- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 05 December 2016 14:07
- Hits: 11640
กฟผ.รุกพัฒนาสมาร์ทกริดเล็งนำร่องโครงการที่แม่ฮ่องสอน
แนวหน้า : ว่าที่พันตรี อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.จะพัฒนาโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริด ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ประกอบด้วย แนวคิด 4 ด้าน คือ Smart Energy พัฒนาระบบด้านการจัดหาไฟฟ้า โดยพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่, Smart System มีระบบควบคุมและปฏิบัติการทางไฟฟ้าเป็นตัวกลางประสานเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ, Smart City พัฒนาระบบ เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วม ต่อการรักษาระดับความมั่นคงและประสิทธิภาพ ของระบบ และ Smart Learning การพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้คู่ชุมชน
"โครงการนี้ได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับโครงสร้างการดำเนินงานของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ เป็นต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต พลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง เป็นต้นแบบของเมืองที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน" ว่าที่พันตรีอนุชาต กล่าว
โดย กฟผ.ได้จ้างที่ปรึกษาคือบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด ศึกษาและจัดทำรายงาน ประมวลหลักการปฏิบัติ (Cop of Practice : CoP) สำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์จากเทคโนโลยีแผงไฟโตโวลเทอิก โครงการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ จังหวัด แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด กำลังผลิต 3 เมกะวัตต์ และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ขนาด 4 เมกะวัตต์, 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งจะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จากนั้นจะนำ รายงานเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าต่อไป
กฟผ.จ้างที่ปรึกษาเดินหน้าพัฒนาสมาร์ทกริดในจ.แม่ฮ่องสอน หวังเป็นต้นแบบโซลาร์ฟาร์มประสิทธิภาพสูง
ว่าที่ พันตรี อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้จ้างที่ปรึกษาบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด ศึกษาและจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ (Cop of Practice : CoP) สำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากเทคโนโลยีแผงไฟโตโวลเทอิก โครงการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (Maehongson Smart Energy Development Project) ตามแผนแม่บทกระทรวงพลังงาน เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศให้มีขีดความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System) และคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Smart Life) เพิ่มขึ้น ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society) นำร่องในระดับประเทศ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ กฟผ. จะพัฒนาโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริด ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยแนวคิด 4 ด้าน คือ Smart Energy พัฒนาระบบด้านการจัดหาไฟฟ้า โดยพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ Smart System มีระบบควบคุมและปฏิบัติการทางไฟฟ้าเป็นตัวกลางประสานเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ Smart City พัฒนาระบบ เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมต่อการรักษาระดับความมั่นคงและประสิทธิภาพของระบบ และ Smart Learning การพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้คู่ชุมชน
โครงการนี้ได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับโครงสร้างการดำเนินงานของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ เป็นต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต พลังงาน และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นต้นแบบของเมืองที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สำหรับ การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากเทคโนโลยีแผงไฟโตโวลเทอิก โครงการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 3 เมกะวัตต์ และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ขนาด 4 เมกะวัตต์, 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ครอบคลุมตั้งแต่ระยะเตรียมการโครงการ ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ ตลอดจนกรณีที่มีการรื้อถอนอาคาร เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับใช้เป็นเอกสารประกอบการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการฯ จัดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการรับฟังความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการรับฟังความเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2559
