WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL1สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 14-18 มี.ค. 59 และแนวโน้มสัปดาห์ที่   21-25 มี.ค. 59 

โดยส่วนวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

              สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง  0.13 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 40.27 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น  0.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  35.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น  0.51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 38.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95  เพิ่มขึ้น  0.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 53.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  และราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น  0.22   เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  46.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

·       Baker Hughes Inc. รายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1 แท่น มาอยู่ที่ 387 แท่น ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังลดลงติดต่อกัน 12 สัปดาห์

·       Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 523.2 ล้านบาร์เรล สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5

·       บริษัท Phillips 66 ของสหรัฐฯ ส่งออกน้ำมันดิบปริมาณ  450,000  บาร์เรลให้บริษัท TonenGeneral ของญี่ปุ่น ส่งมอบเดือน พ.ค. 59 นับเป็นการส่งออกน้ำมันดิบจากสหรัฐฯไปญี่ปุ่นเที่ยวที่ 2 (เที่ยวแรกขายให้บริษัท  Cosmo Oil ส่งมอบเดือน เม.ย. 59)

·       Moody’s ปรับลดมุมมอง (Outlook)  ของธนาคารพาณิชย์ของซาอุดีอาระเบียจาก Stable เป็น Negative เพราะประเมินว่าหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ Non-Performing Loan ใน 12-18 เดือน ข้างหน้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ปี 2559 อยู่ที่ 2.5 % เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.1 % )

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก    

·       รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของกาตาร์ นาย Mohammed bin Saleh Al-Sada เผยการประชุมระหว่างกลุ่มผู้ผลิต OPEC และ Non-OPEC เกี่ยวกับ "Production Freeze" จะจัดขึ้นในวันที่ 17 เม.ย. 59 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์

·       กรมศุลกากรญี่ปุ่นรายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน ก.พ. 59 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน  9.6% มาอยู่ที่ระดับ 3.68 ล้านบาร์เรล

·       การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 0.25% - 0.50% เนื่องจากความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาด FOMC มีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 2 ครั้ง ในปีนี้ (ครั้งละ 0.25%)  ลดลงจากคาดการณ์เดือน ธ.ค. 58 ที่คาดว่าปรับขึ้น 4 ครั้ง

·       Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ของสหรัฐฯ รายงานสถานการณ์ลงทุนของสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่  15 มี.ค. 59 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะการซื้อสุทธิ (Net Long Position) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน  34,406  สัญญา มาอยู่ที่ 172,033 สัญญา

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

    วันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบแกว่งตัวรุนแรง โดย ICE Brent ทะยานขึ้นแตะระดับ 42.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  สูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 58 เนื่องจากกลุ่มก่อการร้ายโจมตีแหล่งผลิตปิโตรเลียมของประเทศแอลจีเรีย  ก่อนปิดตลาดที่ 41.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  ต่ำกว่าวันก่อนหน้า หลังนักลงทุนกลับมากังวลกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ว่าอาจทรงตัวในระดับสูง โดยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 12 สัปดาห์มาอยู่ที่ 387 แท่น ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในระยะกลางขาดแรงสนับสนุน และกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เหมือนช่วงปลายเดือน ก.พ. 59 ที่ผ่านมา

     อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น เนื่องจากทางด้านเศรษฐกิจโลกเริ่มมีเสถียรภาพ อาทิ นาย Zhang Gaoli รองนายกรัฐมนตรีของจีน เผยว่าเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นทั้งในด้านการลงทุนสินทรัพย์ในมั่นคง การจ้างงาน รวมถึงเงินทุนไหลออกเริ่มลดลง อีกทั้งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เยอรมนี คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาสที่ 1/59  จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 4/58 เพราะผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและอุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้น ให้จับตามองผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป ที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่กรอบ 39 - 44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ระหว่าง 3841 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ ราคาน้ำมันดิบ DUBAI อยู่ระหว่าง 35-38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

     สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นจาก Reuters รายงานการซื้อขายน้ำมันเบนซินในตลาดสิงคโปร์คึกคัก โดยปริมาณในช่วง 1-16 มี.ค. 59 อยู่ที่ 2.6  ล้านบาร์เรล สูงกว่าปริมาณการซื้อขายทั้งเดือน ก.พ. 59 ที่ 1.7 ล้านบาร์เรล  ขณะที่ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 มี.ค. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.80 ล้านบาร์เรล  มาอยู่ที่ 249.7 ล้าน อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากร (Customs Service) ของเกาหลีใต้ รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 45.2% มาอยู่ที่ 7.74 ล้านบาร์เรล ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 56 ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซิน เชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุด 12 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.6 ล้านบาร์เรล หรือ 5.3 % อยู่ที่ 11.1 ล้านบาร์เรล และ International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้น 540,000  บาร์เรล หรือ 7.3% อยู่ที่ 15.12 ล้านบาร์เรลบาร์เรล และ  PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในยุโรป ที่ Amsterdam-Rotterdam-Antwerp (ARA) สัปดาห์สิ้นสุด 17 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.9 ล้านบาร์เรล หรือ 9.1 % อยู่ที่ 11.1 ล้านบาร์เรล  สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 52-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

        สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นจากข่าว PPAC ของอินเดียเผยปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดีเซล เดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.8% อยู่ที่ระดับ 47.75 ล้านบาร์เรล ขณะที่โรงกลั่นน้ำมัน Guangxi ในจีน (กำลังการกลั่น 240,000  บาร์เรลต่อวัน)  จะปิดซ่อมบำรุงในช่วง มี.ค. เม.ย. 59 ประกอบกับสำนักพลังงานของไต้หวันรายงานยอดส่งออกน้ำมันดีเซล ในเดือน ม.ค. 59 ลดลงจากเดือนก่อน 1.5 %  มาอยู่ที่ 4.80 ล้านบาร์เรล ลดลงจากปีก่อน 16.6 %  อีกทั้ง EIA รายงานปริมาณสำรอง Distillate เชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 มี.ค. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.20 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 161.3 ล้านบาร์เรล

     อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานอินโดนีเซีย นาย Sudirman Said เผยรัฐบาลอาจยกเลิกเงินสนับสนุน (subsidies) ราคาน้ำมันดีเซล จากเดิมที่ไว้ที่ 1,000 รูเปีย/ลิตร (ประมาณ 2.8 บาท/ลิตร) เนื่องจากงบประมาณรัฐบาลขาดดุล และ West Pacific Petrochemical Corp. (Wepec) ของจีนมีแผนส่งออกน้ำมันดีเซล ในเดือน มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 40 % มาอยู่ที่ 745,000 บาร์เรล ขณะที่ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.16 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 13.25 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 20 สัปดาห์ และ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในยุโรป ที่ ARA สัปดาห์สิ้นสุด 17 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.6 ล้านบาร์เรล หรือ 2.4 % อยู่ที่ 27.3 ล้านบาร์เรล  สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 45-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล     

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!