- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 27 September 2017 17:31
- Hits: 7548
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงราว 1 เปอร์เซ็นต์จากการขายทำกำไรของนักลงทุน
(-) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง 1 เปอร์เซ็นต์ หลังแตะระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนก.ค. 2558 และราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลด 0.7 เปอร์เซ็นต์ หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จากการขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุน ก่อนการรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
(-) สำนักข่าว Reuters คาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 22 ก.ย. 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.4 ล้านบาร์เรล หลังจากปรับเพิ่มขึ้น 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
(+) นาย Tayyip Erdogan ประธานาธิบดีของตุรกีได้ออกมาประกาศข่มขู่ว่าจะตัดการขนส่งน้ำมันดิบทางท่อที่ส่งออกน้ำมันดิบราว 500,000-600,000 บาร์เรลต่อวันจากทางตอนเหนือของอิรักไปยังท่าเรือ Ceyhanของตุรกี เพื่อกดดันกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ด ซึ่งอาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบตึงตัวมากขึ้น นอกเหนือจากที่ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีการตกลงปรับลดกำลังการผลิต1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
(+) ภายหลังตลาดปิดการซื้อขาย สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (ApI) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 22 ก.ย. 2560 ปรับลดลง761,000 บาร์เรล หลังโรงกลั่นมีการเพิ่มกำลังการผลิต
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้แรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่ปรับลดลงในประเทศจีน ประกอบกับอุปสงค์ที่แข็งแกร่งก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเนื่องในวันชาติจีน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังผู้ค้าน้ำมันดีเซลในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางสามารถจำหน่ายสินค้าไปยังตะวันตกได้ เนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน Harvey ยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ บางส่วนจะสามารถกลับมาดำเนินการผลิตตามปกติได้แล้วก็ตาม
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังปริมาณการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ยังคงปิดดำเนินการกว่า 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 14.2 ของกำลังการผลิต โดยในสัปดาห์ล่าสุด EIA รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 4.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 472.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันกว่า 3 สัปดาห์ติดต่อกันและสูงกว่าตัวเลขที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 3.5 ล้านบาร์เรล
การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นและส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สำหรับ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 ปรับเพิ่มขึ้นกลับมาสู่ระดับเดิมก่อนเกิดพายุ Harvey ที่ระดับ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดปริมาณการผลิตในเดือน ธ.ค. จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน นำโดยการเพิ่มขึ้นของแหล่งผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกคาดจะปรับลดลงต่อเนื่อง หลังกลุ่มผู้ผลิตยังคงเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตต่อเนื่อง โดยล่าสุดในเดือน ส.ค. ผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกปรับเพิ่มความร่วมมือขึ้นมาจาก 85% มาอยู่ที่ 94% ในขณะที่ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกปรับเพิ่มความร่วมมือมาสู่ระดับ 119% ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 100% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการปรับลดกำลังการผลิตมา นอกจากนี้ยังต้องจับตาการหารือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตว่าจะมีการออกมาตรการเพิ่มเติมโดยการขยาย