WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ERCวระพล จรประดษฐกลกกพ. ปรับค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น 8.87 สตางค์ต่อหน่วย เป็นไปตามคาดการณ์จากภาวะต้นทุนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น       

    คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าเอฟทีงวดเดือนกันยายนถึงธันวาคม 2560 เป็น -15.90 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดที่แล้วเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2560 เท่ากับ 8.87 สตางค์ต่อหน่วย ตามต้นทุนในการผลิตและจัดหาไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเดือนดังกล่าว

      นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม กกพ. ว่า กกพ. ได้พิจารณาผลการคำนวณค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 ที่ -15.90 สตางค์ต่อหน่วย ปรับเพิ่มขึ้นจากงวดก่อน 8.87 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ในการพิจารณาค่าเอฟทีครั้งก่อนที่คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ และมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าปีนี้อยู่ในช่วงขาขึ้นด้วยโดยสาเหตุหลักมาจาก สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ลดลงตามฤดูกาล และการใช้ถ่านหินที่ลดลงจากการหยุดบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าตามแผนในช่วงฤดูหนาวที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ รวมถึงราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งปรับตัวสูงขึ้นโดยเป็นผลมาจากสัดส่วนLNG ที่เริ่มสูงขึ้น จากราคาน้ำมันเตาที่ปรับตัวขึ้นก่อนหน้า โดยที่มีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนที่สูงกว่าประมาณการในรอบที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันสะสมเพิ่มมากขึ้น

        นอกจากนี้ โฆษก กกพ. ยังได้กล่าวสรุปถึงปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาเชื้อเพลิงและการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 ดังนี้

1. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าช่วง พ.ค. – ส.ค. 60 (ปรับปรุงค่าจริงเดือน พ.ค. 60) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 34.31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 34.19 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้น 0.12 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ตามอัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกิดขึ้นจริงเฉลี่ยวันที่ 1-16 มิ.ย. 60

2. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 เท่ากับ 61,420 ล้านหน่วย ปรับตัวลดลงจากช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 60 เท่ากับ 4067 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ -6.21

3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 63.64 รองลงมาเป็นรับซื้อไฟฟ้าจากลาว ร้อยละ 12.63 ลิกไนต์ ร้อยละ 9.14 และถ่านหินนำเข้า ร้อยละ 7              

หมายเหตุ : อื่นๆ ประกอบด้วย SPPs Coal และ Non Firm SPPs

               4. แนวโน้มราคาเชื้อเพลิง คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติรวมค่าผ่านท่อและค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชน 245.64 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดที่ผ่านมา 3.80 บาทต่อล้านบีทียู ราคาน้ำมันเตาคงที่อยู่ที่ 13.27 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 20.04 บาทต่อลิตร ลดลงจากงวดปัจจุบันที่ปรับปรุงค่าจริงเดือน พ.ค. 60 ซึ่งอยู่ที่ 21.18 บาทต่อลิตร เท่ากับ 1.14 บาทต่อลิตร ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าเอกชนอยู่ที่ 2,108.45 บาทต่อตัน ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,178.64 บาทต่อตันในงวดปัจจุบันที่ปรับปรุงค่าจริงเดือน พ.ค. 60 แล้ว เท่ากับ 70.19 บาทต่อตัน และราคาลิกไนต์ กฟผ. อยู่ที่ 693 บาทต่อตัน ไม่เปลี่ยนแปลง

 

ราคาเชื้อเพลิง พ.ค. – ส.ค. 60
(ปรับปรุงค่าจริง พ.ค.)**
ก.ย. – ธ.ค. 60
(ประมาณการ)
เปลี่ยนแปลง
(1) (2) (2) – (1) %
ก๊าซธรรมชาติ* บาท/ล้านบีทียู 241.84 245.64 3.80 1.57
น้ำมันเตา  บาท/ลิตร 13.27 13.27 0.00 0.00
น้ำมันดีเซล  บาท/ลิตร 21.18 20.04 -1.14 -5.38
ถ่านหินนำเข้า IPPs บาท/ตัน 2,108.45 2,718.64 70.19 3.33
ลิกไนต์ กฟผ. บาท/ตัน 693.00 693.00 0.00 0.00

*ราคาก๊าซฯ รวมค่าผ่านท่อและค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชน

** ปรับปรุงโดยใช้ค่าจริงเดือน พ.ค. 60 แทนค่าประมาณการเดิม

สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายของภาครัฐ  ในส่วน Adder และ FiT ในเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60ได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 14,312.97 ล้านบาทในประมาณการงวดป้จจุบัน (ปรับปรุงค่าจริงเดือนพฤษภาคม 2560) มาอยู่ที่ 14,497.07 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 184.10 ล้านบาท ประกอบกับประมาณการจำนวนหน่วยไฟฟ้าในงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 จะลดต่ำลงจากช่วงปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อเทียบเป็นอัตราต่อหน่วยแล้วจะทำให้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวในงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 ซึ่งอยู่ที่ 25.81 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น จากงวด พ.ค. - ส.ค. 60 ที่ปรับปรุงค่าจริงเดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งอยู่ที่ 23.81 สตางค์ต่อหน่วยเท่ากับ 2.00 สตางค์ต่อหน่วย

