WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ERCวระพล จรประดษฐกลผลจับสลากโซลาร์ฟาร์มสหกรณ์ผ่าน 67 ราย รวม 281.32 MW เบื้องต้น BCP-TSE-GUNKUL-SOLAR ได้

     นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และโฆษก กกพ. กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกประกาศผลการจับสลากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) สำหรับหน่วยงานภาคการเกษตรในวันนี้ พบว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 67 ราย กำลังการผลิตรวม 281.32 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น พื้นที่ภาคกลาง 25 ราย รวม 108.2 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันตก 18 ราย รวม 76 เมกะวัตต์ , ภาคตะวันออก 17 ราย รวม  70.47 เมกะวัตต์ ,ภาคเหนือ 1 ราย กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ และพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง 6 ราย รวม 21.65 เมกะวัตต์

     สำหรับ กำลังการผลิตที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดในรอบนี้มีเพียง 281.2 เมกะวัตต์ จากที่จะรับซื้อทั้งหมด 300 เมกะวัตต์ ทำให้มีกำลังการผลิตคงเหลือซึ่งจะนำไปรวมกับการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร ระยะที่ 2 เป็นจำนวนรวมกว่า 500 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น หน่วยงานราชการ 400 เมกะวัตต์ และส่วนที่เหลือกว่า 100 เมกะวัตต์เป็นของหน่วยงานสหกรณ์ภาคการเกษตร เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถประกาศรับซื้อไฟฟ้าระยะที่ 2 ได้ในราวปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า

    หลังจากนี้ สำนักงาน กกพ.จะนำรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในวันนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ กกพ.นัดพิเศษในวันที่ 25 เม.ย.เพื่อประกาศรับรองผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 เม.ย.นี้ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนจำหน่ายภายใน 120 วัน และต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในวันที่ 31 ธ.ค.59  โดยมีอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี ในอัตราค่าไฟฟ้า FiT ที่ 5.66 บาท/หน่วย

       ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการคัดเลือกจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทผู้สนับสนุนโครงการได้ และภายใน 3 ปีสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ของผู้สนับสนุนโครงการจะต้องไม่ต่ำกว่า 50%

      อนึ่ง กกพ.ออกประกาศและหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการฯไม่เกิน 800 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะรับซื้อจำนวน 600 เมกะวัตต์ ซึ่งมีผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมจับสลากในวันนี้จำนวน 167 ราย กำลังการผลิตรวม 798.62 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตรทั้งหมด ขณะที่กลุ่มข้าราชการถูกตัดสิทธิในรอบนี้ เพราะขัดหลักเกณฑ์พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ทำให้การจับสลากระยะแรกจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 300 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโควตาของกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตรเท่านั้น

     ส่วนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายแห่งได้ยื่นเป็นผู้สนับสนุนโครงการของกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร ยกตัวอย่างเช่น บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) ซึ่งในวันนี้สามารถจับสลากได้ 3 โครงการ รวม 12 เมกะวัตต์ ในจ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.อ่างทอง

     ขณะที่ บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) จับสลากได้ 2 โครงการรวม 6 เมกะวัตต์ จากที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาทั้งหมด 3 โครงการ ,บมจ.โซลาร์ตรอน (SOLAR) จับสลากได้ 3 โครงการ รวม 9 เมกะวัตต์ จากที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามา 10 โครงการ รวม 50 เมกะวัตต์  ขณะที่ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) จับสลากได้ 1 โครงการ รวม 5 เมกะวัตต์ จากที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามา 2 โครงการ เป็นต้น

กกพ.คาดสรุปผลจับสลากโซลาร์สหกรณ์อย่างไม่เป็นทางการบ่าย 2 วันนี้

       นายประเทศ ศรีชมภู ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เชื่อมั่นว่าการจับสลากโครงการโซลาร์ส่วนราชการ สำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตรที่ผ่านคุณสมบัติ 167 รายในวันนี้จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

     ขณะที่กลุ่มสหกรณ์เจ้าของโครงการที่ผ่านการคัดเลือกให้ความสนใจมารอลงทะเบียนตั้งแต่เช้าก่อนเวลาเปิดให้ลงทะเบียนในเวลา 8.00 น. และยืนยันกระบวนการดำเนินการคัดเลือกในวันนี้จะมีความโปร่งใสและเป็นธรรม  ขั้นตอนจัดทำและบรรจุสลากลงในลูกบอลลำดับจะกระทำต่อหน้าสักขีพยานจากหลายหน่วยงานจากภายนอก อาทิ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนหน่วยงานกระทรวงพลังงาน และผู้แทนสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งผู้จับสลากจะได้เห็นลำดับที่ได้ของทุกดครงการก่อนที่จะนำไปประมวลผลและประกาศอย่างไม่เป็นทางการเมื่อจับสลากทุกโครงการเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าจะทราบผลทั้งหมดภายในเวลา 14.00 น. ส่วนผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ ทางสำนักงานกกพ.จะประกาศผลในวันที่ 26 เม.ย.

       ด้านเจ้าหน้าที่ของบริษัท โซลาร์ รีฟอร์ม จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนโครงการโซลาร์มสหกรณ์ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทได้ยื่นเป็นผู้สนับสนุนโครงการเพื่อเข้าร่วมโครงการโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการฯรวม 18 โครงการ ซึ่งมีทั้งหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร โดยมีเพียง 1 โครงการของสหกรณ์ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาจับสลากในครั้งนี้ โดยโครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการรับซื้อไฟฟ้าเพียง 5 เมกะวัตต์เท่านั้น ขณะที่เบื่องต้นทราบว่ามีผู้ที่เข้าร่วมจับสลากในพื้นที่ภาคเหนือราว 10 โครงการ

    อินโฟเควสท์

สำนักงาน กกพ. จัดการจับสลากคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน

     ตามที่ อ้างถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดการเกี่ยวกับขั้นตอนการประกาศรายชื่อโครงการที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการการคัดเลือกโดยวิธีการจับสลาก การแสดงผลการคัดเลือก และการประกาศรายชื่อโครงการที่ผ่านการพิจารณาอย่างเป็นทางการ สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร (โครงการฯ) แล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 นั้น

      ในการนี้ เพื่อให้ทุกขั้นตอนของกระบวนคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าในโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใส สำนักงาน กกพ. จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่าน เข้าร่วมสังเกตการณ์และทำข่าวการจับสลากเพื่อคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าในโครงการฯ และร่วมสัมภาษณ์หรือซักถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ในโครงการฯ ได้จากนายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. และ/หรือผู้บริหารสำนักงาน กกพ. ในวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 08.0015.00 น. ณ ห้องประชุมวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!