WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AASTO

สำนักงาน ป.ย.ป. ระดมผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ร่วมเสวนาในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ

ในหัวข้อ 'The Future of Legal Transformation 2022 ปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม'

     สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้จัด การประชุมสัมมนาทางวิชาการ ‘The Future of Legal Transformation 2022 ปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม' เพื่อสร้างการรับรู้ผลการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในประเด็นสำคัญเร่งด่วนตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและการระดมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางและกรอบแนวทางการปฏิรูปกฎหมายต่อไปในอนาคต เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรม GOLDEN TULIP SOVEREIGN HOTEL BANGKOK

     การสัมมนาช่วงเช้าได้มีการกล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน โดย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป ถึงผลงานการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายของคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนของสำนักงาน ป.ย.ป. ที่ได้ศึกษา วิเคราะห์ และมีข้อเสนอแนะในการปฏิรูปกฎหมายที่มีความสำคัญระยะเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็น 'การปลดล็อกการนำเข้าชุดตรวจ ATK โดยผู้ประกอบการในช่วงที่ประเทศประสบกับภาวะการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙'

      'การผ่อนปรนให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารมีระยะเวลาดำเนินการมากขึ้นโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ ในช่วงที่ขาดแคลนแรงงานหรือปิดสถานประกอบการชั่วคราว รวมถึงการยกเลิก’ และหัวข้อสำคัญคือ’การยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัยและเป็นภาระต่อประชาชน’จากนั้น เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ’การปฏิรูปกฎหมายซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ของประเทศไทยในอนาคต'

       โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรม Workshop เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานแสดงความเห็นร่วมกันในประเด็นการปรับปรุงข้อจำกัดในการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายในกฎหมาย ซึ่งผลโหวต พบว่า ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ข้าราชการพลเรือนที่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย โดยไม่ได้กระทำการทุจริต ยังสามารถดำรงตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ใช้วิธีการบริหาร ในการจัดให้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่เหมาะสม

     สำหรับ การสัมมนาช่วงบ่ายได้มีกิจกรรมเสวนาโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการปฏิรูปกฎหมายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมจากหลากหลายสาขา ดังนี้

            ช่วงที่ ๑ ในหัวข้อ Legal Reforms for Better Society นำโดย นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา และศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ประธานอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการแก้ไขปัญหาสังคม โดยมี นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการกอง ๓ รักษาราชการแทนผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. เป็นผู้ดำเนินรายการ

ในการเสวนาช่วงดังกล่าว วิทยากรได้ให้ความรู้และข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในอนาคต เพื่อมุ่งสู่ Better Society โดยต้องปฏิรูปคนควบคู่กับปฏิรูปกฎหมาย ดำเนินการลดและเพิ่มกฎหมายเท่าที่จำเป็น เอาชนะระบบราชการเดิม โดยใช้การทดลองหรือเรียกว่า Sandbox ที่เน้นหลักการ Agility มีขนาดเล็ก ไม่เทอะทะ คล่องตัว ผ่านการบูรณาการความร่วมมือ และเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน ภายใต้หลักแนวคิดการปฏิรูปสังคมไม่ใช่การช่วยเหลือ แต่เป็นการทำให้ผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ในสังคมได้มีโอกาส มีขีดความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้

            ช่วงที่ ๒ ในหัวข้อ Unlocking Economic Potentials นำโดย ศ.พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)

โดยมี นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการกองนวัตกรรม รักษาราชการแทนรองผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ย.ป.เป็นผู้ดำเนินรายการ ในการเสวนาช่วงดังกล่าว วิทยากรได้ให้ความรู้และข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดข้อจำกัด เพิ่มขีดความสามารถ โดยใช้ ๒ หลักการ คือ การสร้างเจตจำนงด้านการเมืองเพื่อแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรค และการสร้างกลไกที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมาย ผ่านการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อหาวิธีทบทวนกฎหมายที่มีประสิทธิผล

โดยในอนาคตประเทศไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะครอบคลุมการทำนิติกรรมสัญญา การแสดง-พิสูจน์-ยืนยัน ตัวตน การลงนาม และมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงมีการพัฒนามาตรฐานหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงาน ป.ย.ป. เป็นผู้ขับเคลื่อน

            สำนักงาน ป.ย.ป. จะได้นำความคิดเห็นที่ได้จากการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ไปประมวลผลเพื่อกำหนดทิศทางและกรอบแนวทางการปฏิรูปกฎหมายต่อไปในอนาคต ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงผลักดันการปฏิรูปกฎหมายตามแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!