WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL47 สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 1-5 ส.ค. 59 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 8-12 ส.ค. 59

โดยส่วนวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   ในสัปดาห์ล่าสุด ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.74 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 43.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล, ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 1.31 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 40.83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล, และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 0.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 39.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 0.62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 48.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 2.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 48.58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

•          Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. 59 เพิ่มขึ้น 7 แท่น จากสัปดาห์ก่อนหน้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 และเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 9 ในรอบ10 สัปดาห์ล่าสุด มาอยู่ที่ 381 แท่น

•          CFTC รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขาย NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ส.ค. 59 โดยผู้จัดการกองทุนลดสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) ลง 31,031 สัญญา จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 80,320 สัญญา ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6

•          Reuters ประเมินปริมาณการผลิตน้ำมันดิบขององค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of the Petroleum Exporting Countries) หรือกลุ่ม OPEC ในเดือน ก.ค. 59 เพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 33.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากอิรัก ขณะที่ไนจีเรียยังควบคุมการผลิตและการส่งออกได้แม้ถูกกลุ่มก่อการร้าย Niger Delta Avengers โจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมันเป็นระยะ

•          บริษัทน้ำมันแห่งชาติของอิรัก (SOMO) ประกาศปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เดือน ก.ค. 59 เพิ่มขึ้น 80,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ส่งออกน้ำมันดิบจากท่าทางตอนใต้เพิ่มขึ้น 20,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

•          สหภาพแรงงาน RMT ของสหราชอาณาจักร เผยกลุ่มพนักงานซ่อมบำรุงดำเนินการประท้วงหยุดงานที่แหล่งผลิตปิโตรเลียม ของบริษัท Shell ในทะเลเหนือ เป็นเวลา 2 วัน เริ่มต้นวันที่ 4 ส.ค. 59 เนื่องจากไม่พอใจการลดค่าจ้างและปรับเปลี่ยนการทำงาน นับเป็นปีแรกในรอบ 30 ปีที่เกิดเหตุการณ์ประท้วงของพนักงานที่แหล่งผลิตในทะเลเหนือ

•          Energy Information Administration (EIA) ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมัน Gasolineเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุด 29 ก.ค. 59 ลดลง 3.3 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 238.2 ล้านบาร์เรล ลดลงรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบ 5 ปี ช่วยคลายความกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาน้ำมันสำเร็จรูปล้นตลาด

•          ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25 % สู่ระดับ 0.25 % ในการประชุมวันที่ 4 ส.ค. 59 ซึ่งเป็นต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการลดครั้งแรกตั้งแต่ เดือน มี.ค. 52 นอกจากนี้ BOE ประกาศฟื้นโครงการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในวงเงิน 60,000 ล้านปอนด์ ภายใน 6 เดือน และหุ้นกู้ภาคเอกชนวงเงิน 10,000 ล้านปอนด์ ภายใน 18 เดือน

•          คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นอนุมัติงบประมาณวงเงิน 6.2 ล้านล้านเยน (61,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงินรวม 28 ล้านล้านเยน (276,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ขยายท่าอากาศยาน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศซึ่งในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 10 ล้านคน

 

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

     ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเป็นขาลง แม้จะมีกระแสข่าวการเจรจาคงกำลังการผลิต (Production Freeze) ของกลุ่ม OPEC กลับมาอีกครั้ง โดยมีเวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และคูเวต ให้การสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ยังมองว่าแผนดังกล่าวไม่น่าจะประสบผลสำเร็จเนื่องจากผู้ผลิตหลักในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ซาอุดีอาระเบีย อิรัก และอิหร่าน ยังคงอยู่ระหว่างการต่อสู้เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด อาทิ อิรักปรับลดราคาน้ำดิบที่ประกาศอย่างเป็นทางการ หรือ Official Selling Price (OSP) ของน้ำมันดิบ Basra Light สำหรับส่งมอบลูกค้าในเอเชียลง 1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ให้จับตามองการเจรจาของกลุ่มติดอาวุธในลิเบีย ล่าสุด Reuters รายงานท่าส่งออกน้ำมันดิบ Zueitina (150,000 บาร์เรลต่อวัน) ยังไม่สามารถเปิดใช้ได้ เนื่องจากกลุ่ม Libya National Army (LNA) ขู่จะโจมตีเรือขนส่งน้ำมัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการปะทะระหว่างกลุ่ม LNA และกลุ่ม Petroleum Facilities Guard (PFG) ที่ได้ตกลงยอมเปิดท่าส่งออกดังกล่าว ร่วมกับท่า Es Sider (350,000 บาร์เรลต่อวัน) และ Ras Ranuf (200,000 บาร์เรลต่อวัน)

