WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL7ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 27 ก.พ.- 1 มี.ค. 60 และสรุปสถานการณ์ฯ 20-24 ก.พ. 60

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (27 ก.พ. 3 มี.ค. 60)

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการที่ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกให้ความร่วมมือปรับลดกำลังการผลิต และคาดว่าจะปรับลดมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันจากปริมาณการผลิตในอิหร่านที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดหลังได้รับการยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ปริมาณการผลิตในสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ตามปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ในช่วงโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  ปริมาณการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะปรับลดลง เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ผลิตจะทำตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิต หลังนายโมฮัมเหม็ด บาร์คินโด เลขาธิการกลุ่มโอเปก เผยว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มจะให้ความร่วมมือในการลดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาที่สามารถลดปริมาณการผลิตได้ถึง 93% ของข้อตกลงสำหรับกลุ่มโอเปก นอกจากนี้ แหล่งข่าวของโอเปกยังเผยอีกว่า ล่าสุดผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกทั้ง 11 ประเทศให้ความร่วมมือลดกำลังลงราว 60% ของข้อตกลงแล้ว ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงที่แล้วว่าปรับลดกำลังลงราว 40% ของข้อตกลง

  ข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตยังมีความเสี่ยงจากกำลังการผลิตของอิหร่านที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากอิหร่านเร่งผลิตน้ำมันดิบเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดหลังได้รับการยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยล่าสุดนาย Ali Kardor ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทน้ำมันแห่งชาติอิหร่าน (NIOC) กล่าวว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิหร่านจะปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในเดือนเม.ย. 60 และมีแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตไปสู่ระดับ 4.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในอีก 5 ปีข้างหน้า

  ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูง จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับลดลงในช่วงโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 17 ก.พ. 60 รายงานโดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)  จะปรับเพิ่มขึ้น 564,000 บาร์เรล มาสู่ระดับ 518.7  ล้านบาร์เรล ซึ่งจัดเป็นระดับสูงสุด

ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น หลัง EIA คาดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในเดือนมี.ค. มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นราว 30,000 บาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 8.91 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับระดับการผลิตในเดือนก.พ. และจะขยับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 9.28 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนธ.ค. 60

  ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบจากชั้นดินดาน (Shale Oil) ในสหรัฐฯ เริ่มผลิตน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดิบ ณ ปัจจุบันสูงกว่าต้นทุนการผลิต Shale oil ในบางแหล่ง โดยเฉพาะแหล่งผลิต Permian ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าแหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 5 แท่น มาอยู่ที่ 602 แท่น ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 6 สัปดาห์ติดต่อกัน

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 4 สหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตจีน และ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (20 ก.พ. 24 ก.พ. 60)

  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 53.99  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 0.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 55.99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบ ปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังตลาดได้รับแรงหนุนจากผู้ผลิตทั้งในและนอกโอเปกที่ยังคงเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตต่อเนื่อง โดยจากข้อสรุปประชุมเมื่อวันที่ 21-22 ก.พ. ที่ผ่านมาในเดือน ม.ค. ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลงสูงกว่าร้อยละ 90 ของข้อตกลง ในขณะที่ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 40-60

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!