WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL26ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 3-7 ต.ค. 59 และสรุปสถานการณ์ฯ 26-30 ก.ย. 59

             

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (3 - 7 ต.ค. 59)

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากอุปทานจากสหรัฐฯ ตึงตัวมากขึ้น หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ กลุ่มผู้ผลิตโอเปกตกลงที่จะลดกำลังการผลิตไว้ที่ระดับ 32.5 – 33.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียและไนจีเรีย และจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ วันที่ 23 ก.ย. ปรับตัวลดลงสวนทางกับที่นักเคราะห์คาดไว้ โดยลดลงราว 1.9 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ลดลง 23 ล้านบาร์เรลในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับ 502.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบนำเข้าสหรัฐฯ อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ 7.8 ล้านบาร์เรล ประกอบกับ อัตราการกลั่น (Refinery run rate) ปรับลดลงราว 1.9% มาอยู่ที่ 90%

    จับตาท่าทีของกลุ่มโอเปกและการเจรจาของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกกับผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซีย โดยกลุ่มโอเปกตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตลงและกำหนดเพดานการผลิตไว้ที่ระดับ 32.5 – 33.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวและสัดส่วนโควตาจะมีการพิจารณาอีกครั้งในการประชุมโอเปกครั้งถัดไปในวันที่ 30 พ.ย. หากกลุ่มโอเปกกำหนดเพดานการผลิตไว้ที่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะส่งผลให้ตลาดเข้าสู่สมดุลทันทีและส่งผลให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม หากคงการผลิตไว้ที่ระดับ 33.0 ล้านบาร์เรลจะส่งผลให้ตลาดจะยังไม่เข้าสู่สมดุลจนกว่าครึ่งปีหลังของปีหน้า

 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียและไนจีเรียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.485 ล้านบาร์เรลต่อวัน จาก ระดับการผลิตในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 0.36 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายหลังจากการเปิดดำเนินการท่าเรือ Ras Lanuf ในช่วงสัปดาห์ก่อนและสามารถส่งออกน้ำมันดิบออกไปได้รวมทั้งสิ้นแล้ว 2 ลำ ในขณะที่ไนจีเรีย บริษัทน้ำมันแห่งชาติเตรียมที่จะเริ่มกลับมาส่งออกน้ำมันดิบ Forcados และ น้ำมันดิบ Que Iboe ในเดือนนี้ โดยหากสามารถกลับมาส่งออกน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดได้ตามคาด จะส่งผลให้โดยรวมปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ไนจีเรียยังคงเผชิญความเสี่ยงกับการโจมตีท่อขนส่งน้ำมันดิบและแหล่งผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มทหารภายในประเทศ

 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้ระดับต้นทุนการผลิตที่ 50 เหรียญ ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มปริมาณการขุดเจาะต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 30 ก.ย. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 แท่น มาสู่ระดับ 425 แท่น ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 13 ในช่วง 14 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกว่า 2 ใน 3 ที่เพิ่มขึ้นเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในแหล่งผลิตที่มีต้นทุนต่ำอย่าง Permian

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและภาคการบริการยูโรโซน ดัชนีภาคการผลิตและภาคการบริการสหรัฐฯ การจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงานสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 - 30 ก.ย. 59)

 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 48.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.30 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 50.19 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 45 เหรียญสหรัฐฯ หลังผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตลงและได้กำหนดเพดานการผลิตไว้ที่ประมาณ 32.5 – 33.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกลุ่มโอเปกจะมีการพิจารณาสัดส่วนโควตาการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตแต่ละประเทศในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 30 พ.ย. นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงต่อเนื่องกว่า 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ย. ปรับลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 502.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 3.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบปรับลดลง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!