WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11916 NXPO

สอวช.จับมือเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ใช้ BCG ขจัดความยากจน ยกสกลนครเป็นเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular City จังหวัดต้นแบบใช้ขยะสร้างรายได้ ขับเคลื่อนจากภาคประชาชน

          เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า การขจัดความยากจนและยกระดับเศรษฐกิจของครัวเรือนกลุ่มฐานราก โดยใช้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ที่เน้นการเติบโตเชิงคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก และยังเป็นวาระสำคัญในการขับเคลื่อนเอเปค 2565 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อตอบโจทย์การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ในส่วนของ สอวช. ได้รับเลือกจากคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพ ให้เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนประเด็น การขจัดความยากจนตามโมเดล BCG การยกระดับเศรษฐกิจของครัวเรือน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเด็นหลักของการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 15 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 21-22 ธันวาคม 2565 และจะเสนอรัฐบาลเป็นวาระแห่งชาติต่อไป

          ดร.กาญจนา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยทีมงาน สอวช. ก็เข้าร่วมประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่ สอวช.เลือกมาเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อน BCG เนื่องจากมีความเข้มแข็งในหลายมิติ และมีความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ วิสาหกิจชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะในประเด็นการใช้ขยะสร้างรายได้ผ่านโครงการธนาคารขยะ ที่ชุมชนนาเวง .เมือง ซึ่งเป็นชุมชนถนนปลอดถัง มีนายทองปาน และนางอัจฉราวรรณ รักษาพล เป็นผู้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2558 มีสมาชิกกว่า 200 ราย และมีเทศบาลนครสกลนคร เป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกทุกคนจะมาเปิดบัญชีกับธนาคารขยะ และนำขยะมาฝากไว้ที่ธนาคารขยะ โดยทางธนาคารจะคณะกรรมการขยะซึ่งเป็นจิตอาสามาช่วยคัดแยก และทางเทศบาลก็จะนัดรถมารับไปจำหน่ายนะจุดรับซื้อ และนำเงินมาเก็บไว้ในบัญชีรายบุคคลของธนาคารขยะ ซึ่งสมาชิกสามารถมาเบิกได้เมื่อจำเป็น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มซาเล้ง ที่ซื้อขยะตามบ้าน สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วน หรือในบ้านที่เป็นผู้สูงอายุ ไม่สะดวกในการนำขยะมาที่ธนาคาร ก็จะขายให้กับซาเล้งที่รับซื้อตามบ้าน และได้รับเงินทันที แต่หากใช้บริการธนาคารขยะ จะเป็นเงินฝาก ราคารับซื้อก็จะพอๆ กัน แล้วแต่ว่าใครจะเลือกแบบไหน แต่ทุกบ้านจะไม่มีถังขยะอยู่หน้าบ้าน

          นายทองปาน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ กล่าวว่า ที่ตนทำโครงการธนาคารขยะขึ้นมา เนื่องจากอยากให้เมืองสกลนครสะอาด และมองว่า ถังขยะไม่ใช่แจกันหรือของประดับที่สวยงามที่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน และขยะก็สามารถนำหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์ได้ สำหรับบ้านตน ซึ่งเป็นที่ตั้งของธนาคารขยะชุมชนนาเวง นั้น ก็เป็นหอพัก มีขยะมาก และแจ้งกับผู้พักอาศัยว่า ให้แยกขยะ ในถังขยะทั่วไป และขยะที่สามารถขายได้ โดยขยะทั่วไปที่เป็นเศษอาหารก็จะนำมาทำเป็นขยะอินทรีย์ซึ่งมีสมาชิกมาร่วมประมาณ 20 ครัวเรือน สามารถนำไปเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ได้ และพยายามจะขยายผลเพิ่มขึ้น โดยทางเทศบาลเองก็ช่วยได้มาก และก็มาให้ความรู้ว่าขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายขยายผลเรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ ที่จะเอาไปขายเป็นคาร์บอน เครดิต ลดก๊าซเรือนกระจก มีการซื้อขายกัน กิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการทำกันมากและกำลังรณรงค์กันอยู่ เป็นเพิ่งช่วงเริ่มต้นที่ทางเทศบาลจะแจ้งให้ชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการก็จะนำถังหมักมาให้ชาวบ้านทำกันเองและจะมารับซื้อต่อไป ส่วนการกำจัดขยะทางเทศบาลจะใช้วิธีฝังกลบที่บ่อคำผักแพว และมีการจัดระบบบำบัดน้ำเสียควบคู่ไปด้วย ส่วนพลาสติก็จะแยกไปนำไปใส่เตาเผาเพื่อหลอมและกลั่นเป็นน้ำมัน

          ดร.กาญจนา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความเข้มแข็งของ .สกลนคร กับการจัดการขยะ ซึ่งถูกขับเคลื่อนมาจากชาวบ้านและกลุ่มซาเล้ง โดยมีเทศบาลนคร เป็นพี่เลี้ยงที่ดีมาก ทาง สอวช. จึงได้หารือกับสมัชชาจังหวัดสกลนคร และมีมติร่วมกันว่า จะยก .สกลนคร เป็นเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular City เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบของประเทศ ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมแล้ว ประชาชนยังมีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นด้วย

 

A11916

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!