    โดยเซ็นสัญญากับรัฐบาลลิเบีย หากเกิดการปะทะอาจทำให้ท่าส่งออกเกิดความเสียหาย และส่งผลให้ลิเบียไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าระดับปัจจุบัน ที่ประมาณ 330,000 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกประมาณ 280,000 บาร์เรลต่อวัน อีกทั้งนักวิเคราะห์ยังมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้งในเดือน ธ.ค. 59 เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 42.16 - 46.13 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 41.01 - 45.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ, และราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 38.72-42.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

       ราคาน้ำมันเบนซินลดลง เนื่องจากอุปทานในตลาดเอเชียมีเพียงพอ อาทิ หน่วยงานศุลกากรจีนรายงานปริมาณการส่งออก Gasoline ในเดือน มิ.ย. 59 เพิ่มขึ้น 46 % จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 9.4 ล้านบาร์เรล หรือ 1.1 ล้านตัน สูงกว่าระดับ 1 ล้านตัน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ Platts คาดว่าในเดือน ก.ค. 59 นี้ อาจเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.3 ล้านตัน หรือ 11.1 ล้านบาร์เรล และอินโดนีเซียนำเข้า Gasoline ในเดือน ส.ค. 59 ลดลง 820,000 บาร์เรล จากเดือนก่อนหน้า หรือ 8% อยู่ที่ 9.2 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามโรงกลั่นน้ำมัน Cilicap (348,000 บาร์เรลต่อวัน) ในอินโดนีเซีย ปิดซ่อมแซมหน่วย Residual Fluid Catalytic Cracking (RFCC) ขนาด 30,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. 59 คาดว่าจะใช้เวลา 20-25 วัน และปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ ในตลาดหลักทั่วโลกในช่วงปลายสัปดาห์ล่าสุด ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ใช้ Gasoline รายใหญ่ของโลก, International Enterprise Singapore (IES) ของสิงคโปร์รายงานปริมาณสำรอง สัปดาห์สิ้นสุด 3 ส.ค. 59 ลดลง 265,000 บาร์เรล อยู่ที่ 15.1 ล้านบาร์เรล, และ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรอง Gasoline ในยุโรปบริเวณ Amsterdam-Rotterdam-Antwerp (ARA) สัปดาห์สิ้นสุด 4 ส.ค. 59 ลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล หรือ 9.7 % อยู่ที่ 9.9 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 47.22-52.19 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

   ราคาน้ำมันดีเซลสัปดาห์ล่าสุดลดลง โดยปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ ในตลาดหลักทั่วโลกในช่วงปลายสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า อาทิ IES ของสิงคโปร์รายงานปริมาณสำรอง สัปดาห์สิ้นสุด 3 ส.ค. 59 เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 15.4 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 5 ปี, EIA ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรอง Distillates สัปดาห์สิ้นสุด 29 ก.ค. 59 เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 153.2 ล้านบาร์เรล, และ PJK รายงานปริมาณสำรอง Gasoil ในยุโรปบริเวณ ARA สัปดาห์สิ้นสุด 4 ส.ค. 59 เพิ่มขึ้น 0.3 ล้านบาร์เรล หรือ 1.1 % อยู่ที่ 24.5 ล้านบาร์เรล ประกอบกับ Reuters ประเมินรัสเซียส่งออก Ultra-Low Sulphur Diesel (ULSD) จากท่า Primorsk ในเดือน ส.ค. 59 เพิ่มขึ้น 1.0 % จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 7.7 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม China National Offshore Oil Corp. (CNOOC) ของจีนมีแผนลดปริมาณการส่งออก Diesel จากโรงกลั่น Huizhou ในเดือน ส.ค. 59 ลง 0.7 ล้านบาร์เรล จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 1.1 ล้านบาร์เรล และ Egyptian General Petroleum Corp. (EGPC) ของอียิปต์ออกประมูลซื้อ Gasoil 0.1 %S รวม 3 เที่ยวเรือ โดยเที่ยวเรือแรก ปริมาณ 540,000 บาร์เรล ส่งมอบ 28-30 ส.ค. 59 และอีก 2 เที่ยวเรือๆ ละ 230,000-250,000 บาร์เรล ส่งมอบ 19-21, 25-27 ส.ค. 59 และ Saigon Petro ของเวียดนามออกประมูลซื้อ Gasoil 0.05 %S ปริมาณ 75,000 บาร์เรล ส่งมอบ 23-26 ก.ย. 59 สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 47.12-52.09 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!