- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 25 July 2014 12:18
- Hits: 2941
ทีเบ็ค-ปาล์มดีศรีนคร เซ็นต์สัญญา สร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพแห่งใหม่
ทีเบ็ค ผู้นำด้านการผลิตก๊าซชีวภาพของไทย ได้ลงนามในสัญญา BOOT กับบริษัทปาล์มดีศรีนคร จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการผลิตไฟฟ้า4.2เมกะวัตต์ ซึ่งจะสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภายใต้โครงการ ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก(VSPP)
นายกุสตาฟ โกลเดนไฮล์ม กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทย ไบโอแก๊ส เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด กล่าวว่า“ด้วยคุณภาพและขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย จึงได้มาซี่งก๊าซชีวภาพ พลังงานที่สะอาดและปลอดภัยที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า สำหรับโครงการนี้สามารถมั่นใจได้ว่า น้ำเสียจะได้รับการบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพ มันจะช่วยลดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรอบ และยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้เทียบเท่ากับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ประมาณ 20,000คันต่อปี โครงการนี้เป็นโครงการก๊าซชีวภาพแบบสัมปทานแห่งที่4 ในพื้นที่ภาคใต้ของเรา ซึ่งวัดรวมกำลังการผลิตของทุกโครงการดังกล่าวก็จะมีกำลังการผลิตถึง13MW ในระยะเวลาอันใกล้นี้ เราคงได้ร่วมยินดีกับการปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนและประสิทธิภาพในกระบวนการออกใบอนุญาตต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศไทย เพื่อเป็นแรงสนับสนุนบรรยากาศในการลงทุนยิ่งขึ้น เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาโครงการเช่นนี้อีกหลายโครงการในแถบภาคใต้ของประเทศไทยในช่วง 2-3ปี ข้างหน้านี้”
ทั้งนี้ นายปัญญา เลาหวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทปาล์มดีศรีนครจำกัด ได้กล่าวอีกว่า“สำหรับบริษัทปาล์มดีศรีนครเอง สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจากผลิตผลทางการเกษตรก็คือความสามารถในการจัดการและบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย หากเราละเลยที่จะทำจัดการกับเรื่องนี้แล้ว อาจส่งผลกระทบจนถึงทำให้โรงงานปิดตัวลงได้ ดังนั้นเราจัดการปัญหานี้โดยเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำเสียและก๊าซชีวภาพมาเป็นผู้จัดการแทน”
โครงการนี้ทีเบ็คได้วางเงินลงทุนทั้งสิ้น230ล้านบาท เพื่อใช้ในการก่อสร้าง และการดำเนินงาน โดยใช้เทคโนโลยี Cover Lagoon Bio Reactor (CLBR) ซึ่ง เป็นบ่อขนาดใหญ่ สามารถรองรับน้ำน้ำเสียได้ถึง1,000ลูกบาศ์เมตร ต่อวัน จากกำลังการผลิตน้ำมันปาล์มจากทะลายปาล์มสด 100 ตัน ต่อชั่วโมง โดยคาดว่าจะสามารถขายไฟฟ้าได้ในปี พ.ศ.2558 โดยจะไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดมาจากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในเขตพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้รับผลกระทบจากการปิดซ่อมบำรุงแหล่งพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย(เจดีเอ) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม และผลกระทบจากการเกิดไฟฟ้าดับครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งโรงไบโอแก๊สแห่งนี้จะเป็น โรงที่10ของทีแบ็ค นับตั้งแต่เปิดดำเนินมาตั้งแต่ ปี พ.ศ 2546