WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL43ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 20-24 มี.ค. 60 และสรุปสถานการณ์ฯ 13-17 มี.ค. 60

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ( 20 - 24 มี.ค. 60)

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินมีแนวโน้มปรับลดลง จากการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกที่คาดจะเพิ่มมากขึ้นในเดือนนี้ โดยเฉพาะจากอิรักและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะมีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันดิบ ประกอบกับการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียที่มีแนวโน้มปรับลดลงหลังเผชิญกับปัญหาความไม่สงบในประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในระดับสูงและปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  จับตาผลการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 26 – 27 มี.ค. ว่ากลุ่มโอเปกจะมีมาตรการในการควบคุมการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่ โดยในรายงานประจำเดือน ก.พ. ผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกสามารถปรับลดกำลังการผลิตได้ราวร้อยละ 111 ของข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่าในเดือน ม.ค. ที่ปรับลดกำลังการผลิตลงได้ร้อยละ 93 เนื่องจากซาอุดิอาระเบียคงกำลังการผลิตในระดับที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันและกำลังผลิตคาดจะปรับลดลงต่อเนื่องในเดือน มี.ค. ภายหลังจากอิรักและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันดิบ ซึ่งสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดผลของการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินลดลงประมาณ 500,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560

  ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาสูงกว่าระดับ 9.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม การนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงโดยเฉพาะจากประเทศในกลุ่มโอเปกช่วยสนับสนุนให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับเพิ่มขึ้นในอัตราจำกัด โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 10 มี.ค. 60 ปรับลดลง 2 แสนบาร์เรล มาสู่ระดับ 528.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 3.7 ล้านบาร์เรล

  การผลิตน้ำมันดิบของลิเบียคาดจะปรับตัวลดลงราว 100,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ในระดับ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ภายหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Es Sider และ Ras Lanuf ปรับลดลง แม้ว่าล่าสุดกลุ่ม Libyan National Army (LNA) สามารถควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้แล้วและเดินหน้าโจมตีกลุ่ม Benghazi Defence Brigades (BDB) ทางอากาศอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ความตึงเครียดเริ่มเพิ่มมากขึ้นหลังข้อตกลงในการรวมบริษัทน้ำมันแห่งชาติสิ้นสุดลงและรัฐบาลทางฝั่งตะวันออกมีแนวคิดที่จะไม่สนับสนุนข้อตกลงดังกล่าว

  ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าราคาน้ำมันดิบปรับลดลงใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนแท่นขุดเจาะที่ปรากฎในเดือนนี้เป็นผลจากการตัดสินใจเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อราคาน้ำมันดิบอยู่เหนือระดับ  50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และล่าสุด Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 14 แท่น มาอยู่ที่ 631 แท่น ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 58

     ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน ดัชนีภาคการผลิตและบริการสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (13 - 17 มี.ค. 60)

  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 48.78  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 0.38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 51.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบ ปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัญฯ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับ รายงานของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) เผยว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วปรับเพิ่มขึ้นในเดือนม.ค. 60 เป็นเดือนแรก นับตั้งแต่เดือน ก.ค. 59 โดยปรับเพิ่มขึ้นราว 48 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 3.03 พันล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงราว 237,000 บาร์เรล สวนทางกับที่นะกวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นถึง 3.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศโอเปกปรับลดลง นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากการที่ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกสามารถทำตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!