- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Saturday, 05 November 2016 17:09
- Hits: 4133
ก.พลังงาน ลงพื้นที่สำรวจแหล่งไฟฟ้าพลังงานลม พบกว่า 10 จังหวัด ใน 3 ภาค ทำเลสวย
ก.พลังงาน ลงพื้นที่สำรวจแหล่งทำไฟฟ้าพลังงานลม พบกว่า 10 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกและใต้ ทำเลสวยทั้งการตั้งกังหัน - สายส่งและโรงไฟฟ้า
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า พพ.ได้ทำการศึกษาพื้นที่ศักยภาพในการจัดทำโครงการไฟฟ้าพลังงานลม โดยผลศึกษาเบื้องต้นอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ 3 ภาคทั่วประเทศที่นับเป็นพื้นที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพต่อการติดตั้งและผลิตกระแสไฟฟ้าจากลม จากการศึกษาความเร็วของลมที่ต้องมีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 6 เมตรต่อวินาที ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีและพื้นที่ดังกล่าวมีสายส่งที่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้
สำหรับ พื้นที่จังหวัดในภาคต่างๆที่ถือได้ว่ามีศักยภาพสามารถติดตั้งกังหันผลิตไฟฟ้าจากแรงลมได้ประกอบด้วย3 ภาค 1.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และพื้นราบ ในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ดมุกดาหาร นครราชสีมา เป็นต้น 2.ภาคตะวันตกได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และยอดเขาในจังหวัดตาก กาญจนบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ 3.ภาคใต้ได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขาและพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมได้จะต้องในพื้นที่ที่มีสายส่งรองรับ โดยขนาดตั้งแต่ระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ซึ่งจะสามารถรองรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 เมกะวัตต์ หากโรงไฟฟ้ามีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เมกะวัตต์ในพื้นที่ต้องมีสายส่งระดับแรงดัน 33 กิโลโวลต์ และในส่วนของโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 10 เมกะวัตต์ จะต้องเชื่อมต่อกับแรงดันไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)
นายประพนธ์ กล่าวว่าปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมของไทยในช่วงเดือนตุลาคม 2559-กันยายน 2560 มีกำลังการผลิตและเตรียมแผนขายไฟฟ้าเข้าระบบโดยรวมแล้วทั้งสิ้น 144 โครงการ คิดเป็นปริมาณกำลังไฟฟ้าติดตั้งรวม 384.9 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็น โครงการที่ขายไฟแล้ว จำนวน 14 โครงการ ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 243.52 เมกกะวัตต์โครงการที่จะเตรียมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ปี 2559 จำนวน 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 139.2 เมกกะวัตต์ และโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่อยู่นอกสายส่ง (OFFGRID) จำนวน 128 โครงการกำลังการผลิต 2.18 เมกกะวัตต์
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
เปิด 10 ทำเลตั้งกังหันลมจ่ายไฟเข้าระบบ 384 เมก
ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * พพ.เปิด 10 ทำเลใน 3 ภูมิภาค เหมาะสมตั้งกังหันลม แจงปี 60 ไฟฟ้าพลังงานลมเข้าระบบรวม 384 เมก
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ในช่วงเดือน ต.ค.2559-ก.ย.2560 มีกำลังการผลิตและเตรียมแผนขายไฟฟ้าเข้าระบบ โดยรวมแล้วทั้งสิ้น 144 โครงการ คิดเป็นปริมาณกำลังไฟฟ้าติดตั้งรวม 384.9 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ จากการศึกษาของกรมพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดทำโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานลม โดยพบว่ามี 10 จังหวัดใน 3 ภูมิภาค ที่มีความเร็วของลมที่ต้องมีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 6 เมตรต่อวินาที ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และพื้นที่ดังกล่าวมีสายส่งที่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้
ทั้งนี้ ประกอบด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และ พื้นราบในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครราชสีมา เป็นต้น, ภาคตะวันตก ได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และยอดเขาใน จังหวัดตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และพื้นที่บริเวณชาย ฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส
"หลักเกณฑ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม ต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีสายส่งรองรับ ขนาด ตั้งแต่ระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ซึ่งจะสามารถรองรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 เมกะวัตต์ หากโรงไฟฟ้ามีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ต้องมีสายส่งระดับแรงดัน 33 กิโลโวลต์ และในส่วนของโรง ไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตมาก กว่า 10 เมกะวัตต์ จะต้องเชื่อม ต่อกับแรงดันไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)" นายประพนธ์กล่าว.
ลุยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม
บ้านเมือง : นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ.ได้ทำการศึกษาพื้นที่ศักยภาพในการจัดทำโครงการไฟฟ้าพลังงานลม โดยผลศึกษาเบื้องต้นอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ 3 ภาคทั่วประเทศที่นับเป็นพื้นที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพต่อการติดตั้งและผลิตกระแสไฟฟ้าจากลม จากการศึกษาความเร็วของลมที่ต้องมีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 6 เมตรต่อวินาที ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีและพื้นที่ดังกล่าวมีสายส่งที่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้
สำหรับ พื้นที่จังหวัดในภาคต่างๆ ที่ถือได้ว่ามีศักยภาพสามารถติดตั้งกังหันผลิตไฟฟ้าจากแรงลมได้ประกอบด้วย 3 ภาค 1.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และพื้นราบ ในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ดมุกดาหาร นครราชสีมา เป็นต้น 2.ภาคตะวันตกได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขา และยอดเขาในจังหวัดตาก กาญจนบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ 3.ภาคใต้ได้แก่ บริเวณพื้นที่ภูเขา ช่องเขาและพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมได้จะต้องในพื้นที่ที่มีสายส่งรองรับ โดยขนาดตั้งแต่ระดับแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ซึ่งจะสามารถรองรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 เมกะวัตต์ หากโรงไฟฟ้ามีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เมกะวัตต์ในพื้นที่ต้องมีสายส่งระดับแรงดัน 33 กิโลโวลต์ และในส่วนของโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 10 เมกะวัตต์ จะต้องเชื่อมต่อกับแรงดันไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)