- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 04 August 2016 19:20
- Hits: 2597
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากน้ำมันเบนซินคงคลังลดลงมากกว่าที่คาดการณ์
+ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 หลังราคาร่วงลงไปต่ำกว่าที่ระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ภายหลังที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานว่าปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ก.ค. ปรับตัวลดลง 3.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับตัวลดลงที่ 2 แสนบาร์เรล
- อย่างไรก็ตาม EIA ได้รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่ทางนักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ว่าปริมาณน้ำมันดิบจะปรับตัวลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน
+/- โกลแมนแซคคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบในปีหน้าจะอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 45-52.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เนื่องจากคาดการณ์ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะปรับตัวอ่อนค่าลง อีกทั้งยังคาดว่าปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไนจีเรียและลิเบีย ยังเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อความไม่แน่นอนของระดับราคาน้ำมัน
- ยอดค้าปลีกกลุ่มยูโรโซนในเดือน ก.ค. คงที่อยู่ที่ระดับเดิมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ายอดการค้าปลีกปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.6 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากผู้บริโภคลดปริมาณการใช้จ่ายในน้ำมันเชื้อเพลิงลงจากภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนที่ยังคงอ่อนแอ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินในประเทศญี่ปุ่นปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตามประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเหนือยังคงมีอุปทานที่ล้นตลาดอยู่
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงซบเซาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและอุปสงค์ที่ลดลงจากหน้ามรสุมในประเทศอินเดียและการห้ามทำการประมงในประเทศจีน
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 39-44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 41-46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดยังไม่คลี่คลาย หลังจากล่าสุดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่ลดลง ประกอบกับปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น
ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานจากสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวได้ดีก่อนหน้านี้
ลิเบียอาจชะลอการเปิดดำเนินการท่าส่งออกน้ำดิบสำคัญของประเทศ ได้แก่ Es-Sider และ Ras Lanuf ออกไปก่อน หลังจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับค่าตอบแทนของหน่วยรักษาความปลอดภัย รวมถึงการคัดค้านการรวมตัวกันของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยก่อนหน้านี้ ลิเบียเคยแสดงความพร้อมที่จะฟื้นฟูกำลังการผลิตน้ำมันดิบสู่ระดับ 700,000 บาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปีนี้ หากท่าส่งออกที่ใหญ่ที่สุดดังกล่าวกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