- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 30 November 2017 19:18
- Hits: 6459
ราคาน้ำมันดิบปรับลดติดต่อกันเป็นวันที่ 3 หลังนักลงทุนรอผลการประชุมของกลุ่มโอเปกในการยืดระยะเวลาการลดกำลังการผลิต
-ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเป็นวันที่สาม หลังนักลงทุนรอผลการประชุมของกลุ่มโอเปก ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังเกิดความไม่แน่นอนในการขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตในและนอกกลุ่มโอเปก โดยรัสเซียได้แสดงท่าทีลังเลต่อช่วงเวลาในการขยายข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตออกไปเนื่องจากไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันมีผลต่อการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินของรัสเซียให้แข็งค่าขึ้นและอาจจะทำให้การส่งออกของรัสเซียชะลอการเติบโตได้
- ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 9.68 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเข้าใกล้ระดับสูงที่สุดที่สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เคยเก็บบันทึกมาไว้ที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงทศวรรษ 1970
+ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง 3.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมาตามการรายงานของ EIA ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยเป็นผลมาจากการหยุดดำเนินการของท่อขนส่งน้ำมันดิบ Keystone ที่มีกำลังการส่งน้ำมันดิบ 590,000 บาร์เรลต่อวัน หลังได้ปิดทำการซ่อมบำรุงไปตั้งแต่สองสัปดาห์ที่ผ่านมา
+ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของคูเวต เปิดเผยว่า คณะกรรมการรัฐมนตรีร่วมของกลุ่มโอเปกได้ให้คำแนะนำว่า กลุ่มโอเปกและผู้ผลิตนอกกลุ่มควรยืดระยะข้อตกลงการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบออกไปจนสิ้นปี 2561 เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันเบนซินจากประเทศจีนที่ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศศรีลังกา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับปรงกดดันจากการส่งออกน้ำมันดีเซลจากจีนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดีเซลยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศปากีสถาน
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 56-61 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมโอเปกในวันที่ 30 พ.ย. 60 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ว่ากลุ่มผู้ผลิตจะขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตออกไปเท่าใดจากเดิมที่สิ้นสุดในเดือน มี.ค. 61 โดยซาอุดิอาระเบียและรัสเซียได้มีการออกมากล่าวสนับสนุนการลดการผลิตออกไป 9 เดือนถึงเดือน ธ.ค. 61 เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD Oil Stocks) ลงสู่ระดับเฉลี่ย 5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับนักวิเคราะห์โดยส่วนใหญ่ที่คาดการณ์ว่ากลุ่มผู้ผลิตจะขยายระยะเวลาของข้อตกลงออกไปอีก 9 เดือน หลังปริมาณน้ำมันน้ำมันคงคลังล่าสุดในเดือน ก.ย. ยังสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ประมาณ 154 ล้านบาร์เรล
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับขึ้นหลักๆ มาจากการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์กำลังการผลิตน้ำมันดิบจาก Shale oil ในเดือน ธ.ค. มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน โดยคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นราว 80,000 บาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 6.17 ล้านบาร์เรลต่อวัน