WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ENอนนตพร กาญจนรตนก.พลังงาน ประกาศบูรณาการพลังงานระยะยาว หนุนใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ - เร่ง COD โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน-พลังงานความร้อนในปีหน้า

     ก.พลังงาน เดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 15 ประกาศบูรณาการพลังงานระยะยาว จะลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ- ถ่านหิน หนุนใช้เอทานอลในปี 60 เพิ่มเป็น 3.84 ล้านลิตร/วัน ส่วนไบโอดีเซลอยู่ที่ 3.67 ล้านลิตร/วัน เตรียมเลิกผลิตเบนซิน 91 ในปี 61 เร่ง COD โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน - ออกแผนหนุนเอกชนผลิตพลังงานความร้อน  คาด 2 พรบ.ปิโตรเลียมคลอด ต.ค.นี้ พร้อมเปิดประมูลสัมปทานฯ รอบ 21 เดือนก.ย.60 แย้มจะชี้ขาดเรื่องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในปีนี้

    พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 14 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพลังงาน และก้าวสู่ปีที่ 15 ว่าในปี 2560 การขับเคลื่อนด้านพลังานจะยังอยู่ในกรอบแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว โดยในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ในด้านการสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าจะมุ่งเน้นการกระจายเชื้อเพลิงและกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองในระดับที่เหมาะสม โดยจะลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงเหลือ 59.4% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าท้งหมด จากเดิมในปี 2559 ใช้อยู่ที่ 64.5% และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนเป็น 9.6% ซึ่งเดิมในปี 2559 ใช้เพียง 6.4% รวมถึงลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินลงเหลือ 16.8% จากปี 2559 ใช้อยู่ที่ 18.6%

  แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) จะดำเนินโครงการขนส่งน้ำมันทางท่อซึ่งจะเริ่มสร้างท่อส่งน้ำมันสายเหนือในปี 2559 และสายอีสานในปี 2561 รวมทั้งมีแผนการลดหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในกลุ่มเบนซินให้เหลือ 4 ชนิดในปี 2561 และศึกษาการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะสรุปผลการศึกษาเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในช่วงเดือนกันยายน 2560 การผลักดันเรื่องการเปิดเสรีนำเข้าแอลเอ็นจีให้เป็นรูปธรรม

   แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) จะลดความเข้มการใช้พลังงานลง 8.20 พันตันน้ำมันดิบเทียบเท่า (ต่อพันล้านบาท) หรือคิดเป็น 3.98% โดยจะเร่งดำเนินการในมาตรการกำกับดูแลการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสำหรับโรงงานและอาคารควบคุม และมาตรการอุดหนุนผลการประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจ ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรม 5,500 แห่ง อาคาร 2,000 แห่ง และอาคารรัฐ 850 แห่ง โดยมีเป้าหมายการลดใช้พลังงานจำนวน 314 พันตันน้ำมันดิบเทียบเท่า พร้อมทั้งการผลักดันและส่งเสริมมาตรฐาน Building Code สำหรับอาคารใหม่ เพื่อผลักดันการบังคับใช้ในอาคารขนาดใหญ่ขนาดพื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร ในปี 2560 ซึ่งจะมีการตรวจประเมินและรับรองแบบอาคารใหม่ จำนวน 150 อาคาร และการศึกษามาตรฐานพลังงานสำหรับบ้านอยู่อาศัย โดยจะสำรวจข้อมูลบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จำนวน  1,500 ตัวอย่าง และจัดทำต้นแบบบ้านประหยัดพลังงาน 12 แบบ

  แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) จะดำเนินการรวบรวมศักยภาพของพลังงานทดแทนในรายภาคเพื่อให้ได้ฐานข้อมูล ที่เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับความเป็นจริง เร่งรัดให้มีการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตแล้ว(PPA) จำนวน 9,327.15  เมกะวัตต์ ในปี 2560 การส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในด้านผลิตพลังงานความร้อน โดยพิจารณาแนวทางสนับสนุน (Heat Incentive) ในเป้าหมายจำนวน 7,115.10 ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) ส่งเสริมให้มีการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อาทิ เอทานอล 3.84 ล้านลิตร/วัน และไบโอดีเซล 3.67 ล้านลิตร/วัน ในปี 2560

     แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) จะเดินหน้าเรื่องบริหารจัดการแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุ การเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่  การส่งเสริมการแข่งขันจัดหาแอลเอ็นจีแบบเสรีและศึกษาแนวการกำกับดูแลด้านแอลเอ็นจี การติดตามแผนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติและการสร้าง LNG Terminal ให้เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการ รวมถึงการลงพื้นที่สร้างเครือข่าย และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจและการมีส่วน

  ด้านความคืบหน้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ จ.กระบี่  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรอความคิดเห็นจากคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ตัวแทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน และภาคประชาชน คาดว่าได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการไตรภาคีภายในไม่เกินสิ้นปี 2559 นี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้กระทรวงพลังงานตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่หรือไม่ ก่อนจะเสนอแนวทางใดเพียงแนวทางหนึ่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบผ่านคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

  “กระทรวงพลังงานพร้อมรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการไตรภาคีทั้งข้อดีและข้อเสียในการก่อสร้างหรือไม่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งต้องมีเหตุผลรองรับที่เพียงพอ ไม่ใช่ตัวชี้วัดหรือตัดสินเรื่องนี้ทั้งหมด แต่กระทรวงพลังงานจะนำมาข้อเสนอที่เหมาะสมมาปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียด เพื่อให้มีความชัดเจน โปร่งใสมากขึ้น ไม่ทำให้เกิดบรรยากาศอึมครึมว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง

   ทั้งนี้ ทางกระทรวงพลังงานยืนยันว่าในส่วนของภาคใต้จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ขึ้นมารองรับความต้องการใช้ โดยปัจจุบันปริมาณไฟฟ้าสำรองยังอยู่ที่ร้อยละ 15 ตามหลักเกณฑ์ แต่ช่วง 4-5 ปีจากนี้ หากไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าและความต้องการใช้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ไทยไม่มีความมั่นคงด้านไฟฟ้า โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทุกปี

   สำหรับ ความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขกฎหมายพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และ พ.ร.บ.ภาษีปิโตรเลียม พ.ศ...ทั้ง 2 ฉบับ จะได้ข้อสรุปภายในเดือนต.ค.นี้ เพื่อดำเนินการเปิดสิทธิ์ให้ภาคเอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ภายในเดือนก.ย.ปีหน้าตามกำหนดการที่วางแผนไว้ โดยขณะนี้มีเอกชนรายแสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล นอกเหนือจากผู้รับสัมปทานรายเดิมทั้ง 2 บริษัทแล้ว ซึ่งกระทรวงยืนยันว่าจะไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใดทั้งสิ้น แต่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก เพราะกระทรวงพลังงานมีเป้าหมายชัดเจนที่ต้องพยายามผลักดันเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในกรอบการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!