- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 22 March 2016 10:44
- Hits: 1441
กฟผ.เคาะงบลงทุน 5 ปี 5 แสนล.คงกำลังผลิตสร้างอำนาจต่อรองค่าไฟ
ไทยโพสต์ : บางกรวย * 'อารีพงศ์'เผย 5 ปี กฟผ.เตรียมทุ่ม 5 แสนล้าน ปรับปรุงระบบส่งภาคใต้ หวังกู้วิกฤติไฟฟ้าไม่เพียงพอ วอนชาวบ้านเข้าใจความจำเป็นที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ พร้อมสั่งเร่งจัดทำยุทธศาสตร์ผลิตไฟฟ้า เพื่อคงสัดส่วนการผลิตไฟไว้ที่ 50% เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองค่าไฟฟ้ากับเอกชน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประ ธานกรรมการ (บอร์ด) การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เปิดเผยถึงแผนลงทุนในช่วง 5 ปี (2559-2563) ว่าได้เตรียมงบ ลงทุนไว้ 5 แสนล้านบาท เพื่อลงทุนด้านสายส่งเป็นหลัก ซึ่ง ในปี 2559 นี้ จะใช้งบจำนวน 6 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบสายส่งช่วงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์-จังหวัดภูเก็ต และเชื่อมไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ เป็นขนาด 500 กิโลโวลต์ จากเดิมมีขนาด 230 กิโลโวลต์ ซึ่ง ล่าสุดยังติดปัญหาเรื่องการเวน คืนที่ดิน ซึ่ง กฟผ.อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองเรื่องราคาที่ดิน กับชาวบ้าน
"การปรับปรุงสายส่งดังกล่าวนั้น จะสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะในกรณีไฟฟ้าไม่เพียงพอ ให้สามารถส่งไฟฟ้าจากภาคกลางลงไปช่วยเต็มที่ ซึ่งในปี 2562 การไฟฟ้าในภาค ใต้จะวิกฤติหนัก เพราะปริมาณการใช้เท่ากับการผลิต คือ 2,800-2,900 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ ตาม กระทรวงจะเร่งติดตามแผน การลงทุนด้านสายส่งของ กฟผ. เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้อง กับความต้องการใช้ไฟฟ้า" นายอารีพงศ์กล่าว
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า เพื่อความมั่นใจของระบบไฟฟ้า ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ทำให้ กฟผ.ต้องเร่งก่อสร้างโครงการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ขนาด 800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเทพา 1 และ 2 ใน จ.สงขลา 2,000 เมกะวัตต์ ดังนั้นจึงอยากให้ประ ชาชนในพื้นที่ภาคใต้เข้าใจถึงความจำเป็น ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีใหม่
"หากโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดไม่ได้ กระทรวงพลังงานเองก็คงต้องมีแผน 2 และ 3 รองรับ อาจต้องลงทุนระบบสายส่งเพิ่ม ซึ่งคงต้องใช้เงินทุนอีกแสนล้าน รวมทั้งการพิจารณาเชื้อเพลิงอื่น อาทิ การจะเพิ่มปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือไม่ ต้องพิจารณาวัตถุดิบจากเกษตร ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการวางแผน วัตถุดิบต้องเพียงพอ การจะเรียกร้องให้พลังงานทด แทนเป็นเชื้อเพลิงหลักตอนนี้ไม่ได้ การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านก็อาจมีความกังวลเรื่อง ความมั่นคง" นายอารีพงศ์กล่าว
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า ได้ สั่งการให้ กฟผ.เร่งจัดทำยุทธ ศาสตร์การดำเนินงาน เพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุ บัน ทั้งแผนการลงทุน โรงไฟฟ้าและสายส่งภายในประเทศ เพื่อคงการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าหลักของประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดไว้ว่า กฟผ.ควรมีสัดส่วนผลิตไฟฟ้า 50% และเอกชน 50% ซึ่งจะนำเรื่องดังกล่าวหารือในที่ประชุมบอร์ด กฟผ. วันที่ 23 มี.ค.นี้
"กฟผ.ต้องเป็นผู้ผลิตหลัก ของประเทศ เพราะทำให้รัฐมีความคล่องตัวในการกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะในด้านราคา ค่าไฟฟ้า รวมถึงการกำหนดให้โรงไฟฟ้าเลื่อนจ่ายไฟฟ้าออกไป เมื่อพบว่าหากเข้าระบบพร้อมโรง ไฟฟ้าเอกชนจะทำให้สำรองไฟ ฟ้าสูงเกินไปจนกระทบต่อค่าไฟ ฟ้า ซึ่งประเด็นเหล่านี้ไม่สามารถ สั่งการต่อผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนได้ ปัจจุบันสัดส่วนผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ลดลงไปพอสมควร ส่วนจะกลับขึ้นมาได้ตามมติ ครม.หรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนโรงไฟฟ้าต่างๆ ว่าสามารถ ดำเนินการได้หรือไม่" นายอารีพงศ์กล่าว
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า เดือน มิ.ย.59 นี้ นายสุนชัย คำ นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าฯ กฟผ.จะหมดวาระลง บอร์ด กฟผ.จึงมีการตั้งกรรมการสรรหา เพื่อรับสมัครผู้ว่าฯ กฟผ.คนใหม่ คาดว่าจะสามารถพิจารณาและคัดเลือกได้ภายในเดือน พ.ค.นี้.
