- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 14 May 2014 14:58
- Hits: 3489
ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลัง HSBC เผยดัชนีภาคการผลิตจีนหดตัวต่อเนื่อง
-/+ ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) เดือน เม.ย. แม้จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 48.1 จาก 48.0 ในเดือน มี.ค. แต่ถือว่าลดลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 48.3 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของจีนยังคงย่ำแย่และหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน
- ตลาดคลายความกังวลมากขึ้น หลังมีการคาดการณ์ว่าแหล่งผลิตน้ำมัน EI Sharara ของลิเบียซึ่งมีกำลังผลิต 350,000 บาร์เรล จะกลับมาผลิตได้อีกครั้งภายในเวลา 1 สัปดาห์ หลังผู้ชุมนุมได้เคลื่อนย้ายออกจากบริเวณแหล่งผลิตน้ำมันแล้ว
- นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบโลกยังได้รับแรงกดดัน จากราคาน้ำมันเบนซินใน สหรัฐฯ ที่ปรับลดลง และแตะระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งเดือน เนื่องจากใกล้จะถึงช่วงของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันสำหรับเกรดที่จะใช้ในช่วงของฤดูกาลท่องเที่ยวใน สหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างออกมาเทขายน้ำมันเบนซิน เพื่อบริหารปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลัง
+ ดัชนีภาคการบริการ สหรัฐฯ ในเดือน เม.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดไว้มาอยู่ที่ 55.2 จาก 53.1 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 8 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากดัชนีการสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้น 4.8 จุด เป็น 58.2 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค. 2553
+ ตลาดยังคงกังวลต่อความไม่สงบในยูเครน โดยการปะทะกันระหว่างทหารรัฐบาลยูเครนกับกองกำลังติดอาวุธในเมืองสโลเวียนสก์ยังคงดำเนินต่อ และมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้น หลังล่าสุดเฮลิคอปเตอร์ยูเครนถูกยิงตกทหารเสียชีวิต 5 นาย
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความกังวลว่าอุปสงค์จากอินโดนีเซียจะลดลง หลังจากอินโดนีเซียมีการเลื่อนการรับสินค้าสำหรับเดือน พ.ค. อย่างไรก็ดีโรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคกาลังอยู่ในช่วงปิดซ่อมบำรุง ส่งผลให้อุปทานยังคงลดลง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับการสนับสนุนจากการที่โรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคกาลังอยู่ในช่วงปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้อินโดนีเซียยังคงมีความต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บสต๊อกสำหรับใช้ในเทศกาลถือศีลอด
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98-105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-111 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังมีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่โรงกลั่นบางแห่งจะเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุงในช่วงปลายเดือน เม.ย.
การปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันดิบในทะเลเหนือระหว่าง 25 เม.ย. -15 พ.ค. คาดว่าจะทำให้ปริมาณน้ำมันดิบจากทะเลเหนือเดือน พ.ค. ลดลงราว 200,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือน เม.ย.
การส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้ตลาดคลายความกังวลต่อภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวลง โดยล่าสุดลิเบียส่งออกน้ำมันจากท่าเรือ Zueitina ได้แล้ว และตลาดคาดการส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียจะเพิ่มขึ้นจาก 230,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 350,000 – 400,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงปลายเดือนนี้
สถานการณ์ยูเครน – รัสเซียยังคงเป็นที่น่าจับตามอง หลังสหรัฐฯ และยุโรปออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม ขณะที่การปะทะกันของทหารยูเครนและกลุ่มกบฎฝักใฝ่รัสเซียยังร้อนแรง และรัสเซียยังประกาศกร้าวว่าจะตอบโต้อย่างจริงจัง
รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน พ.ค. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ในวันที่ 6 พ.ค. ติดตามว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกในปีนี้ลงหรือไม่หลังหลายฝ่ายกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรป ในวันที่ 8 พ.ค. นี้ ว่านายมาริโอ้ ดรากี้ ประธานธนาคารฯ จะมีมาตรการใดมาช่วยให้กลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรหลีกเลี่ยงภาวะเงินฝืด และช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่มหรือไม่