WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL37สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 21-25 มี.ค. 59 และแนวโน้มสัปดาห์ที่  28 มี.ค. -1 เม.ย. 59

โดยส่วนวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

     สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นทุกชนิด น้ำมันดิบเบรนท์ (ICE Brent) ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.79  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  41.06 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ (Dubai)  เพิ่มขึ้น 1.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  36.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 40.56  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในส่วนของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปราคาเฉลี่ยน้ำมัน เบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 1.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 54.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  47.15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่

 

ปัจจัยที่สนับสนุนราคาน้ำมันดิบ

·       ประเทศผู้ผลิตน้ำมันตอบรับเข้าร่วมการประชุมของกลุ่มผู้ผลิต OPEC และ Non-OPEC เกี่ยวกับการคงปริมาณการผลิต "Production Freeze" ในวันที่ 17 เม.ย. 59 ที่กรุงโดฮาประเทศกาตาร์  ล่าสุดนาย Suhail Al-Mazrouei รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยืนยันร่วมประชุม

·       กรมศุลกากรจีน (General  Administration of Customs) รายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนเดือน ก.พ. 59 อยู่ที่ 8.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 27% และจากปีก่อน 20%) เนื่องจากโรงกลั่นอิสระนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้น และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในประเทศเริ่มลดลง

·       Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ของสหรัฐฯ รายงาน สถานะการลงทุนในสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาด NYMEX ที่นิวยอร์ก และตลาด ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มี.ค. 59 กลุ่มผู้จัดการกองทุนเพิ่มสถานะการถือครองสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 43,193 สัญญา หรือ 25% มาอยู่ที่ 215,227 สัญญา เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5

·       กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Clamis) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มี.ค. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 6,000 ราย อยู่ที่ระดับ 265,000 ราย อยู่ระดับต่ำกว่า 300,000 ราย ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 55 ยาวนานที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516       

·       Baker Hughes รายงานจำนวน Oil Rig - อุปกรณ์ขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 มี.ค. 59 ลดลง 15 แท่น มาอยู่ที่ 372 แท่น แตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ พ.ย. 2552

 

ปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบ

·       Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 9.4 ล้านบาร์เรล สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินถึง 3 เท่า และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ มาอยู่ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 532.5 ล้านบาร์เรล

·       อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบให้ลูกค้าในเอเชีย อาทิ อินเดีย และเกาหลีใต้ คล่องตัวขึ้นเพราะ Protection Indemnity  (P & I club)  หรือสมาคมประกันภัยของยุโรป และ Japan Ship Owners’ Mutual Protection & Indemnity สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองการขนส่งสำหรับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ หรือ  VLCC ที่ขนส่งน้ำมันดิบจากอิหร่านในวงเงิน ต่อเที่ยวเรือ 560 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านจากเดิมแบบ CFR มาเป็นแบบ FOB ที่ผู้ซื้อจัดหาเรือขนส่งได้ง่ายขึ้น

 

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

       ตลาดน้ำมันปิดดำเนินการจากวันหยุด Good Firday อย่างไรก็ดีอุปทานน้ำมันยังคงล้นตลาดโดย Reuters รายงานการส่งมอบน้ำมันดิบจากทะเลเหนือเดือน มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 370,000 บาร์เรล ขณะที่อิรักส่งออกที่ 3.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่ 1-23 มี.ค.59 ใกล้กับปริมาณสูงสุด 3.37 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ยฺ.58 และ IHS รายงานผลการศึกษาต้นทุนการผลิต Shale oil ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเพราะประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น โดยต้นทุนการผลิตลดลงจากปี 2558 ที่ลดลงจากปีก่อน 15-18%  และลดลงต่อเนื่องในปี 2559 อีก 3-5% อย่างไรก็ตาม GDP ของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นได้แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นบ่งชี้ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในสหรัฐฯ ลดลง

