WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AMATA MOU

กระทรวงพลังงาน ลงนาม MOU ร่วมกับ AMATA สร้างเมืองอัจฉริยะ Smart City ในนิคมฯอมตะนคร

      พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ‘การขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)’ระหว่างกระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และบมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA) ว่า จากความร่วมมือในครั้งนี้ ได้สอดคล้องตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อก้าวสู่ Thailand 4.0 โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย Energy 4.0 หนึ่งในมาตรการสำคัญคือเรื่องของการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พร้อมทั้งภาคเอกชน โดยอมตะ ต้องการพัฒนาพื้นที่โครงการให้มีความสมดุลและยั่งยืน ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

       พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นคุณค่า กระทรวงพลังงาน จึงมีแผนที่จะขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศด้วยแนวนโยบาย Energy 4.0 ให้สอดรับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมาย คือ การสร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ

       โดยแบ่งการขับเคลื่อนออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับประเทศ จะมุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศ เพื่อให้มีความทันสมัยและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อต่อยอดธุรกิจพลังงานของประเทศให้เติบโต และระดับชุมชน/ประชาชน จะมุ่งเน้นการสร้างรายได้ และลดรายจ่ายให้กับประชาชนและชุมชน ผ่านโครงการประชารัฐ การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม การดำเนินโครงการพลังงานชุมชน และการส่งเสริมด้านพลังงานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

       ในส่วนของการออกแบบเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นอีก 1 มาตรการในแนวนโยบาย Energy 4.0 ที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถลดความต้องการใช้พลังงาน และลดการใช้พลังงานสูงสุดได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก สร้างรายได้ให้กับประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

       โดยกระทรวงพลังงาน และ อมตะ ตกลงร่วมกันที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อให้ได้ผลศึกษาและแนวทางการยกระดับการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในนิคมอมตะนครให้เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม โดยสนพ. ในฐานะผู้แทนกระทรวงพลังงาน จะให้ความร่วมมือในการให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทาง การดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงาน และร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ รวมทั้งรับการถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากทีมผู้เชี่ยวชาญจากเมือง Yokohama Smart City ประเทศญี่ปุ่น ที่ อมตะ ได้มีการสร้างความร่วมมือไว้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยต่อไป

        นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสนพ.และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สนพ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ รองรับการเติบโตของเมือง เมืองอัจฉริยะถือเป็นมิติหนึ่งของการพัฒนาแบบยั่งยืน ที่มีรูปแบบของการบูรณาการ การวางผังเมือง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาเมืองเป็นห่วงโซ่คุณค่าสีเขียว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขพลามัยที่ดี ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการบริโภคทรัพยากรที่ลดลง ทำให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีมากขึ้น นอกจากความร่มมือกับ อมตะ แล้ว สนพ. ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) และได้เปิดตัวโครงการไปเมื่อปี 2559 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดการเรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัวสู่ทิศทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

        จากการร่วมมือกับ อมตะ ในครั้งนี้ จะเป็นการร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล และผลการศึกษา/วิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้กำหนดนโยบายเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศ นอกจากนี้ สนพ.ยังได้เสนอชื่อ อมตะ เข้าร่วมโครงการ APEC Low-Carbon Model Town ภายใต้คณะทำงานพลังงาน เพื่อเป็นเมืองต้นแบบให้แก่การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำอื่นๆ ต่อไป โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ ทั้งนี้ หาก อมตะ ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนในเรื่องข้อมูล การวิเคราะห์ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และการสนับสนุนทางการเงินจาก APEC ซึ่งจะส่งเสริมให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของ อมตะ มีความรอบด้านมากยิ่งขึ้น

        ด้านนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ AMATA ผู้นำในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทยและประเทศเวียดนามเปิดเผยว่า ความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นรูปแบบความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership)หรือ PPP ที่มีเป้าหมายในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองอัจฉริยะสมบูรณ์แบบ ที่จะมีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกำหนดพื้นที่พัฒนาที่ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ที่เป็นกลไกลหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0

      เนื้อหาในบันทึกความเข้าใจนี้ครอบคลุมการพัฒนาในด้านสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ 1) พลังงานอัจฉริยะ Smart Energy 2) การสัญจรอัจฉริยะ Smart Mobility 3) ชุมชนอัจฉริยะ Smart Community 4) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ Smart Environment 5) เศรษฐกิจอัจฉริยะ Smart Economy 6) อาคารอัจฉริยะ Smart Building 7) การบริหารจัดการเมืองแบบอัจฉริยะ Smart Governance และ 8) นวัตกรรมอัจฉริยะ Smart Innovation

