- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 04 August 2014 21:46
- Hits: 3059
น้ำมันดิบปรับลดต่อเนื่อง เหตุกดดันจากอุปทานส่วนเกินในทะเลเหนือและแอฟริกา
- ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากอุปทานส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา เนื่องจากค่าการกลั่นที่ตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา กดดันความต้องการใช้น้ำมันดิบจากโรงกลั่นในบริเวณดังกล่าว
- การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น Kansas ในสหรัฐฯ ที่มีกำลังการผลิตอยู่ราว 115,000 บาร์เรลต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ กดดันราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัส เนื่องจากโรงกลั่นดังกล่าวใช้น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเป็นน้ำมันดิบหลักในการกลั่น
- เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณทางเหนือและตะวันออกของอิรัก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศแต่อย่างใด เนื่องจากหลุมและท่าขนส่งน้ำมันดิบหลักอยู่ทางใต้ของประเทศ ล่าสุดในเดือน ก.ค. อิรักสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ตามปกติราว 2.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถึงแม้ว่าจะถือว่าต่ำกว่าที่วางแผนไว้เล็กน้อยที่ 2.60 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- ดัชนีภาคการผลิตจีนในเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนที่ 51.7 จาก 51.0 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีภาคการผลิตที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว
+ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 55.8 จาก 55.4 ในเดือน ส.ค. นอกจากนี้ความรู้สึกผู้บริโภคในเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 81.8 จาก 81.3 ในเดือนก่อนหน้า ถึอย่างไรก็ดีอัตราการว่างงานในเดิอน ก.ค. จะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.2% จาก 6.1% ในเดือนก่อนหน้า
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ อันเป็นผลมมาจากโรงกลั่นในเวียดนามกลับมาดำเนินการตามปกติหลังจากการปิดซ่อมบำรุงตามแผน นอกจากนี้หน่วยผลิตน้ำมันเบนซินในไต้หวันและเกาหลีใต้สามาถกลับมาดำเนินการหลังได้อีกครั้งหลังจากการปิดซ่อมบำรุงกะทันหันอีกด้วย
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจากแอฟริกา การลดกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในยุโรป รวมไปถึงเหตุการณ์การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นกะทันหันในสหรัฐฯ
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98-105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-111 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา ท่ามกลางความต้องการใช้น้ำมันดิบจากโรงกลั่นที่ซบเซาทั้งในยุโรปและเอเชีย อันเป็นผลมาจากค่าการกลั่นที่ตกต่ำ
เหตุการณ์ความตึงเครียดในอิรักและรัสเซีย ที่ยังคงไม่ได้กระทบต่อความสามารถในการส่งออกน้ำมันดิบของทั้งสองประเทศ โดยล่าสุดอิรักยังคงสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ตามแผนที่ราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียยังไม่ทำให้การส่งออกน้ำมันดิบปรับลดลงแต่อย่างใด
ติดตามรายงานประจำเดือนของ OPEC ในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ว่าจะมีมุมมองต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบโลกอย่างไร ภายหลังตัวเลขเศรษฐกิจของผู้ใช้น้ำมันดิบหลักโลกอย่างสหรัฐฯ และจีนออกมาดีกว่าคาด ส่อเค้าว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เสถียรภาพของกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากลิเบีย ภายหลังการกลับมาดำเนินการของท่าเรือขนส่งและหลุมน้ำมันดิบ ทำให้กำลังการผลิตในเดือน ก.ค. ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ราว 430,000 บาร์เรล จากราว 210,000 บาร์เรลในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มกบฏจะกลับเข้าขัดขวางการผลิตน้ำมันดิบอีก เหมือนเช่นที่เคยเป็นมา]
การปิดซ่อมบำรุงหลุมน้ำมันดิบ Buzzard ที่ทะเลเหนือเป็นเวลาสองสัปดาห์ในเดือน ส.ค. โดยหลุมน้ำมันดังกล่าวเป็นหลุมน้ำมันดิบที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในทะเลเหนือ โดยคาดว่าการปิดซ่อมดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบที่จะส่งออกลดลงประมาณ 24%