- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 12 July 2017 14:32
- Hits: 2365
กกพ. ปรับค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น 8.87 สตางค์ต่อหน่วย เป็นไปตามคาดการณ์จากภาวะต้นทุ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าเอฟที
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม กกพ. ว่า กกพ. ได้พิจารณาผลการคำนวณค่าเอฟที
นอกจากนี้ โฆษก กกพ. ยังได้กล่าวสรุปถึงปัจจัยอื่นที่
1. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็
2. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่
3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิ
หมายเหตุ : อื่นๆ ประกอบด้วย SPPs Coal และ Non Firm SPPs |
4. แนวโน้มราคาเชื้อเพลิง คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติรวมค่าผ่
ราคาเชื้อเพลิง | พ.ค. – ส.ค. 60 (ปรับปรุงค่าจริง พ.ค.)** |
ก.ย. – ธ.ค. 60 (ประมาณการ) |
เปลี่ยนแปลง | ||
(1) | (2) | (2) – (1) | % | ||
ก๊าซธรรมชาติ* | บาท/ล้านบีทียู | 241.84 | 245.64 | 3.80 | 1.57 |
น้ำมันเตา | บาท/ลิตร | 13.27 | 13.27 | 0.00 | 0.00 |
น้ำมันดีเซล | บาท/ลิตร | 21.18 | 20.04 | -1.14 | -5.38 |
ถ่านหินนำเข้า IPPs | บาท/ตัน | 2,108.45 | 2,718.64 | 70.19 | 3.33 |
ลิกไนต์ กฟผ. | บาท/ตัน | 693.00 | 693.00 | 0.00 | 0.00 |
*ราคาก๊าซฯ รวมค่าผ่านท่อและค่าดำเนิ
** ปรับปรุงโดยใช้ค่าจริงเดือน พ.ค. 60 แทนค่าประมาณการเดิม
สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริ
จากการปรับค่าเอฟทีเรียกเก็
เกี่ยวกับ กกพ.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน องค์กรหลักในการกำกับดูแลกิ
กกพ.เร่งศึกษาอัตราค่าบริการสายส่ง SPP-ทีดีอาร์ไอชงรัฐปรับโครงสร้างไฟฟ้าตามช่วงเวลาพีค
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวในงานเสวนา “สู่การเปิดเสรีโซลาร์รูฟท็อป : เราจะอยู่กับ disruptive technology อย่างไร” ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดขึ้นว่า ขณะนี้ กกพ. อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบอัตราค่าบริการสายส่งและจำหน่ายรองรับเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (เอสพีพี) และขายไฟกันเอง แทนการใช้บริการไฟฟ้าของรัฐบาลในบางช่วงเวลา ซึ่งจะเริ่มใช้กับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมก่อนแล้วจึงขยายผลไปยังครัวเรือนที่อยู่อาศัยในอนาคต โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ควบคู่กับการศึกษาการเรียกเก็บอัตราสำรองไฟฟ้า (แบ็กอัพ เรต) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปออกมาชัดเจนทันกับการปรับโครงสร้างค่าไฟฐานที่คาดจะเสร็จช่วงต้นปี 2561
นางสาววิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง “โซลาร์รูฟท็อปกับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจไฟฟ้า” ว่า แม้แนวโน้มธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) จะขยายตัวมากขึ้น ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทย (เออีดีพี) ที่ตั้งเป้าหมายประเทศไทยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นเพียง 2.4% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมดในปี 20 ปีข้างหน้า (ปี 2580) สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอจึงประเมินว่าภายใน 4-5 ปีนับจากนี้ ต้นทุนระบบโซลาร์และระบบกักเก็บพลังงานจะลดต่ำลงเร็วกว่าที่คิด และในระยะถัดไปจะมีปริมาณไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปเกิน 10% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด แต่ต้องยอมรับว่าภาพรวมโซลาร์รูฟท็อปยังมีความไม่แน่นอนสูง และมีข้อจำกัดไม่มีระบบกักเก็บพลังงานไว้ในเวลากลางคืน ขณะที่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เปลี่ยนจากกลางวันเป็นเวลากลางคืนเช่นกัน ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังคงต้องเตรียมลงทุนสายส่ง ระบบสำรองไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการตอนกลางคืนหรือสามารถปรับการผลิตได้รวดเร็ว เพื่อประกันว่ามีไฟฟ้าเพียงพอทุกเวลา ส่งผลกระทบต่อต้นทุน รายได้ของการไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าด้วย
“ทีดีอาร์ไอ จึงอยากเสนอให้ภาครัฐปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานบ่อยขึ้นเพื่อสะท้อนสถานการณ์ตลาดและเทคโนโลยี รวมถึงปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้สะท้อนประเภท และมูลค่าของต้นทุนการผลิตตามช่วงเวลาสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม เช่น อัตราค่าไฟฟ้าช่วงหัวค่ำหรือฤดูร้อนแพงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงฤดูหนาว ช่วยส่งเสริมให้ประหยัดพลังงานในช่วงพีค และขยายฐานไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือนขนาดใหญ่หรือกิจการขนาดเล็ก ลดปัญหารายได้ไม่เพียงพอสำหรับระบบสำรองไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้งควรอนุญาตให้ขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบได้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย