WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

004ประเทศไทย: ภาพรวมปี 2560

บทความโดย เรย์ เดวิส ทูพลาโน่ ผู้จัดการบรรณาธิการ อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป

    ความต้องการสินค้าและบริการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นผลักดันให้  จีดีพีของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี ในปี พ.ศ. 2560 โดยนโยบายทางการคลังที่เอื้อกับธุรกิจและการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานที่คาดว่าจะรองรับการขยายตัวในปี 2561

     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช)  เปิดเผยถึงภาวะ เศรษฐกิจไทยมีการปรับตัวดีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2560 โดยในไตรมาสแรกมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่สอง และร้อยละ 4.3 ระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคมและกันยายน  ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

    คณะทำงาน สคช ยังระบุเพิ่มเติมว่า การเพิ่มขึ้นของการส่งออก การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนควบคู่ไปกับผลประกอบการที่ได้กลับมาที่ดีขึ้นจากภาคการเกษตรและการผลิต นับเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโต

    จากตัวเลขในเชิงบวกดังกล่าว  ทำให้ สคช ได้ปรับตัวเลขการคาดการณ์และลดการประมาณการเติบโตของทั้งปีจากร้อยละ 3.5-4 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 และใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้อยู่ที่ร้อยละ 3.8   คณะทำงาน สคช ได้ให้การคาดการณ์ในภาพกว้างสำหรับการขยายตัวของจีดีพีอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 3.6 และ 4.6

 

การส่งออกที่แข็งแกร่ง

                จากนัยสำคัญของตัวเลขยอดขายในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2560 โดยมีมูลค่าการส่งออกเป็นเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในไตรมาสแรกก่อนที่จะขยายตัวไปที่ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 12.5 ในไตรมาสที่สองและที่สามตามลำดับ

                จาก การส่งออกสินค้าเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 20.5 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ร้อยละ 19.2 ในไตรมาสที่สอง และร้อยละ 28.4 ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็น ช่วงระยะหลังมีการเติบโตสูงที่สุดในรอบ 2 ปี  สินค้าอุตสาหกรรมมีการขยายตัวดีด้วยเช่นกัน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ร้อยละ 12.5 และร้อยละ 9.6 ตามลำดับ ซึ่งสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น

                ในปี พ.ศ. 2560 การเติบโตของการส่งออกทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 8.6  ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในปี พ.ศ. 2559 และการเติบโตที่ติดลบ 3 ปีติดต่อกันก่อนหน้านี้

อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัว

                แม้จะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ตลอดปี พ.ศ. 2560 โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่าพื้นฐาน 25 จุด มากกว่าระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา

                ในบันทึกที่ออกหลังจากที่ได้มีการการทบทวนในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกกฎลดการเพิ่มขึ้นและการลดลงของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นดังกล่าว

                โดยสรุป “อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเป้าหมายในปัจจุบัน เป็นผลมาจากปัจจัยด้านอุปทานและปัจจัยด้านโครงสร้าง เนื่องจากนโยบายการเงินแบบนี้จะไม่เหมาะแบบนี้จะไม่เหมาะสมและอาจส่งผลต่อการสร้างความอ่อนแอให้กับระบบการเงินได้”

                นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารคาดว่าจะรักษาระดับอัตราอ้างอิงที่น่าสนใจไว้ได้ในปี พ.ศ. 2561 โดยมีสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเนื่องจากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นจากธนาคารกลางของสหรัฐฯ

                นางชวินดา ยังได้กล่าวกับ อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป (หรือ โอบีจี) ว่า “ต้นทุนของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นถ้าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น” และ “แม้จะมีการปิดช่องว่าง ที่ร้อยละ 1.5 นโยบายอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงเหมือนเดิม”

                อัตราเงินเฟ้อปิดในปีพ.ศ. 2560 ต่ำกว่าเป้าหมายของธปท.ที่ร้อยละ 1-4 ดัชนีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.7 ต่อปี ซึ่งอยู่ต่ำกว่าธนาคารแห่งประเทศไทย

โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญช่วยผลักดันการเติบโตใหม่ ๆ

                โครงการไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล มุ่งเน้นในเรื่องการดึงเศรษฐกิจออกจากการผลิตและไปสู่การให้บริการ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตใหม่ในปี พ.ศ. 2561

                การเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี และการผลิดแบบมีมูลค่าเพิ่ม บวกกับแรงจูงใจที่รวมถึงการงดเก็บภาษีชั่วคราวอากรขาเข้าสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน

                ไทยแลนด์ 4.0 คาดว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่ฐานผลิตใช้แรงงานมาก อย่างเช่น เวียดนามและกัมพูชา

                ความสามารถในการแข่งขันจะเพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดโครงการขนส่งในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการเริ่มต้นโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทางในเมือง นอกจากนี้รัฐบาลยังมีงบประมาณ 745 พันล้านบาท (22.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในการดำเนินงาน โครงการคมนาคมขนส่งในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก กว่า 100 โครงการ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว

                “แนวคิดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศและทางทะเล คือทำให้เวลาในการเดินทางระหว่างเมืองหลวงและโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกสั้นลง ด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯ-ระยอง” นายวิทยา กล่าวเพิ่มเติม กับโอบีจี

ความวิตกกังวลในหนี้ครัวเรือน

                การบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2561 หลังจากที่มีการลดหย่อนภาษีการจับจ่ายซื่อของต่างๆ หลังพ้นช่วงไว้อาลัย 1 ปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา   ภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม

                ตามที่ สคช.ได้กล่าวไว้  การบริโภคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 ในใตรมาสที่สาม ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 3 และร้อยละ 3.2 ในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้า

                การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคควรมีผลกระทบในทางบวกในหลายภาคส่วน รวมถึง การผลิต การค้าปลีก และการท่องเที่ยว

                อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หนี้ในครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงอาจทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง ตามที่ธปท.ชี้ อัตราส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 77 ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งลดลงจากระดับร้อยละ 80 ในปี พ.ศ. 2558 แต่ก็ยังคงมีแรงกดดันต่อกำลังซื้อ

                การใช้จ่ายยังอาจได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อเชื้อเพลงที่สูงขึ้นในปี พ.ศ. 2561 หากราคาน้ำมันขยับขึ้น

ข้อมูลเศรษฐกิจไทยฉบับนี้ผลิตโดย อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป

 

เกี่ยวกับอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป

    อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป (โอบีจี) เป็นบริษัทจัดทำรายงานการวิจัย และที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งมีการตีพิมพ์เรื่องราวด้านภาวะเศรษฐกิจของตลาดต่างๆในตะวันออกกลาง, แอฟริกา, เอเชีย, ลาตินอเมริกา และแถบแคริบเบียน ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆในทั้งรูปแบบสิ่งพิมพ์และออนไลน์ โอบีจีนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมและแม่นยำทางเศรษฐกิจมหภาคและการพัฒนาของภาคธุรกิต่างๆ ซึ่งรวมถึง การธนาคาร ตลาดทุน การประกันภัย พลังงาน การขนส่ง อุตสาหกรรม และการโทรคมนาคม

รายงานการวิเคราะห์ประเด็นเศรษฐกิจและธุรกิจนี้ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญชั้นนำด้านธุรกิจที่มีความครอบคลุมเกี่ยวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคฯ บทสรุปออนไลน์ทางด้านเศรษฐกิจของโอบีจีนำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกที่ทันต่อสถานการณ์และประเด็นใหม่ๆอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเผยแพร่ให้กับสมาชิกหลายหมื่นรายจากทั่วโลก ส่วนงานที่ให้บริการด้านที่ปรึกษานั้น ทางบริษัทอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ปได้เสนอการวิเคราะห์ด้านการตลาดพร้อมให้คำปรึกษาแก่บริษัทลูกค้าต่างๆที่มีการดำเนินธุรกิจอยู่และลูกค้าที่เตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคนี้

คลิกที่นี่เพื่อรับทุกข้อมูลวิจัยล่าสุดจาก อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป:

www.oxfordbusinessgroup.com/country-reports

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!