- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 28 September 2016 18:51
- Hits: 8347
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงหลังอิหร่านปฏิเสธที่จะลดกำลังการผลิตลง
(-) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงกว่า 3 เปอร์เซนต์หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียคาดว่าการประชุมในวันสุดท้ายที่ประเทศแอลจีเรีย ประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปกและรัสเซียไม่น่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องการลดกำลังการผลิต หลังจากที่อิหร่านปฏิเสธข้อเสนอจากซาอุดิอาระเบียในเรื่องของการตรึงกำลังการผลิตและคาดว่าการบรรลุข้อตกลงจะเลื่อนไปในการประชุมโอเปกในช่วงปลายเดือน พ.ย.
(-) นอกจากนี้รัฐมนตรีพลังงานของซาอุดิอาระเบียเปิดเผยว่า สถานการณ์ตอนนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะลดกำลังการผลิตลง ในขณะเดียวกันประเทศสมาชิกทั้งอิหร่าน ลิเบีย และไนจีเรีย ควรได้รับอนุญาตให้เพิ่มกำลังการผลิตให้อยู่ในระดับสูงที่สุด
(+) สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API)เปิดเผยตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง 0.75 ล้านบาร์เรล มาแตะระดับ 506.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3ล้านบาร์เรล ในขณะที่น้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
(-) โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ลง 7 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล สู่ระดับที่ 43 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล เนื่องจากยังคงมีความไม่แน่นอนในเรื่องของระดับกำลังการผลิต และคาดว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจะเพิ่มขึ้น 0.4ล้านบาร์เรล/วัน จากเดิมที่ระดับ 0.3ล้านบาร์เรล/วัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณการส่งออกในเดือน ก.ย. และ ต.ค. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. อย่างไรก็ตาม ราคายังคงได้รับแรงสนับสนุนจากปริมาณความต้องการในอินโดนีเซียที่ปรับเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซียและเคนย่า อย่างไรก็ตามราคายังได้รับแรงกดดันจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 43-48เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกในการหามาตรการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบในวันที่ 26-28 ก.ย. นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการร่วมหารือกัน อย่างไรก็ตาม เลขาธิการกลุ่มโอเปกมองว่าการประชุมครั้งนี้อาจถือเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการเพื่อปรึกษาหารือเท่านั้นอาจยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกิดขึ้น
ลิเบียกลับมาส่งออกน้ำมันดิบปริมาณ 700,000 บาร์เรลออกจากท่าขนส่ง Ras Lanuf เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2014 ในขณะที่ เรือลำที่ 2 ที่ขนส่งน้ำมันดิบ 700,000บาร์เรลต่อวัน ก็เริ่มส่งออกแล้วเช่นกัน
ตลาดน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 3สัปดาห์ และปริมาณน้ำมันเบนซิลคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดไว้