- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 24 March 2017 17:10
- Hits: 19485
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อเนื่อง ใกล้แตะระดับต่ำสุดในรอบสี่เดือน หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คงอยู่ในระดับสูง
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ใกล้แตะระดับต่ำสุดในรอบสี่เดือน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกอาจไม่สามารถช่วยให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง ให้ปรับตัวลดลงได้
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 17 มี.ค 60 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 533 ล้านบาร์เรล แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 บาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า
- นักวิเคราะห์ มองว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับประเด็นปัญหาในเรื่องของความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก จะยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบ ไม่ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยแนวต้านสำหรับน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ที่ 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
+ ซาอุดิอาระเบียคาดว่าปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบไปยังสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. มีแนวโน้มปรับตัวลดลง 300,000 บาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับการที่ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลง
+ นักลงทุนต่างจับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกที่จะมีขึ้นช่วงสุดสัปดาห์นี้ ที่คูเวต ที่คาดว่าผู้ผลิตจะเจรจาในเรื่องของความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาด อย่างไรก็ตาม ความต้องการจากอินโดนีเซียยังคงเงียบเหงา แม้ว่าปกติความต้องการจากอินโดนิเซียจะเพิ่มขึ้นก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูกาลถือศีลอด
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีส่งออกน้ำมันดีเซลมายังสิงคโปร์ ถึงแม้เป็นช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่่น่าจับตามอง
จับตาการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 25–26 มี.ค. ว่ากลุ่มโอเปกจะมีมาตรการในการควบคุมการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่ โดยล่าสุด การประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 มี.ค. รายงานว่า กลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตในเดือนก.พ. ได้ร้อยละ 106 ซึ่งมากกว่าเดือน ม.ค. ที่ปรับลดลงได้ร้อยละ 93 เนื่องจากซาอุดิอาระเบียคงกำลังการผลิตในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันและกำลังคาดผลิตคาดจะปรับลดลงต่อเนื่องในเดือน มี.ค. ภายหลังจากอิรักและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันดิบ
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบต่อเนื่อง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูงสุดในประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 17 มี.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 5.0 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 533.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับสูง