WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

P82 'ประยุทธ์'สั่งทีมศก.แจงอัดสินเชื่อไร้ป้ญหา NPL

      ไทยโพสต์ : ทำเนียบ * 'ประยุทธ์'สั่งทีมเศรษฐกิจเร่งทำความเข้าใจในรัฐบาลอัดงบเฉียด 8 แสนล้านบาทกู้เศรษฐกิจนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับกรณีผลการดำเนินกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2558 การดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐที่มีการแยกบัญชี (พีเอสเอ) มียอดสินเชื่อสูงถึง 7.8 แสนล้านบาท ว่า อยากให้มีการพิจารณาในรายละเอียดมากกว่า เนื่องจากแม้จะมีวงเงินสินเชื่ออยู่ในระดับสูง แต่กลับเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่เพียง 1 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 1.3% เท่านั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงิน ซึ่งอยู่ในระดับ 2%

     โดยระดับหนี้เอ็นพีแอล ดังกล่าวเป็นเครื่องสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี รวมทั้งยังเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ในหลายๆ กลุ่ม ทั้งกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็ม อี เป็นต้น

    พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง เร่งทำคามเข้าใจเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่อาจจะมาจากทั้งความไม่เข้าใจและความเข้าใจ แต่ต้องการความหวือหวา แต่อยากให้มองที่ความจริงให้ละเอียดทั้งหมดด้วย.

แนะรัฐกระตุ้นถึงมือรายย่อยสรท.ห่วงส่งออกฟุบยาวคาดโต5%ยาก

   ไทยโพสต์ * รายได้ต่อหัวของคนไทยยังห่างเพื่อนบ้านมาก กกร.เร่งเดินเครื่อง ตั้งเป้าใน 5 ปี ดันขึ้นมาแตะหัวละ 1 หมื่นดอลลาร์ต่อปี ผนึกเอกชนลดใช้น้ำลง 20-30% สู้วิกฤติภัยแล้ง แนะรัฐกระจายลงทุน ให้เงินถึงมือรายย่อย ด้าน สรท.มองส่งออกปีนี้หวังโต 5% ทำได้ยาก

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในนามประ ธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร.ประจำเดือน มี.ค.2559 ว่า จากการศึกษารายได้ของประชากรต่อคนต่อปี (GDP Percapita) พบว่าคนไทยมียังรายได้น้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์ ที่มีรายได้ประชากรต่อคนต่อปีมากกว่าไทยเกือบ 10 เท่า และมาเลเซียที่มีรายได้อยู่ที่ 8,000-9,000 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งปัจจุบันไทยมีรายได้ประชากรอยู่ที่ 5,000-6,000 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี จึงได้มีการเร่งขับเคลื่อนคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพภาคเอกชน ผลักดันโครงการที่จะเพิ่มรายได้ของประชาชน โดยตั้งเป้าจะให้เพิ่มรายได้ภายใน 5 ปี ให้ได้ที่ 10,000 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี

    "นโยบายของรัฐบาลที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายช่วงที่ผ่านมา ไม่สามารถตอบโจทย์ของประชาชนรายย่อยได้ เพราะเป็นโครงการที่ต้องกู้เงินไปใช้ จึงอยากให้รัฐบาลทำโครงการที่สนับสนุนเงินลงทุนที่เป็นเงินให้เปล่ากับกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มประชาชนรายย่อยให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย" นายสุพันธุ์กล่าว

    ขณะเดียวกัน กกร.ได้พิจารณาถึงดัชนีภาคส่งออกในเดือน ม.ค.ที่หดตัว 8.9% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง ราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งทุกประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทย มีการส่งออกติดลบทั้งหมด โดยปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งกระทบอย่างมากกับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม กกร.จึงได้มีการรณรงค์ให้ภาคเอกชนร่วมกันประหยัดการใช้น้ำ ตั้งเป้าจะลดการใช้น้ำลง 20-30% ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจคาดการณ์ไว้ที่ 3-3.5%

   นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ภาพรวมการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกปี 2559 เชื่อว่ายังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว และมีแนวโน้มติดลบต่อเนื่องจากเดือน ม.ค.ที่มีมูลค่า 15,711 ล้าน เหรียญสหรัฐ หดตัว 8.91% เป็น การติดลบติดต่อกันเดือนที่ 13 และต่ำสุดในรอบ 5 ปี

   ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจโลกยังถดถอย เป็นไปได้ที่การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกมีโอกาสติดลบได้ถึง 5% สำหรับการส่งออกทั้งปี หากจะไม่ให้ หรือบวกเล็กน้อย แต่ละเดือนจะต้องมีมูลค่าส่งออกที่ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐตลอดทั้งปี และมองว่าโอกาสที่จะเติบโตทั้งปีที่ 5% คงเป็นไปได้ยาก โดยยังมีปัจจัยเพิ่มเข้ามาคือ การที่สหรัฐแก้ไขกฎหมายศุลกากรฉบับเดิม ห้ามนำเข้าสิน ค้าที่ผลิตโดยแรงงานทาสหรือแรงงานเด็ก ซึ่งครอบคลุมสินค้านำเข้าสหรัฐทั้งหมด โดยเฉพาะอาหารทะเล และเครื่องนุ่งหุ่ม.

กกร.จ่อปรับจีดีพีลงเม.ย.นี้

     บ้านเมือง : นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลง ภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า กกร.จะทบทวนปรับลดตัวเลขจีดีพีที่ประเมินไว้ 3-3.5% ลงอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะอยู่ในช่วง 3-3.5% แต่ยังไม่สามารถระบุตัวเลขได้ในขณะนี้

      ทั้งนี้ เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยเดือนมกราคมขณะนี้ยังไม่สดใส สะท้อนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วนยังแผ่วลงจากเดือนก่อนหน้า การใช้จ่ายภาครัฐแม้จะดำเนินการได้ต่อเนื่อง แต่พบว่าอัตราเบิกจ่ายโดยเฉพาะงบลงทุนแผ่วลง หลังเร่งเบิกจ่ายไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2559 ด้านการลงทุนภาคเอกชนกลับมาชะลอตัวลงอีกครั้งหลังจากอานิสงส์ชั่วคราวที่เริ่มหมดลง เช่น ผลจากการเร่งซื้อรถยนต์ก่อนปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ และการกระตุ้นการจับจ่ายผ่านมาตรการภาษี เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ยังทรงตัวระดับต่ำจากกำลังการผลิตที่ยังคงมีเพียงพอและการปรับขึ้นภาษีรถยนต์

     นายสุพันธุ์ กล่าวว่า กกร.ห่วงภาคการส่งออก หลังการส่งออกเดือนมกราคมปีนี้ติดลบ 8.9% หนักสุดในรอบกว่า 3 ปี มูลค่าส่งออกลดลงมาอยู่ในระดับ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ยอดส่งออกลดลงแทบทุกตลาด แม้แต่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่เคยเติบโตในอัตราสูงก็ชะลอลงมาเติบโตเพียง 1.2%

   นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ ส่งออก กล่าวยอมรับว่าเป็นห่วงภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลให้การส่งออกของไทยเดือนมกราคม 2559 มียอดส่งออกเพียง 15,711.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 8.91% ติดลบต่อเนื่อง 13 เดือน เป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 50 เดือน ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจ

    โลกเป็นเรื่องสงครามการค้า สืบเนื่องจากการเมือง ค่ายอเมริกาและจีนที่สหรัฐไม่ต้องการให้จีนเป็นตัวกำหนดการค้าโลก สหรัฐได้ทำเรื่องข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (ทีพีพี) การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและตามด้วยกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าแรงงานทาส แรงงานเด็ก นับเป็นการกีดกันทางการค้า ภาพรวมจะทำให้ตนเองได้เปรียบมากสุด และที่น่าแปลกราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงก็ไม่ได้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้น และยังมีปัญหาสงครามคู่ค้าหลายประเทศ

    "เศรษฐกิจโลกส่อแวววิกฤติ มีการเตือนรับภาวะเศรษฐกิจถดถอย บอกยากว่าส่งออกไทยจะเป็นบวก หากเศรษฐกิจโลกถดถอยมากก็อาจจะติดลบมาก ยิ่งหากเศรษฐกิจโลก set zero ตูมเดียว ทุกอย่างลดลงร้อยละ 50 ซึ่งไม่รู้จะถึงเวลานั้นเมื่อใดก็ยิ่งน่าเป็นห่วง หากจีน สหรัฐ มุสลิม รัสเซีย ไม่หาทางจับมือกันก็จะกระทบเศรษฐกิจโลกอย่างนี้ต่อไป" นายนพพร กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!