WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OPEC ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อ หลังการประชุมของ 18 ประเทศผู้นำด้านการผลิตน้ำมัน ณ กรุงโดฮา ล้มเหลว

  - ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง หลังผลการประชุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกรวมทั้งหมด 18 ประเทศ ประสบความล้มเหลว โดยไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการตรึงกำลังการผลิตเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งซาอุดิอาระเบียยืนยันว่าจะไม่คงกำลังการผลิตหากอิหร่านยังไม่ยอมให้ความร่วมมือ

  - นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานในสหรัฐฯ หลังสำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) เปิดเผยผลสำรวจปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล

  + อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากเหตุการณ์ประท้วงของคนงานคูเวตที่รวมตัวกันหยุดงาน ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของคูเวตปรับลดลงกว่าร้อยละ 60 ส่งผลให้การผลิตน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากระดับเดิมที่ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่การกลั่นน้ำมันลดลงจาก 930,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 520,000 บาร์เรลต่อวัน

  + สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) รายงานว่าตลาดที่อยู่อาศัยของจีนยังคงฟื้นตัว โดยผลการสำรวจระบุว่า ราคาบ้านในจีนปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 4.9% ในเดือน มี.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 3.6%

  ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงล้นตลาด อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในจีนที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะเดือน พ.ค. และ มิ.ย. ช่วยหนุนตลาด นอกจากนี้ โรงกลั่นน้ำมันในคูเวตปรับลดกำลังการผลิตลงเหลือร้อยละ 44 เนื่องจากประสบปัญหาคนงานประท้วง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินลดลง

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์จากจีนมีแนวโน้มลดลงในเดือน พ.ค. หลังโรงกลั่นน้ำมันเตรียมกลับมาดำเนินการผลิตหลังจากหยุดซ่อมบำรุง อย่างไรก็ดี ตลาดยังมีแรงหนุนจากอุปสงค์ในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียที่ปรับตัวดีขึ้น

 

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 36-42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 38-44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

 จับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 21 เม.ย. นี้ว่า ECB จะมีการพิจารณาการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากก่อนหน้านี้  ECB ลงมติเพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์รายเดือนเป็น 8 หมื่นล้านยูโร (ราว 3.06 ล้านล้านบาท) จากเดิม 6 หมื่นล้านยูโร

 ติดตามสถานการณ์ที่คูเวต หลังสหภาพแรงงานน้ำมันประท้วงรัฐบาลในประเด็นการปรับลดอัตราค่าจ้าง และแผนการแปรรูป ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของคูเวตปรับลดลงกว่าร้อยละ 60 มาอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26-27 เม.ย. นี้ ว่าจะมีการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่ 0.25 – 0.50% หรือไม่ โดยตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง

 Daily_Oil_TH 2016.04.19             

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!