- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 29 September 2017 17:43
- Hits: 2983
ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังนักลงทุนมองว่าราคาน้ำมันดิบ ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับ Overbought
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงราวร้อยละ 1 โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง หลังแตะระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 2 ปี ในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวลดลง หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากนักลงทุนมองว่าราคาน้ำมันดิบ ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับสูง จากการที่มีแรงซื้อมากเกินไป (Overbought)
+ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากการจัดการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของชาวเคิร์ด ซึ่งจัดท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายประเทศ รวมถึงตุรกีที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับอิรัก และล่าสุดนาย Tayyip Erdogan ขู่ว่าจะปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบ ซึ่งใช้ลำเลียงน้ำมันดิบจากทางตอนเหนือของอิรักไปยังท่าเรือ Ceyhan ของตุรกี โดยการกระทำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันดิบทางตอนเหนือของอิรัก ที่ ณ ปัจจุบัน ส่งออกน้ำมันดิบราว 500,000-550,000 บาร์เรลต่อวัน
+/- สำนักนายกรัฐมนตรีของอิรัก เผยว่าตุรกีจะยอมเจรจาเรื่องการส่งออกน้ำมันดิบกับรัฐบาลอิรักเท่านั้น นอกจากนี้ ตุรกียังประกาศว่าจะให้การสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลอิรัก
+ การปรับลดลงของปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันดิบก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อไปทำความร้อนสูง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสิงคโปร์ หลังสามารถส่งออกน้ำมันเบนบซินไปยังเม็กซิโกอีกครั้ง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการซื้อขายเบาบางในช่วงการประชุม Asia Pacific Petroleum Conference (APPEC) ซึ่งจัดในช่วงสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม ยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในสิงคโปร์ที่ปรับลดลง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันคุ้มทุนที่จะเพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบ โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในเดือนต.ค. 61 ปรับเพิ่มขึ้นราว 79,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา แตะระดับ 6.083 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากการกลับมาดำเนินการอีกครั้งของผู้ผลิตในพื่นที่ชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก หลังผ่านช่วงการพัดถล่มของพายุ Harvey
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น จากปริมาณการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบทื่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการกลั่นทรงตัว หลังโรงกลั่นส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ Harvey กลับมาดำเนินการเต็มกำลังตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา
จับตาสถานการณ์ความตึงเครียดที่ประเทศอิรัก หลังรัฐบาลท้องถิ่นในภูมิภาคเคอร์ดิสถาน (KRG) เขตกึ่งปกครองตนเองทางเหนือของอิรัก จัดการลงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชจากอิรักในวันที่ 25 ก.ย. ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าประชามติครั้งนี้จะยังไม่มีผลผูกมัดทางกฎหมาย แต่ก็สร้างความไม่พอใจให้กับนานาประเทศ รวมถึงรัฐบาลอิรัก และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ตุรกี และอิหร่าน ซึ่งเกรงว่าการกระทำครั้งนี้จะทำให้ชาวเคิร์ดในประเทศอื่นในตะวันออกกลางกระทำตาม และล่าสุดนาย Tayyip Erdogan ประธานาธิบดีตุรกี ขู่จะปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบ กำลังการขนส่ง 500,000-600,000 บาร์เรลต่อวัน ที่ลำเลียงน้ำมันดิบจากทางตอนเหนือของอิรักที่ถูกควบคุมโดย KRG ไปยังท่าเรือ Ceyhan ของตุรกี ซึ่งอาจส่งผลให้อุทานน้ำมันดิบตึงตัวมากขึ้น