- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Saturday, 19 March 2016 22:25
- Hits: 3426
กฟผ. รับหวั่นกำลังผลิตไฟฟ้าภาคใต้ตึงตัวในปี 62 หลังไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เติบโตขึ้น โดยขณะนี้กำลังการผลิตไฟฟ้าภาคใต้อยู่ที่ 2,800 เมกะวัตต์ เทียบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้อยู่ที่ 2,500-2,600 เมกะวัตต์ หากไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามาเสริมในระบบเพิ่มคาดว่าจะเกิดภาวะตึงตัว จากระดับความต้องการใช้กับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกันในปี 62
ส่วนการปิดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย (เจดี เอ)นั้น ทางกระทรวงพลังงานและกฟผ.ได้มีการเตรียมความพร้อม โดยเบื้องต้นทางกฟผ. ลงทุนถังเก็บน้ำมันดีเซล เพื่อใช้สำรองในโรงไฟฟ้าจะนะหน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 กำลังการผลิตรวม 1,500 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสร้างถังน้ำมันดีเซลโรงไฟฟ้าจะนะหน่วยที่ 2 คาดว่าจะเสร็จ ภายในปลายปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผ่อนคลายความกังวลต่อปริมาณก๊าซฯที่จะลดลงจากการปิดซ่อมแหล่ง เจ ดีเอไปได้
ทั้งนี้ การปิดซ่อมบำรุงสำหรับแหล่งก๊าซฯเจดีเอนั้นยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน แต่เบื้องต้นบมจ.ปตท. (PTT) คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าแหล่งก๊าซฯ เจดีเอ-เอ18 จะมีงานติดตั้งแท่นและอุปกรณ์เพิ่มความดัน ก๊าซฯ เพื่อรักษาความสามารถในการจ่ายก๊าซฯ ให้เป็นไปตามสัญญา ปริมาณก๊าซฯ จะขาดหายไป ประมาณ 420 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยคาดว่าจะดำเนินการในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.นี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
กฟผ.เปิดแผนระยะ 5 ปีส่อยื้อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่
แนวหน้า : 'ก.พลังงาน'เดินหน้าส่งเสริมพลังงาน ทดแทน ด้าน 'กฟผ.'ขานรับนโยบาย ทุ่มงบลงทุน 70% ในระยะ 5 ปี ปรับปรุง ระบบสายส่ง รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการ พลังงานระยะยาว ระหว่างปี 2558-2579 หรือ TIEB เพื่อสร้างสมดุลทางพลังงาน ขณะเดียวกันจะให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่สังคม คาร์บอนต่ำ โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 37% ภายในปี 2579 พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ด้วยการดำเนินแผนยานยนต์ไฟฟ้า รองรับจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านคัน ในปี 2579 และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ
อีกทั้ง ในวันที่ 23-25 มี.ค.2559 นี้ ทางกระทรวงฯ ยังได้สนับสนุนให้ภาคเอกชน จัดการประชุมและนิทรรศการพลังงานและเทคโนโลยี ที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย ประจำปี 2559 หรือ SETA 2016 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้านพลังงานกับตัวแทนจากหน่วยงาน ต่างประเทศด้วย
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รอง ผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย หรือกฟผ.กล่าวว่า แผนการลงทุนของ กฟผ.ในระยะ 5 ปี จากนี้ เม็ดเงินลงทุน 70% จะใช้ในการปรับปรุงระบบสายส่งจาก 230 กิโลโวลต์ เป็น 500 กิโลโวลต์ เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 ปี และจะครอบคลุมทั้งประเทศภายใน 7 ปี ส่วนเม็ดเงินลงทุนอีก 30% จะใช้ในการปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องการผลิตด้วยก๊าซธรรมชาติ คือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ และโรงไฟฟ้าบางปะกง พร้อมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา และโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 3,500 เมกะวัตต์ ในปี 2579
นายสหรัฐ กล่าวถึงความคืบหน้า ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ว่า ล่าสุด คณะกรรมการไตรภาคี ได้ตั้ง คณะทำงานย่อยขึ้นมาอีก 3 ชุด ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษา และสรุปผลรวม 8 เดือน คาดว่าจะมีความชัดเจนช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA เช่นกัน
กฟผ.ห่วงกำลังการผลิตไฟฟ้าภาคใต้ตึงตัวปี 62 หลังยังไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เสริมระบบเพิ่ม
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เติบโตขึ้น โดยขณะนี้กำลังการผลิตไฟฟ้าภาคใต้อยู่ที่ 2,800 เมกะวัตต์ เทียบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้อยู่ที่ 2,500-2,600 เมกะวัตต์ หากไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามาเสริมในระบบเพิ่มคาดว่าจะเกิดภาวะตึงตัวจากระดับความต้องการใช้กับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกันในปี 62
สำหรับ การปิดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ)นั้น ทางกระทรวงพลังงานและกฟผ.ได้มีการเตรียมความพร้อม โดยเบื้องต้นทางกฟผ. ลงทุนถังเก็บน้ำมันดีเซล เพื่อใช้สำรองในโรงไฟฟ้าจะนะหน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 กำลังการผลิตรวม 1,500 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสร้างถังน้ำมันดีเซลโรงไฟฟ้าจะนะหน่วยที่ 2 คาดว่าจะเสร็จภายในปลายปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผ่อนคลายความกังวลต่อปริมาณก๊าซฯที่จะลดลงจากการปิดซ่อมแหล่งเจดีเอไปได้