จากการปรับค่าเอฟทีเรียกเก็บงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 60 เป็น -15.90 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดที่แล้ว 8.87 สตางค์ต่อหน่วย จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 3.5966 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งจากมติ กกพ. ดังกล่าวข้างต้น สำนักงาน กกพ. จะเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมดผ่านทาง www.erc.or.th เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2560 เวลา 12.00 น. ก่อนที่จะนำผลการรับฟังความคิดเห็น มาพิจารณาและให้การไฟฟ้าประกาศเรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในรอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อไป

                                                                                                                                           

เกี่ยวกับ กกพ.

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน องค์กรหลักในการกำกับดูแลกิจการพลังงานของชาติด้านกิจการไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมให้มีบริการอย่างมั่นคง และมีเสถียรภาพ ในราคาที่เหมาะสม โดยยึดมั่นในความยุติธรรม คุณธรรม และความโปร่งใส ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และพึ่งพากันอย่างยั่งยืน ระหว่างกิจการพลังงาน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นตั้งใจพัฒนารากฐานพลังงานของประเทศ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

 

 

กกพ.เร่งศึกษาอัตราค่าบริการสายส่ง SPP-ทีดีอาร์ไอชงรัฐปรับโครงสร้างไฟฟ้าตามช่วงเวลาพีค

      นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวในงานเสวนา “สู่การเปิดเสรีโซลาร์รูฟท็อป : เราจะอยู่กับ disruptive technology อย่างไร” ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดขึ้นว่า ขณะนี้ กกพ. อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบอัตราค่าบริการสายส่งและจำหน่ายรองรับเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (เอสพีพี) และขายไฟกันเอง แทนการใช้บริการไฟฟ้าของรัฐบาลในบางช่วงเวลา ซึ่งจะเริ่มใช้กับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมก่อนแล้วจึงขยายผลไปยังครัวเรือนที่อยู่อาศัยในอนาคต โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ควบคู่กับการศึกษาการเรียกเก็บอัตราสำรองไฟฟ้า (แบ็กอัพ เรต) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปออกมาชัดเจนทันกับการปรับโครงสร้างค่าไฟฐานที่คาดจะเสร็จช่วงต้นปี 2561

       นางสาววิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง “โซลาร์รูฟท็อปกับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจไฟฟ้า” ว่า แม้แนวโน้มธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) จะขยายตัวมากขึ้น ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทย (เออีดีพี) ที่ตั้งเป้าหมายประเทศไทยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นเพียง 2.4% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมดในปี 20 ปีข้างหน้า (ปี 2580) สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

        ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอจึงประเมินว่าภายใน 4-5 ปีนับจากนี้ ต้นทุนระบบโซลาร์และระบบกักเก็บพลังงานจะลดต่ำลงเร็วกว่าที่คิด และในระยะถัดไปจะมีปริมาณไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปเกิน 10% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด แต่ต้องยอมรับว่าภาพรวมโซลาร์รูฟท็อปยังมีความไม่แน่นอนสูง และมีข้อจำกัดไม่มีระบบกักเก็บพลังงานไว้ในเวลากลางคืน ขณะที่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เปลี่ยนจากกลางวันเป็นเวลากลางคืนเช่นกัน ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังคงต้องเตรียมลงทุนสายส่ง ระบบสำรองไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการตอนกลางคืนหรือสามารถปรับการผลิตได้รวดเร็ว เพื่อประกันว่ามีไฟฟ้าเพียงพอทุกเวลา ส่งผลกระทบต่อต้นทุน รายได้ของการไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าด้วย

       “ทีดีอาร์ไอ จึงอยากเสนอให้ภาครัฐปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานบ่อยขึ้นเพื่อสะท้อนสถานการณ์ตลาดและเทคโนโลยี รวมถึงปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้สะท้อนประเภท และมูลค่าของต้นทุนการผลิตตามช่วงเวลาสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม เช่น อัตราค่าไฟฟ้าช่วงหัวค่ำหรือฤดูร้อนแพงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงฤดูหนาว ช่วยส่งเสริมให้ประหยัดพลังงานในช่วงพีค และขยายฐานไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือนขนาดใหญ่หรือกิจการขนาดเล็ก ลดปัญหารายได้ไม่เพียงพอสำหรับระบบสำรองไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้งควรอนุญาตให้ขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบได้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!