- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Saturday, 24 June 2017 23:58
- Hits: 7318
สั่งกฟผ.ทำ EHIA กระบี่ใหม่ ชง'อนันตพร'เพิ่มพลังงานทดแทน 2 พันเมก/ทุ่มงบลุยวิจัยอีวี
ไทยโพสต์ : บางกรวย * กฟผ.เผย สผ.สั่งทำอีเอชไอเอใหม่ทั้งหมด คาดใช้เวลาอีก 2 ปี ด้านผู้ประมูลชนะครั้งก่อนไม่ยืนยันราคาเดิม เตรียม ชง รมว.พลังงาน เพิ่มการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2,000 เมกะวัตต์ พร้อมจับมือ สวทช.ทุ่มงบกว่า 60 ล้านบาทวิจัยดัด แปลงรถเก่าให้เป็นอีวี
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่า การการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประ เทศไทย (กฟผ.) และโฆษก กฟผ. กล่าวว่า ขณะนี้ กฟผ.จะต้องเริ่มจัดทำกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ของโครงการท่าเทียบ เรือ และโรงไฟฟ้ากระบี่ ขนาด 800 เมกะวัตต์ หลังจากที่สำนัก งานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ยืนยันให้ กฟผ.ต้องเริ่มกระ บวนการใหม่ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในโครงการต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริษัท อิตัล ไทย มารีน จำกัด ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินโครงการท่าเทียบเรือ ไม่ยืนยันราคาก่อสร้างเดิมที่ 9,332 ล้านบาท และในส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วม พาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์เปอเรชั่น ออฟ ไชน่า และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินโครง การก่อสร้างโรงไฟฟ้า ยังไม่ได้ตอบกลับมา โดยโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่มีแนวโน้มล่าช้าออกไปเป็นเวลา 2 ปี และใช้เวลาก่อสร้างอีกราว 4 ปี ซึ่งอาจจะแล้วเสร็จในช่วงปี 67
นายสหรัฐ กล่าวว่า ต้นเดือน ก.ค.นี้ กฟผ.จะเสนอร่างแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียน จำนวน 2,000 เมกะวัตต์ ต่อ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว. กระทรวงพลังงาน เพื่อใช้พิจารณา ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ซึ่งเดิมมีการกำหนดเป้าหมายผลิตพลังงานรวมไว้ที่ 19,000 เมกะวัตต์ และ กฟผ.ต้องผลิต 500 เมกะวัตต์ ทั้งนี้การจะเสนอผลิตเพิ่มอยู่ที่กระ ทรวงจะเห็นชอบอย่างไร
ทั้งนี้ ในแผน 2,000 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย ไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล 598 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 56 เมกะวัตต์ ขยะมูลฝอยชุมชน 50 เมกะวัตต์ พลังความร้อนใต้พิภพ 2 เมกะวัตต์ น้ำ 165 เมกะวัตต์ ลม 230 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์ (โซลาร์) 900 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นโซลาร์ลอยน้ำ 554.31 เมกะวัตต์ โซลาร์ฟาร์ม 93.45 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มอีก 253.50 เมกะวัตต์
นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า ได้ลงนามในสัญญาร่วมวิจัยพัฒนาวิศวกรรม โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือดัดแปลง รวมกับศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มุ่งไปสู่การดัดแปลงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (อีวี)
โดยใช้รถยนต์เก่าที่มีเครื่อง ยนต์ที่เสื่อมสภาพมาเปลี่ยนให้เป็นรถอีวี ซึ่งการดำเนินโครง การขณะนี้อยู่ในระยะที่ 2 ระยะ เวลาระหว่างปี 2560-2563 ซึ่งจะใช้การวิจัยนาน 30 เดือน ใช้งบวิจัยทั้งสิ้น ประมาณ 60 ล้านบาท โดย กฟผ.สนับสนุนงบประมาณ 25 ล้านบาท และ สวทช.สนับสนุนงบประมาณ 35 ล้านบาท.
กฟผ.เตรียมเริ่มกระบวนการทำ EHIA โรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่คาดใช้เวลา 2 ปีก่อนเปิดประมูล
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ และโฆษก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ขณะนี้กฟผ.จะต้องเริ่มจัดทำกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโครงการท่าเทียบเรือ และโรงไฟฟ้ากระบี่ ขนาด 800 เมกะวัตต์ หลังจากที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ยืนยันให้กฟผ.ต้องเริ่มกระบวนการใหม่ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอย่าน้อย 2 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในโครงการต่อไป
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการสอบถามผู้ที่ชนะประมูลก่อสร้างโครงการพบว่า บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินโครงการท่าเทียบเรือ ไม่ยืนยันราคาก่อสร้างเดิมที่ 9,332 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มกิจการค้าร่วม พาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์เปอเรชั่น ออฟ ไชน่า และบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ยังไม่ได้ตอบกลับมา ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่มีแนวโน้มล่าช้าออกเพราะต้องเริ่มทำ EHIA ใหม่เป็นเวลา 2 ปี และใช้เวลาก่อสร้างอีกราว 4 ปี ซึ่งอาจจะแล้วเสร็จในช่วงปี 67
"ตาม process ตอนนี้กฟผ.ต้องเริ่มกระบวนการใหม่หมดเลย หลังจากได้รับความชัดเจนจากสผ.มาแล้ว การทำ EHIA ก็ต้องใช้เวลา 2 ปี ถ้านับหนึ่งวันนี้ ประมาณเดือนมิถุนายน 62 ก็จะแล้วเสร็จ หลังจากนั้นเสนอครม.อนุมัติสิ้นธันวาคม 62 ก็น่าจะได้รับการอนุมัติ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี...ที่ผ่านมาเรายังไม่เคยทำสัญญากับเอกชนที่ชนะการประมูลเพราะเรามีเงื่อนไขการสงวนสิทธิ์ออก LOI อย่างชัดเจนว่าจะออกเมื่อโครงการได้รับความเห็นชอบ EHIA แล้ว ที่ผ่านมาก็จะยืนยันราคาเดิมกับผู้ชนะการประมูลทุก 1 ปี ซึ่งล่าสุดโครงการท่าเทียบเรือก็ตอบกลับมาว่าเขายืนราคาเดิมไม่ไหวเพราะกว่าจะเริ่มโครงการใหม่ได้ก็ในช่วงปี 63"นายสหรัฐ กล่าว
นายสหรัฐ กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ในจ.สงขลานั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำ EHIA โดยตามแผนโครงการดังกล่าว จะมี 2 ระยะ โดยระยะแรก ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ เดินเครื่องผลิตไฟฟ้ากลางปี 64 และระยะที่ 2 อีก 1,000 เมกะวัตต์ เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าปี 67
อย่างไรก็ตามระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ กฟผ.ก็ยังอยู่ระหว่างศึกษาก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ 3 ขนาด 800 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นของภาคใต้ด้วย
อินโฟเควสท์