อนึ่ง การปิดซ่อมบำรุงสำหรับแหล่งก๊าซฯเจดีเอนั้นยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน แต่เบื้องต้นบมจ.ปตท. (PTT) คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าแหล่งก๊าซฯ เจดีเอ-เอ18 จะมีงานติดตั้งแท่นและอุปกรณ์เพิ่มความดันก๊าซฯ เพื่อรักษาความสามารถในการจ่ายก๊าซฯ ให้เป็นไปตามสัญญา ปริมาณก๊าซฯ จะขาดหายไปประมาณ 420 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยคาดว่าจะดำเนินการในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.นี้
กฟผ.คาดพีคปีนี้อยู่ที่ 28,500 MW ช่วงปลายเม.ย.-ต้นพ.ค.หลังอากาศร้อน-แล้งจัด
นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ซึ่งการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ประจำวันมีสถิติเพิ่มสูงขึ้นตามสภาพอากาศและอุณหภูมิที่สูงขึ้นเช่นกัน คาดการณ์ว่า Peak ในปี 2559 น่าจะอยู่ที่ 28,500 เมกะวัตต์ ภายใต้อุณหภูมิที่คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 38.5 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นจากเดิม 4.1% โดยคาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคมนี้
"สถิติ Peak ปี 58 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 เวลา 14.02 น. อยู่ที่ 27,345.8 เมกะวัตต์ อุณหภูมิ 36.7 องศาเซลเซียส และคาดว่า Peak ของปี 2559 น่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากอากาศร้อนและแล้งจัดจากภาวะเอลนิโญ"นายสุธน กล่าว
นายสุธน กล่าวอีกว่า ตามที่มีข่าวว่าช่วงวันที่ 17-19 มีนาคมนี้ ประเทศไทยจะร้อนที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และมีความกังวลเรื่องมวลอากาศเปลี่ยนเป็นคลื่นความร้อน (Heat wave) นั้น พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประจำวันที่ 17 มีนาคม 2559 อยู่ที่ 27,002.4 เมกะวัตต์ อุณหภูมิ 36.1 องศาเซลเซียส ยังไม่ทำลายสถิติเดิมของปี 2558
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมกำลังผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิงให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยมีโรงไฟฟ้าที่เพิ่งทยอยจ่ายไฟได้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นในปีนี้ เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 โรงไฟฟ้าหงสา ชุดที่ 3 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 ตลอดจนมีมาตรการหลีกเลี่ยงแผนบำรุงรักษาในช่วงหน้าร้อน มีการสำรองน้ำมันเตาและก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้น เป็นต้น จึงให้ความมั่นใจกับประชาชนว่ากฟผ. สามารถดูแลระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคง ไม่มีปัญหากับผู้ใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือจากประชาชนช่วยกันประหยัดไฟฟ้าอีกทางหนึ่ง โดยปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้ ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กไฟที่ไม่ใช้ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ และลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ด้วย
อินโฟเควสท์
กฟผ.คาดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีนี้อยู่ช่วงปลายเม.ย.-ต้นพ.ค.ที่ 28,500 MW หลังอากาศร้อน-แล้งจัด
นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่งการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่าการใช้ไฟฟ้าของไทยปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน โดยคาดการณ์ว่าการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในปี 2559 น่าจะอยู่ที่ 28,500 เมกะวัตต์ ภายใต้อุณหภูมิที่คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 38.5 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นจากเดิม 4.1% โดยคาดว่า น่าจะอยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคมนี้
"สถิติ Peak ปี 58 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 เวลา 14.02 น. อยู่ที่ 27,345.8 เมกะวัตต์ อุณหภูมิ 36.7 องศาเซลเซียส และคาดว่า Peak ของปี 2559 น่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากอากาศร้อนและแล้งจัดจากภาวะเอลนิโญ"นายสุธน กล่าว
นายสุธน กล่าวอีกว่าาความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประจำวันที่ 17 มีนาคม 2559 อยู่ที่ 27,002.4 เมกะวัตต์ อุณหภูมิ 36.1 องศาเซลเซียส ยังไม่ทำลายสถิติเดิมของปี 2558 โดย กฟผ. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมกำลังผลิตไฟฟ้าและเชื้อเพลิงให้ เพียงพอกับความต้องการใช้ ไฟฟ้า โดยมีโรงไฟฟ้าที่เพิ่งทยอยจ่ายไฟได้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นในปีนี้ เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 โรงไฟฟ้าหงสา ชุดที่ 3 เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2559 ตลอดจนมีมาตรการหลีกเลี่ยงแผนบำรุงรักษาในช่วงหน้าร้อน มีการสำรอง น้ำมันเตาและก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้น เป็นต้น จึงให้ความมั่นใจกับประชาชนว่ากฟผ. สามารถ ดูแลระบบไฟฟ้าให้มีความมั่น คงไม่มีปัญหากับผู้ใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือจากประชาชนช่วยกันประหยัดไฟฟ้าอีกทางหนึ่ง โดยปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้ ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กไฟที่ไม่ใช้ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ ประหยัดพลังงาน ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ และลดค่าใช้จ่าย ของประชาชนได้ด้วย