    อมตะ พร้อมก้าวเข้าสู่ เมืองอัจฉริยะชั้นของประเทศ ภายใต้แนวคิด ALL WIN ที่พร้อมสนับสนุน EEC และไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ผู้ประกอบการในนิคมฯ มีขีดความสามารถในการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน เชื่อว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะทำให้อมตะ เป็นต้นแบบ Smart City ให้กับพื้นที่อื่นในประเทศไทย ที่สามารถเปลี่ยนจากแนวคิดนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

       ปัจจุบันอมตะมีโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ 100 เมกะวัตต์ กับบริษัทStumpf Energy จากยุโรปโครงการตรวจสอบการจราจรอัจฉริยะกับ บริษัท AAPICO ITS ประเทศไทยโครงการโรงงานอัจฉริยะกับบริษัทHitachi High-Technologies จากประเทศญี่ปุ่น โครงการบ้านอัจฉริยะกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น การพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะ(เมืองวิทยาศาสตร์อมตะ) กับกลุ่มบริษัทจากญี่ปุ่น เมืองการบินและอวกาศอัจฉริยะ โครงการศึกษาอัจฉริยะกับบริษัท KinderWorldจากประเทศ สิงคโปร์ และเมืองแห่งการศึกษาเอ็ดยูทาวน์ (Amata College)

        นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประธานกรรมการ ของ AMATA กล่าวว่า อมตะถือเป็นพันธมิตรที่เหมาะสมกับกระทรวงพลังงานเนื่องด้วยวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกันในการสร้าง Smart City ความคิดริเริ่มใด ๆ จำเป็นต้องมีวิธีการที่เป็นรูปธรรมเพื่อเปลี่ยนความคิดนั้นให้เป็นความจริง นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครเป็นนิคมที่สมบูรณ์แบบสำหรับการนี้ อมตะมีความพร้อมและสามารถช่วยแปลงวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ในการพัฒนา Smart City ให้กลายเป็นความจริงได้

กระทรวงพลังงานจับมืออมตะสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ดันนิคมฯอมตะนครก้าวสู่เมืองฉัจริยะ(Smart City) ตอบสนองพลังงาน 4.0 "วิกรม"เผยเล็งทำโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาโรงงานเฟสแรก 100 เมกะวัตต์

      กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ได้ลงนาม(MOU). กับ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)พัฒนานิคมอุตสาหกรรม สู่เมืองอัจฉริยะ Smart Cities - Clean Energy โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีร่วมเป็นสักขีพยาน

     พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อปฏิรูป โครงสร้างเศรษฐกิจ กระทรวงพลังงานจึงผลักดันเมืองอัจฉริยะเป็นอีก มาตรการในแนวนโยบาย Energy 4.0 ที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถลดความต้องการใช้พลังงาน และลดการใช้พลังงานสูงสุดได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังสามารถผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก

       นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า สนพ. ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) และได้เปิดตัวโครงการไปเมื่อปี 2559 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ปรับตัวสู่ทิศทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พร้อมกันนี้ยังได้เสนอชื่อ อมตะ เข้าร่วมโครงการ APEC Low-Carbon Model Town ภายใต้คณะทำงานพลังงาน เพื่อเป็นเมืองต้นแบบให้แก่การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำอื่นๆ ต่อไป

       นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นรูปแบบความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) หรือ PPP ที่มีเป้าหมายในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองอัจฉริยะสมบูรณ์แบบ ที่จะมีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC

         ปัจจุบันบ.เริ่มดำเนินการประกอบด้วย การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) ในโรงงานอมตะนคร 2,000-3,000 แห่งภายใต้บ. Stumpf AMATA Solar โดยอมตะถือหุ้น 12% Stumpf จากออสเตรียถือหุ้น 88% โดยจะนำร่องเผาแรก 100 เมกะวัตต์ ลงทุนประมาณ 120 ล้านเหรียญสหรัฐคาดว่าจะเริ่มติดตั้งได้ในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะใช้เวลาพัฒนา 3 ปีจากศักยภาพหลังคาที่จะทำได้ 800 เมกะวัตต์

      นอกจากนี้ ยังมีโครงการตรวจสอบการจราจรอัจฉริยะกับ บริษัท AAPICO ITS ประเทศไทย โครงการโรงงานอัจฉริยะกับบริษัท Hitachi High-Technologies จากประเทศญี่ปุ่น โครงการบ้านอัจฉริยะกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น การพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะ(เมืองวิทยาศาสตร์อมตะ) กับกลุ่มบริษัทจากญี่ปุ่น เมืองการบินและอวกาศอัจฉริยะ โครงการศึกษาอัจฉริยะกับบริษัท KinderWorld จากประเทศ สิงคโปร์ และเมืองแห่งการศึกษาเอ็ดยูทาวน์(Amata College) ซึ่งจะทำให้ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะในที่สุด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!