WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL23ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 30 ม.ค. - 3 ก.พ. 60 และสรุปสถานการณ์ฯ 23 -27 ม.ค. 60

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (30 ม.ค. – 3 ก.พ. 60)

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดจะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง หลังจากได้รับแรงหนุนจากผู้ผลิตในและนอกกลุ่มโอเปกที่ปรับลดกำลังการผลิตไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากข้อตกลงที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงกังวลกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2556 ประกอบกับ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันคาดจะปรับลดกำลังการกลั่นลงในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  จับตาการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกว่าจะสามารถทำตามข้อตกลงได้หรือไม่ โดยล่าสุดรัฐมนตรีซาอุดิอาระเบียคาดการณ์ว่าปัจจุบันผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกลดกำลังการผลิตลงแล้ว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือประมาณร้อยละ 80 ของทั้งหมด และคาดว่าจะสามารถทำได้ตามข้อตกลงที่ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในสิ้นเดือนนี้ นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบล่าสุดของซาอุดิอาระเบียปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 10 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้ว ทั้งนี้การประชุมเพื่อติดตามผลของข้อตกลงจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 17 มี.ค. 2560

  ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์และส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันน้อยลง หลังได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของนโยบายของประธานาธิปดีคนใหม่ของสหรัฐฯหรือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาแต่อย่างใด นโยบายโดยส่วนใหญ่ที่มีการดำเนินการคือการถอนตัวจากข้อตกลง TPP และการที่จะเดินหน้าเจรจาข้อตกลง NAFTA กับประเทศสมาชิกใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ ยังดำเนินการที่จะสร้างกำแพงกั้นชายแดนระหว่างสหรัฐฯ กับเม็กซิโกด้วย

  ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงทรงตัวในระดับสูง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 20 ม.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล มาสู่ระดับ 488.3 ล้านบาร์เรล จากอัตราการกลั่นที่ปรับลดลงตามอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันเบนซินที่ปรับลดลงต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน เป็นผลมาจากอุปสงค์ในสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงในช่วงฤดูหนาว โดยอุปสงค์น้ำมันเบนซินอยู่ที่ระดับ 8.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าราวร้อยละ 4.7

  ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบดูไบทรงตัวในระดับสูงกว่า 50 เหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ม.ค. 60 รายงานโดย Baker Hughes ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15 แท่น มาอยู่ที่ 556 แท่น อย่างไรก็ตาม ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งยังคงมาจากแหล่ง Permian ส่งผลให้ Permian เป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่แหล่งเดียวที่มีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

  ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังท่อขนส่งน้ำมันดิบที่แหล่งผลิตน้ำมัน El Sharara และ El Feel กลับมาดำเนินการอีกครั้งในเดือนธ.ค. ส่งผลให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบียสามารถเปิดดำเนินการท่าเรือ Zawiya ซึ่งเป็นท่าเรือสุดท้ายในประเทศที่ยังปิดดำเนินการอยู่ได้ โดยล่าสุดปริมาณการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 700,000 บาร์เรลต่อวัน โดยลิเบียตั้งเป้าหมายที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 1.25 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงในการปรับเพิ่มกำลังการผลิต

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่  จีดีพีไตรมาส 4/59 ยูโรโซน อัตราการว่างงานยูโรโซน ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ และ การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ

 สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (23 – 27 ม.ค. 60)

  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 0.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 53.17 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 0.03 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 55.52 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 54.35 เหรียญสหรัฐฯ หลังได้รับแรงหนุนจากข่าวการประชุมในวันที่ 21-22 ม.ค. 60 เพื่อติดตามผลการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งมีการเปิดเผยออกมาว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกสามารถลดกำลังการผลิตได้แล้วรวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียและคูเวตปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ได้ตกลงไว้ อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงกังวลกับการปรับเพิ่มขึ้นของแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดานปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!