      ขณะที่การนำเข้าน้ำมันดิบของจีนมีแนวโน้มแข็งแกร่ง ทั้งจากการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มเป็นน้ำมันสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) และอุปสงค์น้ำมันที่นักวิเคราะห์ของ Standard Chartered ระบุ Apparent Oil Demand (อุปสงค์น้ำมันที่คิดจากปริมาณน้ำมันดิบที่เข้าสู่กระบวนการกลั่นและปริมาณการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป) ของจีนปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.2% มาอยู่ที่ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และประเมินปี 2559 จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.5% ทั้งนี้การบริโภคน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของจีนคิดเป็น 30% ของอัตราการเติบโตของโลก ทางเทคนิคสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่กรอบ 3843 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ ราคาน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ระหว่าง 3742 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ DUBAI อยู่ในกรอบ 34- 39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

    ราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ น้ำมันเบนซิน ในสหรัฐฯ แข็งแกร่ง โดย EIA ประเมินในช่วง 4 สัปดาห์สิ้นสุด 18 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้น 45,000 บาร์เรล จากสัปดาห์ก่อน และเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรลจากปีก่อนอยู่ที่ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน   แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงเดียวกันของปี และทำลายสถิติก่อนหน้า ในปี 2552 ที่ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน  ขณะที่อุปทาน Light Distillates ในตะวันออกกลางตึงตัว โดยโรงกลั่น Abu Dhabi Oil Refining Co.  ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังคงปิดดำเนินการหน่วย RFCC ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีกำลังการผลิต 127,000  บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ก.ค. 58 ทั้งนี้หน่วย RFCC ของโรงกลั่น PetroRabigh (กำลังการกลั่น 92,000  บาร์เรลต่อวัน) ยังไม่มีท่าทีกลับมาเปิดดำเนินการหลังจากปิดไปเมื่อเดือน ธ.ค. 58 

     อีกทั้ง International Enterprise Singapore  รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 มี.ค. 59  ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 392,000  บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 14.73 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ รวมถึง Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มี.ค. 59 ลดลง 336,000 บาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 10.77 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามปริมาณอุปทานน้ำมันเบนซินในเอเชียยังอยู่ในระดับสูงโดยกรมศุลกากรจีนรายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนในเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นกว่า 1.5 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 มาอยู่ที่ 5.1 ล้านบาร์เรล ขณะที่ Petroleum Planning and Analysis Cell (PPAC) ของอินเดียรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซิน ในเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้น 595,000 บาร์เรลจากเดือนก่อนหน้า หรือ 4.6% อยู่ที่ 11.3 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 52-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล        

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

    ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นจาก Reuters รายงานอุปทานในเอเชียตึงตัวเนื่องจากโรงกลั่นเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง โดยเฉพาะโรงกลั่นในอินเดีย อาทิ Indian Oil Corp. และ Hindustan Petroleum Corp. ออกประมูลซื้อน้ำมันดีเซล สำหรับเดือน เม.ย. 59 ปริมาณรวม 1.7 ล้านบาร์เรล เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศ และ PPAC ของอินเดียรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดีเซล ในเดือน ก.พ. 59 ลดลงจากเดือนก่อน 225,000 บาร์เรล หรือ 1.3% อยู่ที่ 17.6 ล้านบาร์เรล และ Mangalore Refinery and Petrochemicals Ltd. มีแผนปิดซ่อมบำรุงหน่วย CDU (กำลังการกลั่น 120,000 บาร์เรลต่อวัน) และหน่วย Hydrocracker (กำลังการผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่โรงกลั่น Karnataka (กำลังการกลั่น 300,000 บาร์เรลต่อวัน) ในช่วงต้นเดือน เม.ย. 59 

      อย่างไรก็ตาม ปริมาณสำรองในเอเชียและปริมาณการส่งออกของจีนอาจกดดันราคา โดย IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 มี.ค. 59  เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 385,000  บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 13.64 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 5 เดือน และ กรมศุลกากรจีนรายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลของจีนในเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 5.9 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 44-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล            

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!