- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 21 March 2016 22:55
- Hits: 2536
ก.พลังงาน วอนปชช.ประหยัดไฟฟ้าช่วงหน้าร้อน หวังลดเป้าใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีนี้เหลือ 28,500 MW จากคาดการณ์ที่ 29,018 MW
พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานกิจกรรมรณรงค์ "รวมพลังคนไทย ลดพีคไฟฟ้า" ซึ่งจัดโดยสำนักงานนโยบายและแผน พลังงาน (สนพ.) โดยในปีนี้กระทรวงพลังงานได้ประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ของประเทศ ที่ระดับ 29,018 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 6% จากปี 58 ซึ่งมีพีคอยู่ที่ระดับ 27,346 เมกะ วัตต์ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมากขึ้น
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอความร่วม มือประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และเอกชน ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนเป็นพิเศษ เพื่อความ มั่นคงของระบบไฟฟ้าโดยรวมผ่านกิจกรรมรณรงค์ดังกล่าว ด้วยการ"ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน"วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 14.00 -15.00 น. เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 20 มี.ค.-20 พ.ค.59 ซึ่ง จะมีส่วนช่วยให้พีคในช่วงฤดูร้อนปีนี้อยู่ที่ระดับ 28,500 เมกะวัตต์ ต่ำกว่าเป้าที่ 29,018 เมกะวัตต์
โดยช่วงพีคของประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นปีละ 600 เมกะวัตต์ โดย ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในช่วงเวลา 14.00 - 15.00 น. ซึ่งในฤดูร้อนของแต่ละปี (ปลายเดือนมี.ค.-พ.ค.) มีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ บรรเทาอากาศร้อนด้วยการ เปิดเครื่องปรับอากาศโดยลดระดับอุณหภูมิทำให้ Compressor ของ เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ซึ่งมีสถิติว่าอุณหภูมิที่เพิ่มทุก 1 องศา จะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ประมาณ 350 เมกะวัตต์ โดยในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานว่าในช่วงฤดูร้อนนี้อุณหภูมิสูงสุดจะ แตะ 44 องศาเซลเซียส ทำให้ยังมีการใช้เครื่องปรับอากาศและปรับลดระดับอุณหภูมิมากขึ้น และ อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานยาวนานขึ้น
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสนพ. และโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ผลจากการรณรงค์ "รวมพลัง คนไทย ลดพีคไฟฟ้า"ตลอดระยะเวลา 2 เดือนนี้ จะทำให้ประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และเอกชน เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญที่ ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า ทำให้พี่คปี 59 ในช่วงฤดูร้อนอยู่ที่ ระดับ 28,500 เมกะวัตต์ ต่ำกว่า 29,018 เมกะวัตต์
กฟผ.ยันแหล่งก๊าซฯ ซอติก้าของเมียนมาร์หยุดซ่อม 19-28 มี.ค.นี้ ไม่กระทบผู้ใช้ไฟฟ้า
นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งซอติก้า สหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 19-28 มีนาคม 2559 เพื่อการบำรุงรักษาประจำปี ทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ส่งมา จากสหภาพเมียนมาร์หายไปประมาณ 630 ล้านลูกบาศก์ต่อฟุต/วัน จากปกติส่งให้วันละ 1,100 ล้านลูกบาศก์ต่อฟุต/วัน ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในฝั่งภาคตะวันตกบางส่วนไม่มีเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม กฟผ. ได้สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ฝั่งภาคตะวันออก และโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว และเดินเครื่องด้วยน้ำมันบางส่วนทดแทน โดย มั่นใจว่ากรณีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ
ทั้งนี้ ขอให้ความมั่นใจว่าการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งซอติก้าในช่วงดังกล่าว ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า แต่ขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันประหยัดไฟฟ้า ตามมาตรการ 4 ป. คือ ปิดไฟฟ้าดวงที่ไม่ได้ใช้ ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊ก ไฟที่ ไม่ใช้ และเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงาน ตลอดจนประหยัดการใช้น้ำในช่วงวิกฤตภัยแล้งด้วย ซึ่ง จากภาวะภัยแล้งจัดจากเอลนิโญ ส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สามารถติดตามดู สถานการณ์การใช้ไฟฟ้าประจำวันตลอดเวลาแบบ Real Time ได้ที่ www.so.egat.co.th/genmapchart/GenChartEN.aspx เพื่อช่วยกันรณรงค์ลดการใช้พลังงาน ร่วมกันทั้งประเทศ
"กฟผ. ได้ปลดโรงไฟฟ้าภาคตะวันตกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เหลือเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ราชบุรี เครื่องที่ 1, 2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1, 2 โรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ 3 และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีเดินเครื่องทดแทนด้วยน้ำมัน ส่วนภาคตะวันออกได้เดินเครื่องเพิ่มที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกงด้วย น้ำมันบางส่วน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเอกชนด้วยน้ำมันบางส่วนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว ทดแทน เสริมความมั่นคง ของระบบให้มีความมั่นคงขึ้น "นายสุธน กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย