- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 13 August 2014 23:22
- Hits: 3015
พพ. แย้มข่าวดี ความร่วมมือส่งเสริมพลังงานทดแทนไทย สหรัฐชื่นมื่น ชี้เกิดกรอบความร่วมมือ 3 ด้านสำคัญ
พพ. แย้มข่าวดี ความร่วมมือส่งเสริมพลังงานทดแทนไทย สหรัฐชื่นมื่น ชี้เกิดกรอบความร่วมมือ 3 ด้านสำคัญ พร้อมส่งไทยเดินหน้าผลิตพลังงานชีวภาพ พัฒนาเทคโนโลยีแบตตารี่ และวางแผนระบบ Smart grid ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนไทยก้าวไกลในอนาคต
นายทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงพลังงานได้จัดการประชุมความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน (Thai – U.S. Dialogue on Renewable Energy Cooperation) โดยถือเป็นการต่อยอดความร่วมมือเพิ่มขึ้นกับสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพของไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาหรือ ATPAC(Association of Thai Professionals in America –Canada) ที่ได้จัดสัมมนาประจำปีกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกา(US Department of Energy) เข้าร่วมด้วย โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสในการหารือแลกเปลี่ยนความรู้ครั้งสำคัญระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา นักวิจัยและภาคเอกชนเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนของไทยในอนาคต
ทั้งนี้ สาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในส่วนที่ประเทศไทยสนใจ และคาดว่าสหรัฐอเมริกาจะสามารถให้การสนับสนุนได้นั้น ภายหลังการประชุมหารือเบื้องต้นได้กรอบแนวคิดความร่วมมือ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.) ประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานชีวภาพ (Bio Energy)ประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่าย และเอทานอลจากฟางข้าว 2.) กรอบแนวทางความร่วมมือกันในเรื่องเทคโนโลยีการสะสมพลังงาน(Energy storage) หรือการพัฒนาระบบแบตตารี่ โดยสหรัฐถือเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านแบตตารี่ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก และหากมีการศึกษาร่วมกันจริงจัง จะทำให้ไทยได้ประโยชน์เพราะระบบสะสมพลังงานนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนในอนาคต3.) ความร่วมมือในระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ(Smart grid) ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานในประเทศไทยอยู่ในระยะเริ่มต้นร่างแผนแม่บทโครงการเพื่อวางแผนใช้ระบบSmart grid นี้ในอนาคต แต่ในสหรัฐ มีความก้าวหน้าในเรื่อง Smart gridดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และปัจจุบันเริ่มทดสอบการใช้ระบบต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงเห็นควรให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ ของระบบSmart grid นี้ โดยสหรัฐพร้อมจะชวนให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นเครือข่ายISGAN หรือเครือข่าย Smart gridระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยให้ไทยได้เชื่อมโยงความรู้ด้าน Smart grid จากสหรัฐและทั่วโลกมาไทยได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น่
นอกจากนี้ ในการประชุม ฯ ครั้งนี้ ยังมีเรื่องสำคัญอีกประการคือ การระดมความเห็นในเรื่องโรงกลั่นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Refinery) โดยใช้เทคโนโลยีครบวงจรแบบใหม่ และถือเป็นเทคโนโลยีซึ่งประเทศไทยให้ความสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งสหรัฐได้พัฒนาต่อยอดจนประสบความสำเร็จแล้ว 4 แห่ง โดยเฉพาะที่รัฐแคนซัส ที่มีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากข้าวโพด และอ้อยแบบครบวงจร โดยมีข่าวดีว่า หากนักวิจัย และภาคเอกชนไทยสนใจแนวคิดนี้ ทางATPAC พร้อมจะจัดให้มีการเยี่ยมชมเทคโนโลยีเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยคาดว่าการเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศสหรัฐครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพของไทยที่มีศักยภาพมาก
ระดมองค์ความรู้เทคโนโลยีระบบรางครั้งแรกในประเทศไทย สวทน.เชิญร่วมงานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 (Thailand Rail Academy Symposium 2014) วันที่ 28-29 สค. นี้
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (THAIST) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญร่วมงานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 (Thailand Rail Academy Symposium 2014) ภายใต้ธีม “การพัฒนาระบบขนส่งทางรางกับการปฏิรูปประเทศ (Rail Development for National Reform) ในวันที่ 28 – 29 สิงหาคม 2557 (8.30 -16.30 น.) ณ ห้องบอลรูม และห้องกฤษณา ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ถ.รัชดาภิเษก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สุระพลกำธร ผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (THAIST) สวทน.กล่าวว่า งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 (Thailand Rail Academy Symposium 2014) นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในการจัดระดมสมองและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขนส่งทางรางครั้งใหญ่ในรอบปี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานความรู้ถ่ายทอด/พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีในประเทศไทยและสร้างบุคลากรของไทยเพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางราง อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและประเทศชาติ สร้างอนาคตและและสังคมที่ยั่งยืน โดยเสริมฐานความรู้และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงไทยเข้าสู่โครงข่ายคมนาคมอาเซียนกับชุมชนโล
งานนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คืองานส่วนที่ 1.งานประชุมวิชาการแห่งชาติ ณ ห้องบอลรูม เปิดเวทีวิชาการระดับประเทศ โดยวิทยากรซึ่งเป็นกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางชั้นนำ จากต่างประเทศและในประเทศ มาถ่ายทอดประสบการณ์ตรง และแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็น รวมทั้งกรณีศึกษาของระบบขนส่งทางรางที่ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งชมนิทรรศการเทคโนโลยีล่าสุด...ระบบขนส่งทางรางจากนานาประเทศ งานส่วนที่ 2. RAIL Best JOB Opportunities ณ ห้องกฤษณา เปิดเวทีนักศึกษาพบกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง สัมผัสเรื่องน่ารู้ในวิชาชีพการทำงานด้านระบบขนส่งทางราง ชมนิทรรศการผลงานวิจัยจาก 30 ทีมเยาวชน และมอบรางวัลการประกวดนวัตกรรมวิศวกรรมระบบราง ติดต่อรายละเอียด จำนวนที่นั่งมีจำกัด โปรดลงทะเบียนก่อนวันงาน ได้ที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง โทร. 02-160-5432 ต่อ 505, 506, 509 หรือ Email: [email protected]
สำหรับหัวข้อการประชุมวิชาการและวิทยากร มี 2 วัน คือ
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2557
- พิเศษเรื่อง การพัฒนาระบบขนส่งทางรางเพื่อการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- Railway transportation and land use planning: A case of California HSR โดย Professor Robert Cervero, , Department of City and Regional Planning, University of California, Berkeley
- เสวนาเรื่อง บทบาทของระบบรางต่อการหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง โดย Professor Robert Cervero, คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร, ดร. สมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการกองวิชาการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. เอกชัย สุมาลี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
- เสวนาเรื่อง ประสบการณ์ด้านการจัดการระบบรางในประเทศไทยและการเปลี่ยนแปลง โดย ดร.เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว (อดีต) รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ดร.อาณัติ อาภาภิรม ประธานกรรมการฝ่ายจัดการ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ, ผศ.ดร. พนิต ภู่จินดา อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย ดร. เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557
- บรรยาย หัวข้อ Railway Development: a case of Korea by Mr. Choi Jin Yu, Director General, Korea Railroad Research Institute (KRRI)
- เสวนาเรื่อง นวัตกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางราง โดย ดร.พิเชษฐ์ คุณาธรรมรักษ์ ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร, คุณศรายุธ ทองยศ ผู้จัดการโครงการสายงานธุรกิจก่อสร้างทางรถไฟ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, คุณสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จํากัด, คุณธวัชชัย สินธพเลิศชัยกุล ตำแน่งผู้จัดการโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้แทนแบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ดร. รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ผู้อำนวยการสถานแห่งความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร
- เสวนาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ: ศูนย์ซ่อมบำรุง สถานี และการเดินรถ โดย ผู้เชี่ยวชาญจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน),บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ดำเนินรายการโดย : คุณมานะชัย วัฒนหัตถกรรม Technical Director – Thailand DB International GmbH
- เสวนาเรื่อง วิศวกรรมล้อเลื่อน (Rolling Stock) โดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง เช่น บมจ. ช.ทวี ดอลลาเซียน, Senior project manager for Rolling stock บริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่นซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินรายการโดย ดร. ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงษ์ ประธานสาขาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- บรรยายเรื่อง การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านระบบขนส่งทางราง โดย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และคุณนคร จันทศร ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อดีตรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย