WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL36ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 2125 มี.ค.59 และสรุปสถานการณ์ฯ 1418 มี.ค.59

               

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (2125 มี.ค. 59)

       ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับแรงหนุนจากข่าวการประชุมของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17 เม.ย. เพื่อหารือในการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบ ประกอบกับอุปทานน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงตามปริมาณการขุดเจาะที่ปรับลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 52 รวมถึง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คาดว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 2 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ที่ใกล้จะเต็มถังเก็บน้ำมันดิบเร็วๆ นี้

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

     การตอบรับของตลาดต่อความคืบหน้าของการประชุมนัดพิเศษระหว่างผู้ผลิตน้ำมันดิบในและนอกกลุ่มโอเปกที่จัดขึ้นในวันที่ 17 เม.ย.นี้ เพื่อหารือถึงการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับการผลิตในเดือน ม.ค. โดยมีผู้ผลิตน้ำมันดิบกว่า 15 ประเทศเข้าร่วมการประชุม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 73 ของกำลังการผลิตน้ำมันดิบของโลก นอกจากนี้ กลุ่มผู้ผลิตยืนยันที่จะเดินหน้าการประชุมดังกล่าวต่อเนื่อง แม้ว่าอิหร่านจะไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวก็ตาม

     ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตในสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 9.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 57 จากต้นปีที่ระดับประมาณ 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้ผลิตลดการขุดเจาะน้ำมันดิบลงต่อเนื่อง โดยล่าสุด Baker Hughes เปิดเผยจำนวนแท่นขุดเจาะปรับลดลงอีก 6 แท่น เป็นสัปดาห์ที่ 12 ติดต่อกัน สู่ระดับ 386 แท่น (ณ วันที่ 11 มี.ค.) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 52

     ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงและกดดันราคาน้ำมันดิบน้อยลง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับเดิมที่ 0.250.50% หลัง Fed ยังคงกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ทั้งปีนี้ คณะกรรมการของ Fed คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เพียงแค่ 2 ครั้งในช่วงกลางปีและปลายปีเท่านั้น ลดลงจากแผนเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้

    ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ (สิ้นสุด ณ วันที่ 11 มี.ค.) ปรับตัวสูงขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล เป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน แตะระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 523.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ปิดซ่อมบำรุง ในขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรล แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 67.5 ล้านบาร์เรล คิดเป็นกว่าร้อยละ 92.5 ของความจุของถังเก็บน้ำมันดิบ โดยปริมาณน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสร้างความกังวลว่าพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบอาจจะไม่เพียงพอ

       ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ จีดีพีไตรมาส 4/58 สหรัฐฯ รายจ่ายในการบริโภคของบุคคลสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (1418 มี.ค. 59)

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 39.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.81 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 41.20 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 37 เหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดน้ำมันดิบได้รับแรงหนุน หลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันดิบทั้งในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกยืนยันการเข้าร่วมประชุมกันที่เมืองโดฮาในเดือน เม.ย. เพื่อที่จะหารือถึงการตรึงกาลังการผลิตน้ำมันดิบไว้ รวมถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ และรายงานของ IEA ที่คาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก (Non-OPEC) จะลดลงราว 750,000 บาร์เรลต่อวัน มากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะปรับลดลง 600,000 บาร์เรลต่อวัน

Weekly_Oil_TH_2016 03 17

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!