ทั้งนี้ จะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จากนั้นจะนำรายงานดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าต่อไป
อินโฟเควสท์
กฟผ.ย้ำยังยึดมั่นสัญญาที่ให้ต่อคณะกรรมการไตรภาคี,ประมูลโรงไฟฟ้ากระบี่ยังไม่มีผลผูกพัน
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ. ชี้แจงกรณีที่เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินร้องเรียนให้ยุติประมูลโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวกฟผ. เคยชี้แจงไปแล้วเมื่อครั้งที่ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเชิญทุกฝ่ายมาประชุม เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 เพื่อหารือกันก่อนตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งตัวแทนเครือข่ายฯ ที่ร่วมประชุมอยู่ด้วย ได้กล่าวยอมรับว่า ถ้ากระบวนการประมูลที่กำลังดำเนินการอยู่ตอนนั้น กฟผ. ยืนยันว่าไม่มีผลผูกพันก็สามารถยอมรับและเป็นข้อยุติได้
ดังนั้น จากคำประกาศของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 การทำกิจกรรมนั่งภาวนาหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยให้เหตุผลว่ากฟผ. ฉีกสัญญาด้วยการประกาศผู้ชนะราคาการประมูลจึงไม่เป็นความจริง เพราะ กฟผ.ได้ยืนยันต่อสาธารณชนมาโดยตลอดว่า การประมูลโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่จะไม่มีผลทางกฎหมาย และจะมีผลต่อเมื่อโครงการฯ ผ่านการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และรัฐบาลอนุมัติโครงการเท่านั้น
ขณะที่รัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการไตรภาคี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ ในการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย โดยในการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการไตรภาคีได้รับรายงานความคืบหน้าของอนุกรรมการฯทั้ง 3 ชุด และกรรมการทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากกรรมการแต่ละฝ่ายยังมีจุดยืนที่แตกต่างกัน พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมการไตรภาคี จึงให้กรรมการแต่ละราย สรุปความคิดเห็นและเหตุผลที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พร้อมข้อเสนอ เพื่อนำรายงานและความเห็นของคณะกรรมการชุดใหญ่ทั้งหมด เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
“การระบุว่า กฟผ. ไม่รอผลการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคีจึงไม่เป็นความเป็นจริง กฟผ. เชื่อมั่นว่า ทุกฝ่ายจะเคารพการดำเนินงานของคณะกรรมการไตรภาคี อันจะนำมาซึ่งข้อยุติที่ได้รับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมทั้งที่สำคัญคือ เพื่อให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโดยรวม"โฆษก กฟผ. กล่าว
อินโฟเควสท์
กฟผ.แย้มข่าวดีไม่ขึ้นค่าไฟปีหน้า ไตรมาส1จ่อลงทุน 8 พันล. ตามนโยบายรัฐกระตุ้นศก.
แนวหน้า : นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยแผนการลงทุนในปี 2560 ของ กฟผ.ว่า ได้รับอนุมัติงบลงทุนจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) วงเงิน 57,587ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ตั้งเป้าลงทุน 8.1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจ.กระบี่ และอ.เทพา จ.สงขลา ยังมีความล่าช้ากว่าแผน รวมถึงแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนเดิม คือ บางปะกง ยังไม่ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ทำให้การลงทุนในส่วนนี้จะยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับ เงินลงทุน 57,587 ล้านบาทจะเป็นโครงการระบบส่งและโรงไฟฟ้ารายการใหญ่ พร้อมมั่นใจว่า ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2560 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเร่งรัดลงทุนในโครงการระบบส่งที่มีสัดส่วน 50% ของงบลงทุนรวม ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายรัฐมนตรี ที่ต้องการให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ
“โครงการระบบส่ง เป็นแผนลงทุนระยะยาว 10 ปี ดำเนินการไปแล้ว 2 ปี ปัจจุบันได้ขจัดอุปสรรคต่อการลงทุนและจ่ายค่าทดแทนให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว เหลือเพียงการขออนุมัติจากภาครัฐ เพื่อให้พื้นที่ป่าสงวน และพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ถึงภูเก็ต ซึ่งหากก่อสร้างเสร็จตามแผน จะช่วยเสริมความมั่นคงไฟฟ้าในภาคใต้นายกรศิษฏ์ กล่าว
สำหรับ โครงการระบบส่งและโรงไฟฟ้ารายการใหญ่ ที่จะดำเนินการในปี 2560 ประกอบด้วย โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ระยะที่ 2 โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า ฯลฯ
สำหรับ แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในปี 2560 คาดว่าจะเติบโตใกล้กับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ(จีดีพี) ที่ระดับ 3-4% หรือเติบโตสูงกว่าเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
