WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL15ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 8-12 ม.ค.61 และสรุปสถานการณ์ฯ 1-5 ม.ค.61

 

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ( 8 – 12 ม.ค. 61)

 ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดจะทรงตัวอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางสถานการณ์การประท้วงที่ประเทศอิหร่านที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่กระทบต่อการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลง จากสภาพอากาศที่หนาวจัดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิต ประกอบกับ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับลดลง หลังโรงกลั่นยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การกลับมาดำเนินการอีกครั้งของท่อขนส่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือและลิเบียอาจกดดันราคาน้ำมันดิบ

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

จับตาสถานการณ์การประท้วงที่ประเทศอิหร่าน หลังประชาชนไม่พอใจกับการทำงานของรัฐบาล เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการปกครองของประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี และเหล่าผู้นำทางศาสนา ซึ่งเหตุการณ์นี้นำมาสู่การเข้าจับกุมผู้ประท้วงจำนวนหนึ่ง สร้างความไม่พอให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยทางรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาแถลงการณ์ประณามเหตุจับกุมดังกล่าวและสนับสนุนผู้ประท้วงชาวอิหร่านในการเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐาน และต่อต้านคอร์รัปชัน ทำให้หลายคนกังวลว่าเหตุการณ์นี้อาจนำไปสู่การคว่ำบาตรอิหร่านอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน การประท้วงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิต และการส่งออกน้ำมันแต่อย่างใด

  ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดลง เนื่องจากอากาศที่หนาวจัดอาจส่งผลกระทบต่อการผลิต และการขนส่งน้ำมันดิบ นอกจากนั้น สภาพอากาศที่หนาวคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ที่ล่าสุดเผชิญกับพายุหิมะ และอากาศที่หนาวจัดกว่าปกติ

  ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูง เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันในช่วงฤดูหนาว โดยในสัปดาห์ล่าสุด ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ธ.ค. 60 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีที่ระดับ 424.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งลดลงราว 7.4 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากโรงกลั่นเพิ่มอัตราการกลั่นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2548

  ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากสหราชอาณาจักร และลิเบียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forties Pipeline System กำลังการขนส่ง 450,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการตามปกติ หลังพบรอยร้าว และต้องปิดซ่อมบำรุงตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ท่อขนส่งน้ำมันดิบในลิเบียที่ขนส่งน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบของบริษัท Waha Oil ไปยังท่าเรือ Es Sider สามารถกลับมาดำเนินการอีกครั้งเช่นกัน หลังจำเป็นต้องลดกำลังการขนส่งลงราว 70,000-100,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากถูกโจมตีโดยผู้ก่อความไม่สงบภายในประเทศ

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐฯ และดัชนีภาคการบริการของจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 – 5 ม.ค. 61)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 61.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 67.62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์การประท้วงในประเทศอิหร่านที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเยอรมนีที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีชี้วัดการผลิตของโรงงานในสหรัฐฯ (Index of National Factory Activity) เดือนธ.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 59.7 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเป็นอันดับสองในรอบ 6 ปี ขณะที่อัตราการว่างงานในเยอรมนีปรับลดลงสู่ระดับ 2.442 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2533 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการกลับมาดำเนินการอีกครั้งของท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forties Pipeline System และท่อขนส่งน้ำมันดิบในลิเบีย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!