WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL4ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 28 มี.ค. - 1 เม.ย. 59 และสรุปสถานการณ์ฯ 21-25 มี.ค. 59

           

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (28 มีค. 1 เมย. 59)

 ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดว่าจะผันผวน จากความไม่แน่นอนของผลการประชุมของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17 เม.ย. ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับเดียวกับเดือน ม.ค.59 นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสะท้อนภาวะอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงล้นตลาด รวมไปถึงความกังวลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อาจกลับมาแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวพุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอาจจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจโน้มน้าวให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาดำเนินการผลิตใหม่ ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 สัปดาห์ รวมไปถึงจำนวนหลุมขุดเจาะแบบไม่เสร็จสมบูรณ์(Drilled but Uncompleted Wells (DUCs)) ของผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ บางรายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ผลิตสามารถผลิตน้ำมันดิบจากหลุมเหล่านี้ได้ทันที หากราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้น

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

      ตลาดยังคงจับตาการประชุมระหว่างกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกราว 13 ประเทศ ในวันที่ 17 เม.ย. ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อตกลงในการคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับเดียวกับ ม.ค.59 และรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันดิบ อย่างไรก็ดี ล่าสุดสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ให้ความเห็นว่าการประชุมดังกล่าวอาจจะไม่มีความหมายและนัยสำคัญที่จะพยุงราคาน้ำมันดิบให้กลับมาฟื้นตัวได้ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียจะเพิ่มกำลังการผลิต รวมไปถึงอิหร่านและลิเบียที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะไม่เข้าร่วมการประชุม

 ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ (สิ้นสุด ณ วันที่ 18 มี.ค.) ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 9.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ถึงสามเท่า แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 532.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่สูงขึ้นกว่า 691,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 8.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวพุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจโน้มน้าวให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กลับมาดำเนินการผลิตใหม่ ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 สัปดาห์ โดย Baker Hughes รายงานตัวเลขจานวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ (สิ้นสุด ณ วันที่ 18 มี.ค.) ปรับเพิ่มขึ้น 1 แท่น สู่ระดับ 387 แท่น นอกจากนี้ ผู้ผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) บางรายยังคงทำการเพิ่มจำนวนหลุมขุดเจาะแบบไม่เสร็จสมบูรณ์(Drilled but Uncompleted Wells (DUCs)) เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการเตรียมผลิตน้ำมันดิบเพิ่มหากราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงระดับจุดคุ้มทุน นอกจากนี้ ผู้ผลิตบางรายมีแนวโน้มที่จะเปิดดำเนินการหลุมขุดเจาะได้ทุกเวลา เนื่องจากได้ประกันความเสี่ยงด้านราคา (Hedging) สำหรับปี 2559 ไว้ในระดับสูงกว่าราคาตลาดในปัจจุบันมากกว่า 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเป็นต้น

 นักวิเคราะห์ในวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่าค่าเงินดอลล่าร์ที่จะอ่อนตัวลงเพียงในระยะสั้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)

        อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือน มิ.ย. ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ดี การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงาน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้จากแผนเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้ง และมีเพดานอยู่ที่ระดับ 0.875% ในปี 59

 ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายจ่ายในการบริโภคของบุคคล รายได้ส่วนบุคคล ความเชื่อมันผู้บริโภค จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก และรายได้นอกภาคการเกษตร และดัชนีภาคการผลิต (ISM PMI) ของสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน และดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS, CAIXIN PMI)

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (2125 มี.ค. 59)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 39.46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง 0.76 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 40.44 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่  35.87เหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 9.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ประมาณ 3 เท่า สู่ระดับสูงสุดในรอบประวัติการณ์ ประกอบกับความไม่แน่นอนในการหารือกันระหว่างผู้ผลิตที่จะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดือน ม.ค. หลังจากลิเบียประกาศจะไม่เข้าร่วมประชุมในวันที่ 17 เม.ย. เช่นเดียวกันกับอิหร่าน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันหลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากชั้นหินดินดาน (Shale Oil Producers) ที่สามารถกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันที หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนได้จากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 สัปดาห์

Weekly_Oil_TH_2016 03 24

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!