WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ENสราวธ แกวตาทพยก.พลังงาน เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 พัฒนาระบบเก็บพลังงาน-สร้างเสถียรภาพโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน

    ก.พลังงาน ส่งสัญญาณขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 ชี้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ลดความเสี่ยง และสร้างเสถียรภาพให้โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ยันพร้อมต่อยอดงานวิจัย 765 ล้านบาท

     นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศตามแนวนโยบาย Energy 4.0 ซึ่งจะมุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อ ต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เติบโต และก้าวหน้า ซึ่งสิ่งที่ภาคพลังงานของประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลในอนาคต ได้แก่ การบริหารจัดการพลังงานทดแทนให้มีความเสถียร (Firm Renewable Energy) จากการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่กระทรวงพลังงานจะได้เตรียมความพร้อม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตยิ่งขึ้น

     ทั้งนี้ จากการศึกษาระบบกักเก็บพลังงานที่ปัจจุบันมีความน่าสนใจ และคาดว่าจะเป็นต้นแบบการศึกษาให้แก่ประเทศไทยได้ คือ ระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ ซึ่งได้ถูกพัฒนาและติดตั้งที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้สั่งการให้เซาท์เทอร์ แคลิฟอร์เนีย เอดิสัน (Southern California Edison) ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานคล้ายกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ) ได้ติดตั้งระบบดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้น ระบบกักเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่นี้ สามารถเก็บไฟฟ้าได้สูงถึง 260 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ในส่วนของสถานีหลัก เก็บไฟฟ้าได้สูงถึง 100 เมกะวัตต์ และในส่วนของสถานีย่อยๆ อีกประมาณ 160 เมกะวัตต์ เป็นต้น

     “จากต้นแบบระบบกักเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกานี้ ถือเป็นตัวอย่างการสร้างระบบสำรองไฟฟ้าที่สอดคล้องกับการพัฒนาระบบพลังงานทดแทนของประเทศ เนื่องจากปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนของประเทศไทย อุปสรรคสำคัญคือด้านความมีเสถียรภาพของการผลิต ซึ่งหากในอนาคตนโยบายการส่งเสริมระบบกักเก็บพลังงานมีความรูปธรรม ก็จะช่วยให้ระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ลดปัญหาอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจากไฟฟ้าดับ หรือระบบสายส่งไฟฟ้าต้นทาง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุแต่ละครั้งจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล” นายสราวุธกล่าว

       นายสราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการส่งเสริมระบบกักเก็บพลังงานดังกล่าว ปัจจุบันกระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติอนุมัติงบประมาณ 765 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดทำโครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจะเป็นงบประมาณเพื่อปูทางสนับสนนุให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานที่สนใจ สร้างงานวิจัยเพื่อต่อยอดการศึกษาในเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!