กฟผ.ห่วงโรงไฟฟ้าถ่านหินล่ม ดันต้นทุนระบบสายส่ง ต้องใช้งบเพิ่มแสนล้าน
แนวหน้า : 'อารีพงศ์'ยันโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องเดินหน้าต่อไป หากเกิดขึ้นไม่ได้ รัฐต้องลงทุนระบบสายส่งเพิ่มอีกแสนล้าน เผยปรับปรุงสายส่งใหม่คืบ เหลือติดปัญหาเวนคืนที่ดินบางแห่ง ระบุภาคใต้จะเริ่มวิกฤติไฟฟ้าปี 2562
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานประธานกรรมการ(บอร์ด)การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ได้มีนโยบายให้กฟผ.จัดทำยุทธศาสตร์ ทิศทางการทำงานที่ต้องสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัจจุบันไทยถือเป็นผู้นำด้านไฟฟ้า ทั้งแผนการลงทุนทั้งโรงไฟฟ้า และสายส่งภายในประเทศเพื่อคงการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าหลักของประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่กำหนดไว้ว่ากฟผ.ควรมีสัดส่วนผลิตไฟฟ้า 50% และเอกชน 50% การทำแผนการลงทุนต่างประเทศ อาทิ ความร่วมมือการซื้อไฟฟ้าจาก ต่างประเทศ รวมทั้งการเป็นผู้ซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าให้กับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยจะมีการประชุมบอร์ดกฟผ.นัดที่ 2 วันที่ 23 มี.ค.นี้
สำหรับ แผนการลงทุน 5 ปี(2559-63) วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ของกฟผ. จะต้องมีการพิจารณาความเหมาะสม อย่างเนื่องเช่นกัน โดยการลงทุนหลักของวงเงินดังกล่าวเป็นด้านสายส่ง โดยเฉพาะปี 2559 นี้ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 6 หมื่นล้าน เพื่อลงทุนปรับปรุงระบบสายส่งจาก 230 กิโลโวลต์ เป็น 500 กิโลโวลต์ เส้นทางจากจ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปยัง.ภูเก็ต และเชื่อมไป จ.นครศรีธรรมราช
นายอารีพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแต่ยังติดปัญหาเรื่องการเวนคืนพื้นที่ของประชาชน ซึ่งกฟผ.จะต้องทำการเจรจาต่อรองเรื่องราคาที่ดิน ต่อไป มั่นใจว่าการลงทุนสายส่งเส้นนี้จะสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในพื้นที่ ภาคใต้ได้ กรณีไฟฟ้าไม่เพียงพอก็สามารถส่งไฟฟ้าจากภาคกลางลงไปช่วยเต็มที่ ส่วนกรณีที่กฟผ.ระบุว่าตามแผนโครงการสายส่งจะเสร็จปี 2563 ขณะที่พื้นที่ภาคใต้จะเริ่มวิกฤติไฟฟ้าปี 2562 เพราะปริมาณใช้ไฟฟ้า และผลิตจะเท่ากันอยู่ที่ 2,800-2,900 เมกะวัตต์นั้น จะติดตามแผนการลงทุนนี้อีกครั้ง
นอกจากนี้ อีกปัจจัยด้านความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ที่กฟผ.ต้องเร่งดำเนินการ คือ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในจ.กระบี่ 800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเทพา 1 และ 2 ในจ.สงขลา 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งประเด็นนี้อยากให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เข้าใจถึงความจำเป็น ปริมาณไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้มีน้อย และการเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินชุดนี้หากเทียบกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศ(พีดีพี) 20 ปี สิ้นสุดแผนปี 2579 มีการกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเป็น 20% เพิ่มจากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 18% สัดส่วนน้อยมาก และเทคโนโลยีที่ใช้ก็เป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงมีใช้น้อยในประเทศญี่ปุ่น และเยอรมนี มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าก๊าซธรรมชาติเล็กน้อย
"หากโรงไฟฟ้า ถ่านหินเกิดไม่ได้ กระทรวงพลังงานเองก็คงต้องมีแผน 2 และ 3 รองรับ อาจต้องลงทุนระบบสายส่งเพิ่มซึ่งคงต้องใช้เงินทุนอีกแสนล้าน รวมทั้ง การพิจารณาเชื้อเพลิงอื่น อาทิ การจะเพิ่มปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือไม่ ต้องพิจารณาวัตถุดิบจากเกษตร ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการวางแผน วัตถุดิบต้องเพียงพอ การจะเรียกร้องให้พลังงานทดแทนเป็น เชื้อเพลิงหลักตอนนี้ไม่ได้ การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านก็อาจมีความกังวลเรื่องความมั่นคง"นายอารี พงศ์กล่าว
ขณะที่ความคืบหน้าการศึกษาโครงการก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (เอฟเอสอาร์ยู) ขนาด 4 ล้านตัน เพื่อนำก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กำลังผลิต 1,300 เมกะวัตต์ มูลค่า 30,000 ล้านบาท ลด ความเสี่ยงจากการซื้อก๊าซจากบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เป็นหลักนั้น จะดูภาพใหญ่อีกครั้ง แต่ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) กำหนดไว้ชัดเจนว่าให้มีผู้ลงทุนในธุรกิจแอลเอ็นจีเพิ่มเติม ดังนั้นจะให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.)พิจารณารายละเอียดที่เหมาะสมอีกครั้ง