WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL15ราคาน้ำมันดิบทรงตัวในระดับที่สูงขึ้นเล็กน้อย หลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว ท่ามกลางความล่าช้าการฉีดวัคซีน หลังวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันถูกระงับ

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 19 เมษายน 2564

                         

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 60-65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 65-70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                  

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (19 – 23 เม.ย. 64)

      ราคาน้ำมันดิบทรงตัวในระดับที่สูงขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ประกอบกับสำนักงานพลังงานสากลปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันโลกปี 64 ขึ้นเป็น 5.69 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากความเชื่อมั่นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลบังคับใช้ทั่วโลกและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่แพร่หลายต่อเนื่อง จะสนับสนุนการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน อย่างไรก็ตามตลาดยังคงมีความกังวลเล็กน้อยหลังมีการระงับฉีดวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ในสหรัฐฯ หลังพบผลข้างเคียงมีอาการลิ่มเลือดอุดตัน ในผู้ป่วยจำนวน 6 ราย

 1AAOIL19 4w

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

          สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับปริมาณการความต้องการใช้น้ำมันโลกปี 64 เมื่อเทียบกับปี 63 จากเดิมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในรายงานเดือนมี.ค. 64 เป็นเพิ่มขึ้น 5.69 ล้านบาร์เรลต่อวันในรายงานเดือนเม.ย. 64 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานกลุ่มโอเปกเดือนเม.ย..64 ที่คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 64 จะเติบโตที่ระดับ 5.95 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับปี 63  หลังสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการแจกจ่ายและฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในสหรัฐฯและจีน ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในยุโรป อินเดีย และบราซิล ขณะนี้ ยังคงกดดันการฟื้นตัวความต้องการใช้น้ำมัน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการบริโภคน้ำมันสูง

          จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ในเดือนมี.ค.64 เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. 63 ที่ระดับ 11.69 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยไตรมาส 1/64 จีนนำเข้าน้ำมันดิบ 11.29 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าไตรมาส 1/63 ที่นำเข้าราว 10.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อยู่ภายใต้การควบคุม และการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ ทำให้หลายโรงกลั่นเพิ่มกำลังการผลิต ตอบสนองความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น

          สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด 9 เม.ย. 64 ปรับลดลง 5.9 ล้านบาร์เร มาอยู่ที่ระดับ 492.4 ล้านบาร์เรล เป็นการปรับลดมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับลด 2.9 ล้านบาร์เรล หลังโรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ดำเนินการผลิตในระดับสูงที่ร้อยละ 85 แสดงถึงความต้องการใช้น้ำมันสหรัฐฯ มีสัญญาณฟื้นตัว

          ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากการระงับใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน หลังองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ร่วมกันเรียกร้องให้ระงับการฉีดวัคซีนดังกล่าว เพื่อตรวจสอบผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทั้ง 6 ราย โดยบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ยืนยันว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่ได้เชื่อมโยงกับการฉีดจากบริษัท ทั้งนี้วัคซีนจากจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมีการฉีดแล้วราว 7 ล้านโดสทั่วสหรัฐฯ ส่วนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ที่ถูกระงับการฉีดเป็นการชั่วคราวหลังมีผลข้างเคียงในผู้รับการฉีดบางราย ได้รับการอนุมัติให้นำกลับมาฉีดอีกครั้ง แต่บางประเทศเช่น เดนมาร์ก ได้ประกาศระงับการฉีดวัคซีนดังกล่าวอีกครั้ง หลังกังวลผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

          ตลาดกังวลสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง หลังกลุ่มฮูตี พันธมิตรของอิหร่าน ในเยเมนเปิดเผยว่า ยิงโดรน 17 ลำและขีปนาวุธ 2 ลุกใส่เป้าหมายต่างๆในซาอุดิอาระเบีย รวมถึงโรงกลั่นน้ำมันในเมืองจูบาอิล และเจดดาห์ แต่ยังไม่มีการยืนยันจากซาอุดิอาระเบียถึงการโจมตีทั้งกล่าว โดยโรงกลั่นในเมืองเจดดาห์ได้หยุดดำเนินการผลิตไปตั้งแต่ปี 60 แต่ยังใช้จุดแจกจ่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งนี้ซาอุดิอาระเบียระบุว่ากลุ่มฮูตียังโจมตีที่ตั้งทางทหารต่างๆในเมืองคามิส มูชาอิทและเมืองจาซาน อีกด้วย

          เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจีนและกลุ่มยูโรโซนเดือนเม.ย. 64, ดัชนีผู้บริโภคอังกฤษเดือนมี.ค.64, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการกลุ่มยูโรโซนและสหรัฐฯเดือนเม.ย.64

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (12 – 16 เม.ย. 64) 

      ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 3.53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 63.13 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 3.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 66.77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 65.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาด เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัว

        นอกจากนั้น ราคายังได้รับแรงหนุนระยะสั้นจากการความกังวลเหตุความรุนแรงในตะวันออกกลางหลังกลุ่มฮูตีโจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุดิอาระเบียด้วยโดรน และขีปนาวุธ ใส่โรงกลั่นน้ำมันในเมืองจูบาอิล และเจดดาห์ อย่างไรก็ตามโรงกลั่นในเมืองเจดดาห์ได้หยุดดำเนินการผลิตไปตั้งแต่ปี 60 แล้วเหลือเพียงการใช้เพื่อเป็นจุดแจกจ่ายน้ำมันสำเร็จรูป ในขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในยุโรป และอินเดียในตอนนี้ ส่งผลให้ต้องใช้มาตรการเข้มงวดทางสังคมและการล็อกดาวน์อีกครั้ง กดดันความต้องการใช้น้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!