WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL48ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 4-8 ก.ย.60 และสรุปสถานการณ์ฯ 28 ส.ค.-1 ก.ย.60

           

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (4 – 8 ก.ย. 60)

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากผลกระทบของพายุ Harvey ที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบของโรงกลั่น และความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อการคมนาคมในพื้นที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียที่ปรับลดลง จากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ประกอบกับ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลง หลังพายุ Harvey ส่งผลให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) หยุดดำเนินการชั่วคราว นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางที่คาดว่าจะปรับลดลง

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  การปรับลดลงของปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะชะลอตัว เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดิบเพื่อเข้ากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลง หลังพายุ Harvey ทำให้โรงกลั่นน้ำมันดิบ ท่าขนส่งน้ำมันดิบ แท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ และท่อขนส่งน้ำมันหลายแห่งต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีโรงกลั่นบางแห่งที่ไม่ได้ปิดชั่วคราวแต่จำเป็นต้องลดอัตราการกลั่นลง อย่างไรก็ตาม สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ส.ค. 60 ปรับลดลงราว 5.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 457.8 ล้านบาร์เรล จากอัตราการกลั่นในโรงกลั่นสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งรายงานล่าสุดนี้เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นก่อนการเคลื่อนตัวของพายุ Harvey

  ติดตามพายุ Harvey ในอ่าวเม็กซิโกที่เคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งทางทะเลทิศใต้ของรัฐเท็กซัส ซึ่งล่าสุดได้มีการปรับลดระดับจากพายุโซนร้อนเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว ว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันเป็นระยะเวลานานหรือไม่ หลังพายุดังกล่าวส่งผลให้โรงกลั่นน้ำมัน และแหล่งผลิตน้ำมันดิบบางแห่งในสหรัฐฯ หยุดดำเนินการ และความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง โดยล่าสุดมีรายงานว่าโรงกลั่นที่ต้องหยุดดำเนินการมีกำลังการผลิตรวมกันมากกว่า 4.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคิดเป็นราวร้อยละ 24 ของกำลังการผลิตของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ทั้งหมด

 เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้อนุญาตให้นำน้ำมันดิบในคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserves หรือ SPR) ออกมาใช้เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการดึงน้ำมันดิบออกมาอีก 3.5 ล้านบาร์เรล  เพิ่มเติมจาก 1 ล้านบาร์เรลที่นำออกมาเพื่อส่งให้โรงกลั่นน้ำมันใน Louisiana ที่ยังสามารถเปิดดำเนินการได้อยู่

  จับตาสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศลิเบีย ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับตัวลดลงราว 360,000 บาร์เรลต่อวัน หลังล่าสุดผู้ก่อความไม่สงบปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบ ส่งผลให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบทั้งหมด 3 แหล่งได้แก่ El Sharara, El Feel และ Hamada ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว

 จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากพายุ Harvey ทำให้เกิดน้ำท่วมที่แหล่งผลิต Shale oil โดยเฉพาะแหล่งผลิต Eagle ford กำลังการผลิตราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว โดยล่าสุด Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางคาดว่าจะปรับตัวลดลง โดยการปรับลดลงหลักๆ มาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หลังบริษัทน้ำมันแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ADNOC) แจ้งลูกค้าเกี่ยวกับการปรับลดปริมาณการจัดจำหน่ายน้ำมันดิบลงราวร้อยละ 10 นอกจากนั้น มีรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์สว่าการผลิตน้ำมันดิบในเดือน สค.60 ของกลุ่มโอเปกปรับลดลง 170,000 บาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 32.83 ล้านบาร์เรลต่อวัน

   ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพี ไตรมาส 2/2560 ยูโรโซน ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ ดัชนีภาคการบริการยูโรโซน และยอดค้าปลีกยูโรโซน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 ส.ค. – 1 ก.ย. 60)

 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 0.58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 47.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 0.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 52.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากความกังวลว่าความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง เนื่องจากโรงกลั่น และท่อขนส่งน้ำมันดิบหยุดดำเนินการจากผลกระทบของพายุ Harvey อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จากอัตราการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!