“ค่าไฟฟ้าปีหน้าจะใกล้เคียงกับปีนี้เพราะต้นทุนค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติ ยังทรงตัวตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยง จากการเปลี่ยนประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่อาจมีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจและความต้องการบริโภคน้ำมันของสหรัฐ แต่สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ เป็นสัญญาล่วงหน้าจึงยังไม่น่าจะมีผลกระทบกับไทย”
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) จะพิจารณาค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร (เอฟที) งวดเดือนม.ค.-เม.ย.ปี 2560 ภายในเดือนธ.ค.นี้
นายกรศิษฏ์ กล่าวว่า ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(พีดีพี) ปี 2558-2579 ในปี 2560 ประมาณการอัตราการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค) อยู่ที่ 31,385 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากพีคปี 2559 อยู่ที่ 30,218 เมกะวัตต์ ขณะที่กำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ กว่า 4 หมื่นเมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ
กฟผ.มึนถูกหั่นงบลงทุนปี 60 หลังโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่คืบลั่นเดินหน้าพัฒนาสายส่ง
ไทยโพสต์ : กฟผ.มึนถูกหั่นงบลงทุนปี 60
กฟผ.โอดรัฐบาลหั่นงบลงทุน 60 เหลือ 50,000 ล้านบาท หลังเผยผุดโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพาไม่คืบ พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบสายส่ง ฟุ้งไตรมาสแรกปีหน้าสามารถเบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
บางกรวย * กฟผ.โอดรัฐบาลหั่นงบลงทุน 60 เหลือ 50,000 ล้านบาท หลังเผยผุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่-เทพาไม่คืบ พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบสายส่ง ฟุ้งไตรมาสแรกปีหน้า สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
นายกรศิษฏ์ ภัคโชตา นนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า แผนการลงทุนใน ปี 2560 ของ กฟผ.ได้รับอนุมัติ งบลงทุนจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) วงเงิน 57,587 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ตั้งเป้า ลงทุน 81,000 ล้านบาท เนื่อง จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ และ อ.เทพา จ.สงขลา ยังมีความล่าช้ากว่าแผน รวมถึงแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนบางปะกงที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ใหม่ทำให้การลงทุนในส่วนนี้จะยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับ เงินลงทุนปี 60 จำนวน 57,587 ล้านบาท จะ เน้นดำเนินการโครงการก่อ สร้างสายส่งไฟฟ้า เพื่อดูแล ความมั่นคงด้านไฟฟ้าและรองรับไฟฟ้าจากต่างประเทศ 31,879 ล้านบาทที่มีสัดส่วน 50% ของงบลงทุนรวม รวมถึงแผนระยะยาวและครุภัณฑ์รวม 25,707 ล้านบาท นอก จากนี้ยังมีงบประมาณสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่อง 4-7 มูลค่า 5,758 ล้านบาท นอกจากนี้ยัง สร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟ ฟ้า ระยะที่ 1 วงเงิน 3,500 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าบางปะกง จำนวน 2,258 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากโครง การลงทุนต่างๆ นั้น กฟผ.มั่นใจว่า ในช่วงไตรมาสแรก ปี 60 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ
"แผนการพัฒนาระบบส่งของ กฟผ.เป็นแผนลงทุนระยะยาว 10 ปี และดำเนินการไปแล้ว 2 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ที่ต้องมีการ พัฒนาระบบส่งเพื่อส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปรองรับความต้องการใช้ และได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีปัญหาในเรื่องการเข้าพื้นที่ แต่ปัจจุบันได้ขจัดอุปสรรคต่อการลงทุนและจ่ายค่าทดแทนให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว เหลือเพียงการขออนุมัติจากภาครัฐ เพื่อให้พื้นที่ป่าสงวน และพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ถึง ภูเก็ต ซึ่งหากก่อสร้างเสร็จตามแผน จะช่วยเสริมความมั่นคงไฟฟ้าในภาคใต้" นายกรศิษฏ์กล่าว
นายกรศิษฏ์ กล่าวว่า แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในปี 2560 คาดว่าจะเติบโตใกล้กับ ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่ระดับ 3-4% หรือ เติบโตสูง กว่าเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐ กิจในประเทศยังชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ขณะที่ค่าไฟฟ้าจะใกล้เคียงกับปีนี้ เพราะต้นทุนค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติ ยังทรงตัวตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ
แม้ว่า จะมีปัจจัยเสี่ยง จากการเปลี่ยนประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่อาจมีผล ต่อนโยบายเศรษฐกิจและความต้องการบริโภคน้ำมันของสหรัฐ แต่สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเป็นสัญญาล่วงหน้าจึงยังไม่น่าจะมีผล กระทบกับไทย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะพิจารณาค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร (เอฟที) งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.ปี 2560 ภายในเดือน ธ.ค.นี้.