WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เบรนท์และเวสต์เท็กซัส ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังนักลงทุนกลับมากังวลเรื่องวิกฤตการณ์ในลิเบียและยูเครน

     + ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของอุปทานน้ำมัน อันเป็นผลจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในลิเบียและอิรัก ประกอบกับวิกฤตการณ์ทางตะวันออกของยูเครน

     + กำลังการผลิตน้ำมันของประเทศลิเบียปรับลดลงจาก 5 แสนบาร์เรลต่อวัน เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 4.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับอุปทานในลิเบียหลังกลุ่มกบฏติดอาวุธบุกยึดสนามบิน ในเมืองทริโปลีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้ชาวลิเบียกว่า 20 รายเสียชีวิต และส่งผลให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่คลังเชื้อเพลิงใกล้สนามบินหลังจากถูกยิงถล่ม

   + สถานการณ์ความรุนแรงระหว่างยูเครนและรัสเซียทวีความรุนแรงขึ้น หลังยูเครนยังคงพัฒนาขีปนาวุธและระบบควบคุมการปล่อยจรวดอย่างต่อเนื่องทางตะวันออกของประเทศ

    - ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนยุโรปเดือน ส.ค. ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.7 จุด เทียบกับเดือน ก.ค. ที่ระดับ 10.1 จุด ซึ่งตัวปรับลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 9.0 จุด หลังจากสหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตรรัสเซียอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในภูมิภาคชะลอตัว

    - ปริมาณการส่งออกน้ำมันเดือน ก.ค. ของอิรักปรับตัวเพิ่มจาก 2.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 2.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ว่าการขนส่งทางเรือจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Kirkuk ทางตอนเหนือของประเทศจะยังไม่สามารถเปิดใช้ได้

    ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ทเบาบางจากผู้นำเข้าน้ำมันรายหลักอย่างประเทศอินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันยังคงได้รับแรงหนุนจากญี่ปุ่นหลังมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นภายในประเทศ

    ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ลดลงหลังการปิดซ่อมบำรุงโรงกล่นในสหราชอาณาจักรซึ่งยังไม่มีกำหนดการว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด แต่อย่างไรก็ดีอุปสงค์ในตลาดยังคงอ่อนตัว

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

      ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 96-103 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 103-109 เหรียญฯ

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

     จับตาภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา ท่ามกลางความต้องการใช้น้ำมันดิบจากโรงกลั่นที่ซบเซาทั้งในยุโรปและเอเชีย อันเป็นผลมาจากค่าการกลั่นที่ตกต่ำ

     เหตุการณ์ความตึงเครียดในอิรักและรัสเซีย ที่ยังคงไม่ได้กระทบต่อความสามารถในการส่งออกน้ำมันดิบของทั้งสองประเทศ โดยล่าสุดอิรักยังคงสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ตามแผนที่ราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียยังไม่ทำให้การส่งออกน้ำมันดิบปรับลดลงแต่อย่างใด

    ติดตามรายงานประจำเดือนของ OPEC ในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ว่าจะมีมุมมองต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบโลกอย่างไร ภายหลังตัวเลขเศรษฐกิจของผู้ใช้น้ำมันดิบหลักโลกอย่างสหรัฐฯ และจีนออกมาดีกว่าคาด ส่อเค้าว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น

     เสถียรภาพของกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากลิเบีย ภายหลังการกลับมาดำเนินการของท่าเรือขนส่งและหลุมน้ำมันดิบ ทำให้กำลังการผลิตในเดือน ก.ค. ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ราว 430,000 บาร์เรล จากราว 210,000 บาร์เรลในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มกบฏจะกลับเข้าขัดขวางการผลิตน้ำมันดิบอีก เหมือนเช่นที่เคยเป็นมา

   การปิดซ่อมบำรุงหลุมน้ำมันดิบ Buzzard ที่ทะเลเหนือเป็นเวลาสองสัปดาห์ในเดือน ส.ค. โดยหลุมน้ำมันดังกล่าวเป็นหลุมน้ำมันดิบที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในทะเลเหนือ โดยคาดว่าการปิดซ่อมดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบที่จะส่งออกลดลงประมาณ 24%

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!