WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ERCวระพล จรประดษฐกลกกพ.ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการ-สหกรณ์ฯระยะ 2 รวม 219 MW จับสลาก 26 มิ.ย.นี้

      คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกประกาศจัดหาไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร ระยะที่ 2 จำนวนไม่เกิน 219 เมกะวัตต์ (MW) ในอัตรารับซื้อแบบ FiT 4.12 บาท/หน่วย เดินหน้าตามแผนนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และเพื่อการปฏิรูปด้านพลังงานของประเทศ โดยเปิดให้ยื่นคำขอเป็นเจ้าของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค.-2 มิ.ย.60 และกำหนดวันจับสลากคัดเลือกในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิขย์ (SCOD) ไม่เกิน 30 มิ.ย.61

     นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกของ กกพ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดหาไฟฟ้าโครงการโซลาร์ฟาร์ม สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร ระยะที่ 2 ว่า ภายหลังที่ กกพ. ได้ออกระเบียบการจัดหาไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ. 2560 และตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 13 ส.ค.58 กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ของโครงการ ในระยะที่ 2 ไม่เกินวันที่ 30 มิ.ย.61 สำหรับพื้นที่ที่เหลือ โดยขณะนี้ กกพ. ได้ออกประกาศและหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการดังกล่าว ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย.60

     สำหรับ ระยะที่ 2 กกพ. จะกำกับการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT โดยมีเป้าหมายปริมาณไฟฟ้ารวมทุกเขตพื้นที่ไม่เกิน 219 เมกะวัตต์ จากที่คงเหลือจากการจัดหาในระยะที่ 1 และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์  ไม่เกินวันที่ 30 มิ.ย.61  ซึ่งหน่วยงานราชการสามารถเสนอได้ 1 โครงการ ต่อ 1 ส่วนงานต่อ 1 พื้นที่ เช่นเดียวกันกับสหกรณ์ภาคการเกษตรเสนอได้ 1 โครงการและต้องไม่เป็นสหกรณ์ที่ผ่านการคัดเลือกที่มีสิทธิเข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าตามประกาศ กกพ. เมื่อวันที่ 26 เม.ย.59

    ๆ โดยแต่ละโครงการสามารถเสนอได้ต้องมีขนาดกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ สำหรับอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของโครงการนี้มีระยะเวลา 25 ปี และจะได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in Tariff (FiT) ที่ 4.12 บาท/หน่วย และต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายภายในวัน SCOD  ซึ่งต้องทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 120 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผล หากไม่เข้าทำสัญญาภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก

     กกพ. ได้แบ่งเป้าหมายการจัดหาไฟฟ้า สำหรับหน่วยงานราชการ ไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 25 เมกะวัตต์,ภาคกลาง 5 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันตก 15 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันออก 10 เมกะวัตต์ ,ภาคเหนือ 5 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 เมกะวัตต์ และภาคใต้ 20 เมกะวัตต์ สำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตร ไม่เกิน 119 เมกะวัตต์ ได้แก่ ภาคเหนือ 19 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 เมกะวัตต์ และภาคใต้ 50 เมกะวัตต์

     "การคัดเลือกในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก กกพ. จะพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของโครงการรวมถึงความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร ศักยภาพระบบไฟฟ้าในเขตพื้นที่ที่ตั้งโครงการ เมื่อได้ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว กกพ. จะใช้วิธีการจับสลาก เพื่อให้ได้ผู้ผ่านการคัดเลือกดำเนินการหาผู้ร่วมลงทุนโครงการของหน่วยงานราชการ หรือผู้สนับสนุนโครงการของสหกรณ์ภาคการเกษตร  เพื่อมายื่นคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าในขั้นตอนที่สอง โดยกกพ.จะพิจารณาในรายละเอียดของคุณสมบัติผู้ร่วมลงทุนโครงการและผู้สนับสนุนโครงการ ได้แก่ ที่ตั้งโครงการ ทุนในการดำเนินโครงการ เทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินโครงการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง"นายวีระพล กล่าว

      กำหนดการในการจัดหาไฟฟ้า สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตรที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของโครงการ สามารถตรวจสอบจุดเชื่อมโยงระบบไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ได้ตั้งวันที่ 8-19 พ.ค.60 ,ให้ยื่นคำขอเป็นเจ้าของโครงการระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-2 มิ.ย. 60 ,ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของโครงการ วันที่ 5-13 มิ.ย.60 ,ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการตรวจคุณสมบัติผู้ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของโครงการ วันที่ 14 มิ.ย.60 ,คัดเลือกผู้ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของโครงการที่ผ่านการตรวจคุณสบัติ (โดยวิธีการจับสลาก) วันที่ 26 มิ.ย.60 ,ประกาศผลการจับสลาก วันที่ 28 มิ.ย.60 ,ผู้ผ่านการคัดเลือกยื่นคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า วันที่ 29 มิ.ย.-9 ต.ค.60 ,ประชุมชี้แจงสำหรับผู้สนับสนุนโครงการและผู้ร่วมลงทุนภายในเดือนก.ค.60 ,พิจารณาคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า วันที่ 9 ส.ค.-31 ต.ค.60 และประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา วันที่ 3 พ.ย.60 และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในวันที่ 2 มี.ค.61 ขณะที่ต้องจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ไม่เกินวันที่ 30 มิ.ย.61

กกพ.ออกประกาศปรับปรุงข้อมูลศักยภาพระบบไฟฟ้าของโซลาร์ฟาร์ม กลุ่มราชการและสหกรณ์ฯระยะที่ 2

     นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า เนื่องจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ขอปรับปรุงข้อมูลศักยภาพของระบบไฟฟ้า (Grid Capacity) ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลการจัดสรรการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนเชิงพื้นที่ (RE Zoning) ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยยกเลิกข้อมูลศักยภาพของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออก Zone E2 และปรับปรุงข้อมูลศักยภาพของระบบไฟฟ้าในภาคเหนือ Zone N5 จากเดิม 5 เมกะวัตต์ เป็น 15 เมกะวัตต์ แทน ทั้งนี้ กกพ. ได้ออกประกาศในโครงการนี้ เป็นฉบับที่ 2 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค.60 ซึ่งได้นำเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ. แล้ว

    สำหรับความพร้อมการจัดประชุมชี้แจงโครงการนั้น สำนักงาน กกพ. ได้กำหนดจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 15 พ.ค. 60 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (ชั้น 4) อาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ประสงค์จะเป็นเจ้าของโครงการ รวมถึงผู้ร่วมลงทุนโครงการ และผู้สนับสนุนโครงการ ได้รับทราบความก้าวหน้า รายละเอียดของหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินงาน และที่สำคัญเพื่อให้มีความเข้าใจและมีข้อมูลพร้อมที่จะสามารถวางแผนการทำงานเพื่อเตรียมการเข้ามายื่นคำขอเป็นเจ้าของโครงการได้ต่อไป ดังนั้น จึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียน เข้าร่วมงานได้ที่ www.erc.or.th ได้ตั้งแต่วันที่ 8 – 12 พ.ค.60 ภายในเวลา 16.00 น. หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-207-3599 และ Call Center 1204

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!