- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 07 April 2017 23:41
- Hits: 16414
ราคาน้ำมันดิบปรับลด จากความไม่แน่นอนในการต่อระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิต
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน หลังโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ได้เร่งกำลังการผลิตน้ำมันขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 90.8 เพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากระดับปริมาณน้ำมันน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากรายงานของ EIA พบว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.57 ล้านบาร์เรลขึ้นมาแตะระดับ 535.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นอกจากนี้ การส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 370,000 บาร์เรลต่อวัน ขึ้นไปแตะระดับ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังมีส่วนต่างราคาน้ำมันดิบในภูมิภาคตะวันออกกลางและสหรัฐฯ ส่งผลทำให้มีการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการส่งออกน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ สูงเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 342,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการส่งออกน้ำมันดิบไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้อีกด้วย
- มากไปกว่านั้น การผลิตน้ำมันดิบจากโครงการ Syncrude Oil Sand ใน Alberta มีกำหนดการที่จะกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ หลังจากได้หยุดดำเนินการผลิตไปจากเหตุการณ์ไฟไหม้ ทั้งนี้โครงการ Syncrude Oil Sand มีกำลังการผลิต 350,000 บาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ อย่างไรก็ตามยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับประเทศจีนมีการกำหนดโควต้าการส่งออกน้ำมันเบนซินที่ลดลง และการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในไต้หวัน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ลดลงในภูมิภาคเอเชีย หลังโรงกลั่นหลายแห่งมีการปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะส่งออกน้ำมันดีเซลลดลง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง หลังผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์เผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกทั้ง 13 ประเทศปรับลดลงราว 230,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบกับตัวเลขในเดือนก.พ. มาอยู่ที่ระดับ 32.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน นำโดยการปรับลดลงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งปรับลดตามข้อตกลงลดกำลังการผลิตและการปิดซ่อมบำรุงของแหล่งผลิตน้ำมันดิบ เหตุการณ์ความไม่สงบในลิเบีย และการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันดิบของไนจีเรีย นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากข่าวการขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 โดยล่าสุดผู้ผลิตหลายรายทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกสนับสนุนข้อตกลงนี้
สถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศลิเบียมีแนวโน้มคลี่คลายลง หลังมีการประกาศยกเลิกเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) ณ ท่าขนส่งน้ำมันดิบ Zawiya ซึ่งเป็นท่าขนส่งของแหล่งน้ำมันดิบ Sharara และ Wafa ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 600,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ รัฐบาลยังเป้าหมายที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตของลิเบียไปสู่ระดับ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในเดือนเม.ย.
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดลง เนื่องจากอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 90.8 หลังโรงกลั่นกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง และเพิ่มอัตราการกลั่นเพื่อรองรับอุปสงค์น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงฤดูขับขี่ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ไม่ได้ปรับลดตามที่คาดไว้
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
6 เม.ย. 17 เปลี่ยนแปลง
เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.0642 0.0642
ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 20662.95 14.80
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 34.06 27.25 26.98 24.74 19.54 25.89
หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซล เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ปรับเพิ่ม 40 สต./ลิตร เว้นแก๊สโซฮอล์อี 85 ปรับเพิ่ม 20 สต./ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 06 เม.ย.
ราคาน้ำมันเป็นราคาขายปลีก กทม. และปริมณฑล ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่น
ราคาน้ำมันตลาดจร 6/4/17 Change
โอมาน 52.91 -0.33
ทาปิส 54.02 -0.20