- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 14 December 2016 20:55
- Hits: 8278
ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กดดันจากแรงเทขายทำกำไร
+/- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยกดดันจากแรงเทขายทำกำไรของนักลงทุน หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน เนื่องจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกสามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตลงรวมกันราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือน พ.ย. อยู่ที่ระดับ 34.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมากกว่าตัวเลขที่กลุ่มโอเปกคาดการณ์ถึง 500,000 บาร์เรลต่อวัน
+ สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับเพิ่มการคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้และปีหน้าขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้า 120,000 และ 110,000 บาร์เรลต่อวัน มาเติบโตอยู่ที่ 1.4 และ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ เนื่องจากมีการปรับเพิ่มการคาดการณ์ของความต้องการใช้ในจีนและรัสเซีย นอกจากนี้ IEA ยังให้ความเห็นว่า หากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกสามารถลดกำลังการผลิตตามที่ตกลงไว้ได้ จะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันคงคลังทั่วโลกเริ่มปรับตัวลดลงในครึ่งแรกของปี แต่หากผู้ผลิตน้ำมันไม่สามารถทำตามข้อตกลง ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำมันล้นตลาดติดต่อกันเป็นปีที่ 4 และจะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง
- หลังปิดตลาด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการซื้อเพิ่มเติมจากเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันเบนซินยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของจีนที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นอิสระภายในประเทศปรับเพิ่มกำลังการผลิต
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากคาดว่าอุปทานจะปรับลดลง หลังโรงกลั่นในอินเดียวางแผนปิดซ่อมบำรุงหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (CDU) ในช่วงวันที่ 22 ธ.ค. ถึง 5 ม.ค.นี้
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ภาวะอุปทานน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มคลี่คลายลง หลังในการประชุมวันที่ 10 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกตัดสินใจลดกำลังการผลิตลงราว 0.558 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยรัสเซียจะปรับลดปริมาณการผลิตลงราว 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งความร่วมมือปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตกลุ่มโอเปก และนอกกลุ่มโอเปกในครั้งนี้ อาจทำให้อุปทานน้ำมันดิบโลกปรับลดลงราว 1.8 ล้านบาร์เรล หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 2
ตลาดกังวลว่าการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกตามข้อตกลงอาจเป็นไปได้ยากขึ้น หลังสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือนพ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.37 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 34.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยประเทศที่ปรับเพิ่มปริมาณการผลิตมากสุดได้แก่ แองโกลา ลิเบีย ไนจีเรีย และอิรัก ตามลำดับ