WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

oil6 1ราคาน้ำมันดิบปรับลดหลังตลาดกังวลเกี่ยวกับสต๊อกเบนซินที่ปรับลดน้อยกว่าคาด และผลการประชุม OPEC/Non-OPEC'

 +/- ตลาดยังคงจับตามองผลการประชุมระหว่างกลุ่มประเทศโอเปก (OPEC) และประเทศผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก (Non-OPEC) ว่าด้วยเรื่องการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตต่อไปอีกราว 9 เดือน โดยการประชุมจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 พ.ค. ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

  - BMI Research ออกรายงานคาดการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC และ Non-OPEC เพียงช่วยพยุงในตลาดน้ำมันดิบสมดุลในปี 2560 แต่ในปี 2561 ตลาดน้ำมันดิบโลกจะกลับมาเผชิญกับสภาวะอุปทานล้นตลาดอีกครั้งหากสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากหินดินดาน (Shale Oil) อย่างต่อเนื่องและคาดว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยจะอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2556-2559

  +/- Goldman Sachs แนะนำรูปแบบการกำหนดราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า (Oil Future Price Curve) เป็นแบบถดถอย (Backwardation) เพื่อป้องกันการแข่งขันกันผลิตน้ำมันดิบระหว่างกลุ่ม OPEC และสหรัฐฯ เนื่องจาก Backwardation จะทำให้กลุ่ม OPEC สามารถขายน้ำมันดิบอิงราคาตลาดโลกซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาน้ำมันดิบจาก Shale Oil ที่อิงราคาตลาดน้ำมันดิบล่วงหน้า (Future Market) เป็นการแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้อย่างลงตัว

     ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย หลังได้รับแรงกดดันจากการกลับมาดำเนินการผลิตของโรงกลั่นในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังได้คงได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ยังแข็งแกร่งในภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย

 ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากการผลิตที่ปรับตัวลดลงในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงกดดันจากการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

       จับตาประชุมของผู้ผลิตทั้งในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 24 – 25 พ.ค. ว่าจะมีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการ ผลิตออกจากเดิมหรือไม่ หลังซาอุดิอาระเบียและรัสเซียสนับสนุนให้ขยายระยะเวลาของข้อตกลงออกไปอีก 9 เดือนจนถึง มี.ค. 61 จากเดิมที่สิ้นสุดในเดือน มิ.ย. 60 เพื่อให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังส่วนเกินปรับลดลงมาสู่ระดับสมดุลที่ระดับค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปี และเพื่อให้ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ประเทศอื่นในกลุ่มโอเปกได้แก่ คูเวต อิหร่าน และเวเนซุเอลา ได้กล่าวสนับสนุนต่อข้อตกลงดังกล่าวเช่นกัน

       ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการกลั่นขึ้นมาสู่สูงสุดในรอบ 5 ปีสำหรับช่วงเวลานี้ที่ร้อยละ 93.4 เพื่อรองรับความต้องการน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 12 พ.ค. 2560 ปรับลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 520.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นการปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน

      ตลาดยังคงกังวลกับการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากการเปิดดำเนินการของแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Sharara และ El Feel ส่งผลให้กำลังการผลิตของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงสิ้นเดือน เม.ย. 60 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตของลิเบียคาดจะปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเร็วนี้และคาดจะปรับขึ้นมาอยู่ระหว่าง 1.1 – 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากสามารถแก้ไขสถานการณ์ขัดแย้งภายในประเทศลงได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!