WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL19ราคาน้ำมันดิบปรับลดเกือบร้อยละ 4  หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

       - ราคาน้ำมันดิบปรับลดหลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงน้อยกว่าคาด ประกอบกับนักลงทุนมีความกังวลในเรื่องของปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

       - สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย. ปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 1 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 532.3 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับตัวลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ยังปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล แม้ว่าจะใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของสหรัฐฯ ส่งผลให้นักวิเคราะห์บางรายเกิดความกังวลว่าความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ อาจจะไม่แข็งแกร่งอย่างที่คาดการณ์ไว้

     - ตลาดมีความกังวลว่า ปริมาณน้ำมันโลกจะยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิตได้ตามเป้าหมายที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยล่าสุด การผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 9.252 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 58

       +/- ผู้เล่นในตลาดต่างจับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 พ.ค. ที่กรุงเวียนนาว่า ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกจะตัดสินใจขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันต่อไปยังช่วงครึ่งปีหลังหรือไม่

      ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังเอเชียส่งออกน้ำมันเบนซินไปยังตะวันออกกลางมากขึ้น ส่งผลให้ภาพอุปทานในภูมิภาคล้นตลาดเริ่มคลี่คลายลง

       ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยรับแรงหนุนจากอุปทานที่ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากโรงกลั่นภายในภูมิภาคปิดซ่อมบำรุง

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

               ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

               ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

       จับตาการประชุมของผู้ผลิตระหว่างกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกในเร็วนี้ว่าทิศทางการปรับลดกำลังการผลิตหรือกลุ่มผู้ผลิตจะเป็นอย่างไรและจะมีการหารือถึงการขยายระยะเวลาของมาตรการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ โดยในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปกทั้ง 13 ประเทศปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือน ก.พ. นำโดยการปรับลดลงของลิเบียหลังเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เริ่มปรับลดตามข้อตกลงมากขึ้น ขณะที่ซาอุดิอาระเบียยังคงกำลังการผลิตในระดับต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันกว่า 3 เดือนติดต่อกัน สำหรับปริมาณการผลิตนอกกลุ่มโอเปก นำโดยรัสเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลงและคาดว่าจะปรับลดลงได้ตามเป้าหมายในสิ้นเดือน เม.ย.

      การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่องมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 11 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 683 แท่น นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 13 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยกว่า 2 ใน 3 ของการปรับเพิ่มขึ้นมาจากแหล่งผลิต Permian ที่มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!