WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OPECราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อเนื่อง หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 5 ล้านบาร์เรล ไปสู่ระดับสูงสุดในรอบประวัติการณ์

  - ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อเนื่อง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มี.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาร์เรล ไปสู่ระดับสูงสุดในรอบประวัติการณ์ที่ 533.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล โดยสาเหตุหลักมาจากการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบในประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล   

  - การผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าในปีก่อนหน้าที่เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 8.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลกังวลต่อนักลงทุน แม้ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงครึ่งปีแรกก็ตาม

  -  ตลาดหุ้นปิดลบ จากความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจประสบความล่าช้า หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประสบปัญหาในการรวบรวมเสียงสนับสนุนของสมาชิกพรรครีพับลิกันในการยกเลิกโครงการโอบามา แคร์

  - ยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐฯ เดือน ก.พ. 60 ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ไปสู่ระดับ 5.48 ล้านยูนิต ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ หลังจากพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ในเดือน ม.ค. 60 ถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

        ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคค่อนข้างทรงตัว ประกอบกับสถานการณ์อุปทานที่ล้นตลาดเริ่มคลี่คลายลง โดยเฉพาะในเอเชียเหนือ และอินเดีย

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในศรีลังกา เวียดนาม และมาเลเซียที่ยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากอุปทานน้ำมันดีเซลที่ปรับลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  จับตาการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 2526 มี.ค. ว่ากลุ่มโอเปกจะมีมาตรการในการควบคุมการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่ โดยล่าสุด การประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 มี.ค. รายงานว่า กลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตในเดือนก.พ. ได้ร้อยละ 106 ซึ่งมากกว่าเดือน ม.ค. ที่ปรับลดลงได้ร้อยละ 93 เนื่องจากซาอุดิอาระเบียคงกำลังการผลิตในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันและกำลังคาดผลิตคาดจะปรับลดลงต่อเนื่องในเดือน มี.ค. ภายหลังจากอิรักและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันดิบ

  การผลิตน้ำมันดิบของลิเบียคาดจะปรับตัวลดลงราว 100,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ในระดับ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ภายหลังจากเหตุความไม่สงบภายในประเทศในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Es Sider และ Ras Lanuf ปรับลดลง แม้ว่าล่าสุดกลุ่ม Libyan National Army สามารถควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้แล้วแต่ความตึงเครียดปรับเพิ่มมากขึ้นหลังข้อตกลงในการรวมบริษัทน้ำมันแห่งชาติสิ้นสุดลง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!