และเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมไปถึงการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร เพื่อช่วยเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ทีดีขึ้น

     และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงรักษาการเป็นฐานสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป อีกแนวโน้มหนึ่งคือการกระจายเครือข่าย (Decentralization) และเข้าสู่ผู้บริโภคได้รวดเร็ว เพื่อลดต้นทุน แทนที่จะทำฟาร์มในที่ห่างไกล ก็ใช้เทคโนโลยีทำฟาร์มในเมือง ไม่ต้องพึ่งแต่ลมฟ้าอากาศเพียงอย่างเดียว ใช้แรงงานน้อย ทั้งนี้ Elite Co-op ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเปลี่ยนแปลงที่ดิน 14 ไร่ ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ให้เป็นสมาร์ทฟาร์มที่ยั่งยืน ผสมผสานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเรียนรู้จากกรณีศึกษาต่างๆ ร่วมกับลูกค้าแก้ไขปัญหาร่วมกันและแบ่งปันความรู้สู่สำเร็จ

     คุณกานต์ ไตรทอง (Kan Thaithong) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเกษตร บริษัท มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มด้านเกษตรและอาหารจะมีการผสมผสานระหว่างสุขภาพและเกษตรกรรม มีการพัฒนาการจัดลำดับและการจัดการพันธุกรรม มีการค้นคว้าทางด้านชีวการแพทย์ รวมทั้งมีการวิจัยซึ่งใช้ระบบเทคโนโลยีทันสมัยทั้งด้านเกษตรและอาหาร การควบคุมการผลิตแบบรวบกระบวนการผลิตในแนวตั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ หรือบริการ จะปรับเปลี่ยนหลายมิติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าธุรกิจของแต่ละลูกค้า และลดต้นทุน บริษัทฟาร์มการเกษตรในรุ่นต่อไปก็จะใช้เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ ระบบอัตโนมัติในการจัดการฟาร์ม และการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องที่จะใช้ระบบนี้ ผู้บริโภคจะได้รับสุขภาพที่ดี

     และคุณค่าจากการซื้อหรือสนับสนุนกิจการที่มีแนวคิดดีๆ มีธรรมาภิบาลหรือช่วยสังคมชุมชน ยกตัวอย่าง บริษัท มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด เริ่มต้นจากการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในช่วงระยะ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา จากศูนย์การเรียนรู้เล็กๆ มาเป็น “ข้าวหอมคุณยาย” ปลอดสารพิษที่ผลิตจากความสุขเพื่อคนไทยทุกคน  ความสุขเริ่มต้นจากการมีสุขภาพที่ดี และไม่จำเป็นต้องแพง เราสร้างความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ โดยมีแนวคิดว่า “ความสุขคือการแบ่งปัน” ตั้งแต่คนปลูก คนเก็บเกี่ยว คนผลิต คนขายและผู้บริโภค

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!