WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL36ราคาน้ำมันดิบคาดปรับลด จากกำลังการผลิตของซาอุฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น และตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม 2562

             

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 50 – 56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 56 - 61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล                                                     

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (7 – 11 ต.ค. 62)

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังซาอุดิอาระเบียสามารถกลับมาดำเนินการผลิตน้ำมันดิบได้ในระดับที่สูงขึ้น หลังโรงงานแปรรูปน้ำมันดิบและแหล่งผลิตน้ำมันดิบถูกโจมตีเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังในสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้สำหรับโรงกลั่นลดลงในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันยังคงถูกกดดันจากสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงจับตาผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. นี้ ซึ่งสหรัฐฯ เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าจะสามารถทำข้อตกลงการค้ากับจีนเร็วกว่าที่คาดไว้

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

กำลังการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังโรงงานแปรรูปน้ำมันดิบและแหล่งผลิตน้ำมันดิบถูกโจมตีเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบหายไปกว่า 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตน้ำมันดิบของโลก โดยซาอุดิอาระเบียสามารถกลับมาผลิตน้ำมันดิบได้สู่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงสิ้นเดือน ก.ย. ซึ่งใกล้เคียงกับกำลังการผลิตในเดือน ส.ค. ที่ระดับ 9.78 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับลดกำลังการกลั่นในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ก.ย.ปรับเพิ่มขึ้น 3.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 1.6 ล้านบาร์เรล

อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ โดยดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 47.8 ในเดือน ก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี ประกอบกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของจีนในเดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 49.8 ซึ่งปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ส.ค. ที่ระดับ 49.5 ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 นับเป็นภาวะหดตัวของภาคการผลิตสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นผลจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ

ตลาดยังคงจับตาผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. 62 ที่กรุงวอชิงตัน โดยนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีนจะเป็นผู้นำคณะเจรจาการค้าของจีน ทั้งนี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าสหรัฐฯ จะสามารถทำข้อตกลงการค้ากับจีนเร็วกว่าที่คาดไว้

ตลาดยังคงกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังสหรัฐฯ เตรียมใช้มาตรการคว่ำบาตรเรือสัญชาติจีนที่ยังนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน และได้สั่งลงโทษคว่ำบาตรบริษัทเรือ COSCO ของจีนที่ได้ลอบขนส่งน้ำมันอิหร่านไปแล้ว

เอกวาดอร์ประกาศจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มโอเปกตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 หลังประสบปัญหาทางด้านการเงินภายในประเทศอย่างต่อเนื่องและไม่ต้องการที่จะลดกำลังผลิตน้ำมันดิบตามข้อตกลงของกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตนอกกลุ่ม

เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการบริการจีน ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ การแถลงผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป และการว่างงานสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 ก.ย. – 4 ต.ค. 62)

                ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 3.10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 52.81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 3.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 58.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 57.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ โดยดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย. 62 ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 47.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.52 ประกอบกับซาอุดิอาระเบียสามารถกลับมาดำเนินการผลิตน้ำมันดิบได้อีกครั้ง นอกจากนี้ ตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 3 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงหนุน จากการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือน ก.ย. 62 ที่ปรับลดลง 750,000 บาร์เรลต่อวัน ลงไปแตะระดับ 28.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2554 นอกจากนี้ การผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในเดือน ก.ย. 62 ปรับตัวลดลงไปอยู่ระดับ 11.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!